‘เงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจ’ สานต่อ แจกเงิน 10,000 บาท เจาะกลุ่มผู้ค้ารายย่อย

‘เงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจ’ สานต่อ แจกเงิน 10,000 บาท เจาะกลุ่มผู้ค้ารายย่อย

รัฐบาล เดินหน้าสานต่อ “โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 แจกเงิน 10,000 บาท” สำหรับกลุ่มเปราะบาง ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เปิดตัว “โครงการเงินหมื่นฟื้นฟูเศรษฐกิจ” เจาะกลุ่มผู้ค่ารายย่อย คาดกระตุ้นการใช้จ่ายเงิน 110,000 ล้านบาท

เดินหน้าสานต่อ “โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 แจกเงิน 10,000 บาท” สำหรับกลุ่มเปราะบาง ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รัฐบาลเปิดตัว “โครงการเงินหมื่นฟื้นฟูเศรษฐกิจ” เจาะกลุ่มผู้ค่ารายย่อย คาดกระตุ้นการใช้จ่ายเงิน 110,000 ล้านบาท

‘เงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจ’ สานต่อ แจกเงิน 10,000 บาท เจาะกลุ่มผู้ค้ารายย่อย

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี กล่าวเปิด “โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ” ย้ำรัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยถูกกระตุ้นครั้งใหญ่ใน

“โครงการเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจ” เป็นการสร้างการหมุนเวียนของเงิน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจในภาพใหญ่ให้พี่น้องประชาชนที่กำลังเดือดร้อน ผ่านกลุ่มเปราะบาง ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและ คนพิการ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากประชาชนได้ตั้งตัวใหม่จากโครงการนี้ และนำไปใช้จ่ายในครัวเรือน ทำให้พี่น้องประชาชนหลายคนมีโอกาสสร้างชีวิตใหม่  และยังพบว่าเมื่อรวมกันหลายคน ในครอบครัวยังสามารถนำไปลงทุนทำมาค้าขาย สร้างหรือต่อยอดธุรกิจพร้อมรับโอกาสดี ๆ ที่จะเข้ามา
 

‘เงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจ’ สานต่อ แจกเงิน 10,000 บาท

ส่วนที่ 1 การลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการรายเล็ก 

ลดค่าเช่าร้านค้า /ค่าเช่าแผง ในพื้นที่หน่วยงานราชการและพื้นที่เอกชนที่เข้าร่วม เช่น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมมือในการลดค่าเช่า ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ใน 12 ตลาดใหญ่ มีพ่อค้าแม่ค้าประมาณ 11,000 รายที่ได้ลดค่าเช่าถึงสิ้นปีนี้ รวมถึงพื้นที่ของหน่วยงานราชการมีการยกเว้นค่าเช่าให้ผู้ประกอบการกว่า 3,000 ราย ค่าเช่าพื้นที่การขายถือเป็นต้นทุนสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ

รวมทั้งการลดค่าขนส่งสินค้าซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างไปรษณีย์ไทยกับหน่วยงานราชการ ให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ หอการค้าไทย  และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดลางและขนาดย่อม ได้ลดค่าขนส่งสินค้า

ส่วนที่ 2 การเพิ่มพื้นที่ค้าขายให้ผู้ประกอบการรายเล็ก

โดยการสนับสนุนพื้นที่จากหน่วยงานราชการ และพื้นที่ของเอกชน ให้ผู้ประกอบรายเล็กมีช่องทางทำมาค้าขายเพิ่มขึ้น ซึ่งมีหลายหน่วยงานให้ความร่วมมือ เช่น กระทรวงกลาโหมได้นำพื้นที่ค่ายทหารมาทำเป็นตลาดนัด กระทรวงมหาดไทยในการใช้ลานหน้าศาลากลางจังหวัด รวมไปถึงมีการจัดตลาดพาณิชย์กว่า 1,300 ครั้ง ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย เป็นต้น

ส่วนที่ 3 การลดค่าครองชีพให้ประชาชน

ด้วยการจับมือผู้ผลิตและผู้ค้าส่งรายใหญ่เพื่อลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และจัดงานมหกรรมลดราคาสินค้า โดยมีภาคเอกชนทั้งผู้ผลิตรายใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ผู้ให้บริการในปั๊มน้ำมันและแพลตฟอร์มค้าขายออนไลน์รวม 130 ราย มีร้านสาขาย่อยกว่าแสนสาขาครอบคลุมทั้งประเทศ ให้ความร่วมมือในการลดราคาสินค้าในโครงการนี้
 
รัฐบาลคาดการณ์ว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากถึง 110,000 ล้านบาท