7 ประเภท 'แชร์ลูกโซ่' ที่มิจฉาชีพชอบใช้ ยิ่งลงทุนมาก ยิ่งได้ผลตอบแทนสูง
เปิด 7 ประเภท 'แชร์ลูกโซ่' ที่มิจฉาชีพชอบใช้ ชวนลงทุน ยิ่งลงเงินมาก ยิ่งได้ผลตอบแทนสูง พร้อมเช็กพฤติกรรม คนชักชวนทำแชร์ลูกโซ่ ที่ควรหลีกเลี่ยง
7 ประเภท 'แชร์ลูกโซ่' ที่มิจฉาชีพชอบใช้ ชวนลงทุน ยิ่งลงเงินมาก ยิ่งได้ผลตอบแทนสูง พร้อมเช็กพฤติกรรม คนชักชวนทำแชร์ลูกโซ่ ที่ควรหลีกเลี่ยง
ประชาชนมักจะถูกหลอกด้วยแชร์ลูกโซ่มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมิจฉาชีพสร้างวิธีต่าง ๆ หลายรูปแบบขึ้นมาเพื่อหลอกลวงประชาชน ซึ่งอาศัยความต้องการหรือความหวังที่จะมีเงินมากขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น หลอกให้เชื่อใจ เพียงแค่ลงเงินทุนเล็กน้อยก็จะสำเร็จได้ตามที่หวัง
7 ประเภท 'แชร์ลูกโซ่' ที่มิจฉาชีพชอบใช้ มากที่สุด มีดังนี้
1. แอบอ้างชื่อผู้มีอิทธิพล มีอำนาจ มีชื่อเสียง เพื่อให้คนหลงเชื่อ
2. แฝงมากับ social media มักใช้ข้อความล่อเหยื่อ เช่น ผู้ที่รักงานสบาย ชอบงานออนไลน์ทำงานง่าย ๆ
3. ดึงดูดคนด้วยอัตราแลกเปลี่ยน หลอกให้ลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างประเทศ
4. ล่อคนด้วยสินค้าเกษตร โดยให้ลงทุนในกองทุนสินค้าเกษตรที่ลงทุน แต่ไม่ลงแรง
5. หลอกว่า จะได้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ขายฝันระดมทุนตั้งบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยให้สิทธิ์ในการถือหุ้นบริษัท
6. อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรค หลอกชาวบ้าน ผู้เจ็บป่วย ด้วยสินค้ารักษาทุกโรค
7. หลอกให้ทำบุญ หลอกเหยื่อผู้มีจิตศรัทธาว่า จะได้ทั้งบุญ ได้ทั้งเงิน แต่สุดท้ายถูกเชิดเงิน
พฤติกรรมของแชร์ลูกโซ่
- ไม่เน้นขายของ แต่เน้นหาสมาชิกเยอะ ๆ
- จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราสูง ระยะเวลาสั้นและรวดเร็ว
- อ้างว่า จะนำเงินไปลงทุนที่จ่ายค่าตอบแทนได้รวดเร็ว เช่น ซื้อขายน้ำมัน ซื้อขายที่ดินในราคาถูก
- ชักชวนให้สมัครสมาชิกในรูปแบบขายตรง มีสินค้าบังหน้า แค่เป็นสมาชิกก็จะได้รับผลตอบแทนในอัตราสูง