เปิดโฉม 'พิศวงตานกฮูก' หาดูยาก พืชดอกประจำถิ่น แห่งดอยหัวหมด อุ้มผาง
เปิดโฉม "พิศวงตานกฮูก" พิศวงไทยทอง พืชดอกประจำถิ่น แห่งดอยหัวหมด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง พืชชนิดนี้สร้างอาหารเองไม่ได้ อาศัยราในการดำรงชีวิต มักพบขึ้นเฉพาะบริเวณใต้ "ต้นเป้ง" มักพบออกเดี่ยวๆ เจริญจากเหง้าใต้ดิน พบบ้างที่ออกเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม
ส่งความงามธรรมชาติ เปิดโฉม "พิศวงตานกฮูก" พิศวงไทยทอง พืชดอกประจำถิ่น แห่งดอยหัวหมด เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง พืชชนิดนี้สร้างอาหารเองไม่ได้ อาศัยราในการดำรงชีวิต มักพบขึ้นเฉพาะบริเวณใต้ "ต้นเป้ง" มักพบออกเดี่ยวๆ เจริญจากเหง้าใต้ดิน พบบ้างที่ออกเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม
รู้จัก พิศวงไทยทอง พิศวงตานกฮูก พืชดอกอาศัยรา พึ่งพาต้นเป้งแห่งดอยหัวหมด อุ้มผาง
พืชดอกขนาดเล็กหน้าตาเหมือนนกฮูกชนิดนี้ พบขึ้นตามผิวดิน สร้างอาหารเองไม่ได้จึงต้องอาศัยราในการดำรงชีวิต (terrestrial, achlorophyllous, mycoheterotrophic herb) มักพบขึ้นเฉพาะบริเวณใต้ต้นเป้งหรือใกล้เคียง ความสัมพันธ์ระหว่างพืช 2 ชนิดนี้ต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป เพื่อให้มีการจัดการอย่างถูกต้องเพื่อการคงอยู่
พิศวงไทยทองหรือพิศวงตานกฮูก มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Thismia thaithongiana Chantanaorr. & Suddee จัดอยู่ในสกุลพิศวง (Thismia) ชื่อวงศ์ก็พิศวงตามสกุล
เคยถูกจัดให้อยู่ในหลายวงศ์ เช่น Dioscoreaceae, Burmanniaceae หรือ Thismiaceae นักพฤกษศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ศึกษาวิจัยพืชกลุ่มนี้มักจัดให้อยู่ในวงศ์ Thismiaceae
พืชดอกชนิดนี้มีลำต้นที่แท้จริงสั้นมาก ยาวประมาณ 2 มม. ส่วนที่เห็นโผล่มาเหนือผิวดินนั้นคือดอก มักพบออกเดี่ยว ๆ เจริญจากเหง้าใต้ดิน พบบ้างที่ออกเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม ถ้าออกเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มดอกจะทยอยบาน
ดอกประกอบด้วยกลีบรวม (tepals) 6 กลีบ เชื่อมติดกัน แบ่งเป็นกลีบรวมวงนอก 3 กลีบ แยกอิสระ ปลายมีรยางค์คล้ายเขา กลีบรวมวงใน 3 กลีบ ปลายเชื่อมติดกันคล้ายหมวกและมีรยางค์คล้ายเขาขนาดใกล้เคียงกับของวงนอก
รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 1 ช่อง ยังไม่พบผลแก่และเมล็ดเนื่องจากออกดอกในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ช่วงฝนตกชุก ทำให้ยากต่อการติดตาม
ชื่อไทย พิศวงตานกฮูก เรียกตามลักษณะดอกเหนือผิวดินที่คล้ายนกฮูก
พิศวงไทยทอง ตั้งตามชื่อ รศ. ดร.อบฉันท์ ไทยทอง แห่งภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามเอกสารตีพิมพ์ที่ได้ระบุไว้ คือ Etymology:—The epithet honours Assoc. Prof. Dr. Obchant Thaithong, who encouraged the authors to study the genus Thismia. ตัวอย่างต้นแบบ Suddee et al. 4767 เก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้
เอกสารอ้างอิง-ภาพ : Chantanaorrapint, S. & Suddee, S. 2018. Thismia thaithongiana (Dioscoreaceae: Thismieae), a new species of mycoheterotrop from an unusual habitat. Phytotaxa 333(2): 287−292.
หอพรรณไม้ Forest Herbarium - BKF ,สุภาพ จันทร์หอมหวล ,ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช