อะไรคือ? แมงมุมนุ่งซิ่น หาดูยาก การชักใย ดักจับเหยื่อ ต่างจากสายพันธุ์อื่น

อะไรคือ? แมงมุมนุ่งซิ่น หาดูยาก การชักใย ดักจับเหยื่อ ต่างจากสายพันธุ์อื่น

อะไรคือ? "แมงมุมนุ่งซิ่น" เปิดโฉม แมงมุมกากบาทเซนต์แอนด์ดรูว์ หาดูยาก ไม่เจอง่ายๆ การชักใย ถักใย ดักจับเหยื่อ เป็นรูปอักษร X ต่างจากสายพันธุ์อื่น แมงมุมมีพิษ แต่กัดคนแล้วไม่ตาย อาการปวดบวมธรรมดา ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา

อะไรคือ? "แมงมุมนุ่งซิ่น" แมงมุมกากบาทเซนต์แอนด์ดรูว์ หาดูยาก ไม่เจอง่ายๆ เปิดโฉม การชักใย ถักใย ดักจับเหยื่อ เป็นรูปอักษร X ต่างจากสายพันธุ์อื่น แมงมุมมีพิษ แต่กัดคนแล้วไม่ตาย อาการปวดบวมธรรมดา ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา

อะไรคือ? แมงมุมนุ่งซิ่น หาดูยาก การชักใย ดักจับเหยื่อ ต่างจากสายพันธุ์อื่น

แมงมุมนุ่งซิ่น หรือ แมงมุมกากบาทเซนต์แอนด์ดรูว์ Saint Andrew's Cross Spider (𝑨𝒓𝒈𝒊𝒐𝒑𝒆 𝒌𝒆𝒚𝒔𝒆𝒓𝒍𝒊𝒏𝒈𝒊) วงศ์ Araneidae

จุดเด่นของแมงมุมนุ่งซิ่น - แมงมุมกากบาทเซนต์แอนด์ดรูว์

การชักใย ที่จะมีส่วนบริเวณลำตัวแมงมุมเกาะจะถูกถักให้หนา รองรับขาทั้ง 8 ของมัน ที่ถูกหุบไว้เป็น 4 คู่ ทำให้ใยบริเวณนั้นเป็นรูปร่างของอักษร X ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแตกต่างจากแมงมุมสายพันธุ์อื่น ๆ ที่พบทั่วไป

สำหรับข้อมูลทางวิชาการที่สามารถหาได้นั้น เจ้าแมงมุมตัวนี้ เป็นแมงมุมที่มีลายท้องสวยงาม และเป็นรูปกากบาท หรือตัว X กลับหัว มีชื่อทางการว่า "แมงมุมนุ่งซิ่น Argiope sp

ที่เรียกว่า "นุ่งซิ่น" เพราะลายที่คาดขวางลำตัว คล้ายลายผ้าซิ่นสำหรับนุ่งของคน 

แมงมุมชนิดนี้จะถักใยเป็นรูปร่างกลม ๆ และจะถักใยแบบหนาเหนียวพิเศษเป็นรูปอักษร X ไว้ตรงกลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับเหยื่อ เวลาเกาะใยอยู่นิ่งๆ ของแมงมุมชนิดนี้ จะกางขาเป็นตัว X รวบสองคู่หน้าเข้าด้วยกัน รวบสองคู่หลังเข้าด้วยกัน และกลับหัวทิ่มลงพื้นเสมอ

อะไรคือ? แมงมุมนุ่งซิ่น หาดูยาก การชักใย ดักจับเหยื่อ ต่างจากสายพันธุ์อื่น

พิษของแมงมุมนุ่งซิ่น

นักวิจัย เผยว่า แม้ว่า แมงมุมนุ่งซิ่น จะเป็นแมงมุมที่มีพิษ แต่กัดคนแล้วไม่ถึงขั้นเสียชีวิต เป็นเพียงอาการปวดบวมธรรมดา 

ลักษณะนิสัยแมงมุมนุ่งซิ่น

"ไม่ดุร้าย" จะหนีเมื่อถูกคุกคาม และจากการศึกษาของลายตัว X ทำเอาไว้เพื่อให้นกเห็น จะได้ไม่บินชนรังมันขาดนั่นเอง

อะไรคือ? แมงมุมนุ่งซิ่น หาดูยาก การชักใย ดักจับเหยื่อ ต่างจากสายพันธุ์อื่น

อ้างอิง-ภาพ : Sarawut Plongnui ,ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ , สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)