เปิดอาการ โรคฝีดาษวานร ระบาดหนักทวีปแอฟริกากลาง 'ไทย' พบผู้ป่วยแล้ว 140 ราย
เปิดอาการ "โรคฝีดาษวานร" ระบาดหนักทวีปแอฟริกา "ไทย" พบผู้ป่วย 140 ราย เป็นสายพันธุ์ Mpox clade 2 ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับในทวีปแอฟริกากลาง - แอฟริกาตะวันออก ล่าสุด สถานการณ์ฝีดาษวานรทั่วโลก สายพันธุ์ Mpox clade 1b สูงขึ้น ระยะ 3 ปีย้อนหลัง พบผู้ป่วย 14,250 ราย เสียชีวิต 456 ราย
เปิด"อาการโรคฝีดาษวานร" ระบาดหนักทวีปแอฟริกา "ไทย" พบผู้ป่วยแล้ว 140 ราย เป็นสายพันธุ์ Mpox clade 2 ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับในทวีปแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก อัปเดตล่าสุด สถานการณ์ฝีดาษวานรทั่วโลก สายพันธุ์ Mpox clade 1b สูงขึ้น ช่วงระยะ 3 ปีย้อนหลัง ในปี 2565 - 2567 ผู้ป่วยสะสม 14,250 ราย เสียชีวิต 456 ราย
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลกอย่างใกล้ชิด ภายหลังจากที่ องค์การอนามัยโลก ได้แจ้งเตือนสถานการณ์ การระบาดโรคฝีดาษวานรในบางประเทศในทวีปแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันออก ให้เป็น PHEIC (public health emergency of international concern)
พร้อมเพิ่มมาตรการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาด ที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ทุกด่าน โดยเฉพาะด่านท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางจากทวีปแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก
โดยนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษวานรในทวีปแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก เช่น
- สาธารณรัฐบุรุนดี
- สาธารณรัฐเคนยา
- สาธารณรัฐรวันดา
- สาธารณรัฐยูกันดา
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
อัปเดตสถานการณ์การระบาดของ "โรคฝีดาษวานร" ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย
- พบอัตราการป่วยด้วยโรคฝีดาษวานร สายพันธุ์ Mpox clade 1b สูงขึ้น ในปี 2565 - 2567 ผู้ป่วยสะสม 14,250 ราย เสียชีวิต 456 ราย
- ประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร 140 ราย และเป็นสายพันธุ์ Mpox clade 2 ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับในทวีปแอฟริกา แต่อย่างไร มีมาตรการในการเฝ้าระวังสายพันธุ์ต่างๆในประเทศไทยอยู่แล้ว
เพิ่มมาตรการและเข้มงวดการตรวจคัดกรองสุขภาพสำหรับผู้เดินทางจากพื้นที่ระบาด "โรคฝีดาษวานร" ได้แก่
- ตรวจสอบการลงทะเบียน Health Declaration เพื่อการควบคุมโรค ซึ่งต้องมีที่อยู่ การเดินทางและสถานที่ติดต่อระหว่างอยู่ในประเทศไทย
- ประชาสัมพันธ์แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง (Health Beware Monitor) 4 ภาษา ได้แก่ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน บริเวณด่านคัดกรอง รวมทั้ง QR code สำหรับการรายงานอาการเจ็บป่วยของตนเอง
- วัดอุณหภูมิร่างกาย
- หากพบผู้เดินทางมีผื่น หรืออาการเข้าได้กับ โรคฝีดาษวานร จะทำการแยกไว้ในห้องแยกโรคทันที และเก็บตัวอย่างจากผื่น และจากคอหอย ส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธี RT-PCR ณ ห้องปฏิบัติการของด่านควบคุมโรคฯ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยสามารถรอผลตรวจในห้องแยก 70 นาที
- หากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบ เป็นโรคฝีดาษวานร จะส่งรับการรักษา ณ สถาบันบำราศนราดูร
- กรณีพบผู้เดินทางมีผื่น ชัดเจนที่ด่าน หรือสนามบิน ให้พามาตรวจสอบอาการที่ ด่านควบคุมโรคติดต่อฯ ได้ทันที
นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมควบคุมโรคร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อฝีดาษวานร ในประเทศไทยด้วยการสุ่มตรวจมาโดยตลอด
"ยังไม่พบสายพันธุ์ clade1b ที่มีการระบาดอยู่ในทวีปแอฟริกา"
สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประเทศแถบแอฟริกา ควรต้องติดตามว่าประเทศเหล่านั้นมีการระบาดหรือไม่ และควรระมัดระวังการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคล หมั่นสังเกตอาการตนเอง
เปิดอาการ "โรคฝีดาษวานร" เบื้องต้น สังเกตตัวเองลดความเสี่ยงรับเชื้ออาการหนัก
- ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง หรือเริ่มสังเกตเห็นมีผื่นขึ้นตาม ร่างกายเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนอง ควรไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยรักษาตั้งแต่ต้น
กรมควบคุมโรค มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ โรคฝีดาษวานร รวมถึงโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำอื่นๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่ๆ อาจมีโอกาสพบผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศติดโรคหรือเจ็บป่วยได้
การป้องกันโรคฝีดาษวานร
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือคนพลุกพล่าน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดบุคคล และขอให้มีการทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวจุดสัมผัสร่วมสม่ำเสมอ
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
- หากผู้ที่มีอาการสงสัย สามารถขอเข้ารับการตรวจหาเชื้อได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง
- หากมีข้อสงสัย ให้ติดต่อสายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค
อ้างอิง-ภาพ : กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค , สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข