ประกาศ ฉ.5 เตือน ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง 48 จังหวัดทั่วไทย เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน

ประกาศ ฉ.5 เตือน ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง 48 จังหวัดทั่วไทย เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน

รายงานสภาพอากาศวันนี้ "พายุฝนฟ้าคะนอง" กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 5 "ฝนตกหนักถึงหนักมาก" คลื่นลมแรง เตือน 48 จังหวัดทั่วไทย เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ทะเลคลื่นสูง 3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. 67

"พายุฝนฟ้าคะนอง" รายงาน สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 5 "ฝนตกหนักถึงหนักมาก" คลื่นลมแรง เตือน 48 จังหวัดทั่วไทย เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ทะเลคลื่นสูง 2-3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. 67

ประกาศ กรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 5 (186/2567) มีผลกระทบตั้งแต่ 14-17  กันยายน 2567)

ในช่วงวันที่ 14-17 ก.ย. 2567 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมี ฝนตกหนัก บางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ในภาคตะวันออกเสียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกละสม ซึ่งอาจทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน และ น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ล่มไว้ด้วย 

ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเสีอกเลืยงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศดำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอบกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังค่อนข้างแรง

วันที่ 14 กันยายน 2567

  • ภาคเหนือ : จ.น่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง : จ.นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอธุยา รวมทั้งกรุงทพมหานครและปริมเพล
  • ภาคตะวันออก : จ.นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้ : จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 15 กันยายน 2567

  • ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี 
  • ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด 
  • ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 16-17 กันยายน 2567

  • ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด 
  • ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่งคลื่นสูงมากว่า 2 เมตร 

ขอให้ชาวเรือในบริเวณเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลี่ยงเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.

ประกาศ ฉ.5 เตือน ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง 48 จังหวัดทั่วไทย เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน ประกาศ ฉ.5 เตือน ฝนตกหนัก คลื่นลมแรง 48 จังหวัดทั่วไทย เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน