ประกาศรายชื่ออำเภอ พร้อมอพยพ ระวังน้ำท่วม 19-23 ต.ค. รวมพื้นที่กรุงเทพ 21 เขต
สทนช. ประกาศเตือนประชาชน เช็กรายชื่ออำเภอ ระวังน้ำท่วม 19-23 ตุลาคม 2567 รวมพื้นที่กรุงเทพ 21 เขต พร้อมแจ้งหน่วยงานพร้อมอพยพทันที หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง เสี่ยงฝนตกหนัก จากผลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำฝน กรมอุตุนิยมวิทยา เช็กการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา
อัปเดตสภาพอากาศวันนี้ สถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนองทั่วไทย สทนช. ออกประกาศเตือนประชาชน เช็กรายชื่ออำเภอ ระวังน้ำท่วม ช่วง 19-23 ตุลาคม 2567 รวมพื้นที่กรุงเทพ 21 เขต พร้อมแจ้งหน่วยงานเตรียมพร้อมอพยพทันที หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง พื้นที่เสี่ยงฝนตกหนัก จากการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำฝน กรมอุตุนิยมวิทยา
พร้อมเช็กการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ล่าสุด - ปภ. เตือน 23 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง
ประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2567 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ พบลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่
ทั้งนี้ สทนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตามฝนคาดการณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี
พบว่ามีพื้นที่เสี่ยง ต้องเฝ้าระวัง น้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 19 - 23 ตุลาคม 2567 ดังนี้
1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ
- จังหวัดนครปฐม (อำเภอเมืองนครปฐม กำแพงแสน ดอนตูม นครชัยศรี พุทธมณฑล และสามพราน)
- จังหวัดสมุทรสาคร (อำเภอเมืองสมุทรสาคร บ้านแพ้ว และกระทุ่มแบน)
- จังหวัดนนทบุรี (อำเภอเมืองนนทบุรี ปากเกร็ด บางบัวทอง และบางกรวย)
- จังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ พระสมุทรเจดีย์ พระประแดง บางพลี บางบ่อ และบางเสาธง)
- กรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางรัก คลองสาน ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ธนบุรี บางคอแหลม สาทร ยานนาวา บางแค ราษฎร์บูรณะ หนองแขม ภาษีเจริญ บางบอน จอมทอง ทุ่งครุ และบางขุนเทียน)
2. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนี้
ภาคตะวันตก
- จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอเมืองกาญจนบุรี ด่านมะขามเตี้ย พนมทวน และท่ามะกา)
- จังหวัดราชบุรี (อำเภอเมืองราชบุรี สวนผึ้ง จอมบึง บ้านคา โพธาราม และบ้านโป่ง)
- จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอแก่งกระจาน)
- จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย)
ภาคตะวันออก
- จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอท่าตะเกียบ และสนามชัยเขต)
- จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม นาดี และกบินทร์บุรี)
- จังหวัดสระแก้ว (อำเภอเมือง สระแก้ว และอรัญประเทศ)
- จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี ศรีราชา บางละมุง และสัตหีบ)
- จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย ปลวกแดง และนิคมพัฒนา)
- จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ และมะขาม)
- จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง คลองใหญ่ และแหลมงอบ)
ภาคใต้
- จังหวัดชุมพร (อำเภอเมืองชุมพร สวี ทุ่งตะโก หลังสวน และพะโต๊ะ)
- จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ)
- จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และกะปง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี กาญจนดิษฐ์ พนม บ้านนาสาร บ้านนาเดิม พุนพิน เคียนซา พระแสง ดอนสัก และเกาะสมุย)
- จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ย่านตาขาว ห้วยยอด นาโยง และวังวิเศษ)
- จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล)
- จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช ปากพนัง เฉลิมพระเกียรติ พระพรหม ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ ขนอม ทุ่งสง สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พรหมคีรี ลานสกา เชียรใหญ่ ชะอวด และหัวไทร)
- จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง และควนขนุน)
- จังหวัดสงขลา (อำเภอเมืองสงขลา กระแสสินธุ์ ระโนด นาทวี สิงหนคร หาดใหญ่ และรัตภูมิ)
- จังหวัดปัตตานี (อำเภอเมืองปัตตานี แม่ลาน กะพ้อ ทุ่งยางแดง ไม้แก่น ยะรัง สายบุรี ยะหริ่ง ปะนาเระ มายอ และหนองจิก)
- จังหวัดยะลา (อำเภอเมืองยะลา กรงปินัง เบตง ธารโต บันนังสตา กาบัง ยะหา และรามัน)
- จังหวัดนราธิวาส (อำเภอเมืองนราธิวาส ศรีสาคร เจาะไอร้อง แว้ง บาเจาะ ยิ่งอ ระแงะ รือเสาะ จะแนะ สุคิริน สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี และตากใบ)
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่
และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ มากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ สำหรับอ่าง เก็บน้ำขนาดใหญ่โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผล กระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด
4. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ
- คลองบางสะพาน
- คลองชุมพร
- แม่น้ำหลังสวน
- แม่น้ำตาปี
- คลองชะอวด
- คลองลำ
- คลองท่าแนะ
- แม่น้ำตรัง
- แม่น้ำสายบุรี
- แม่น้ำปัตตานี
- แม่น้ำบางนรา
- แม่น้ำโก-ลก
- คลองตันหยงมัส
การเตรียมความพร้อมรับมือ "น้ำท่วม" ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ
2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ
รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำและ อิทธิพลของการขึ้น – ลง ของน้ำทะเล โดยการเร่งระบายและพร่องน้ำรองรับสถานการณ์ฝน ที่คาดว่าจะตกหนัก
3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ
กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
เช็กการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ล่าสุด 19 ต.ค. 67
รายงานสถานการ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา วันที่ 19 ต.ค.67 เวลา 07.00 น.
เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำ 1,352 ลบ.ม./วินาที จะทยอยปรับลดเหลือ 1,300 ลบ.ม./วินาที ช่วง 15.00 น.วันนี้
สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์
- ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,609 ลบ.ม./วินาที
- แนวโน้ม : ลดลง
- ระดับน้ำ : ต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 3.92 ม. ลดลงจากเมื่อวาน 11 ซม.
สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
- ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,352 ลบ.ม/วินาที
- แนวโน้ม : ลดลง
- ระดับน้ำท้ายเขื่อน : ต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 4.05 ม. ลดลงจากเมื่อวาน 36 ซม.
- เวลา 12.00 น. จะเริ่มทยอยปรับลดการระบายเหลือ 1,300 ลบ.ม./วินาที ในเวลา 15.00 น. และคงอัตราดังกล่าวต่อเนื่อง
สถานี C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
- มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 1,186 ลบ.ม./วินาที
กรมชลประทาน ย้ำประชาชนเฝ้าระวังระดับน้ำจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนในระยะนี้ ไปจนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2567
23 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. รายงานวันนี้ 19 ตุลาคม 2567 เตือน 23 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง พื้นที่ได้รับผลกระทบน้ำทะเลหนุนสูงได้แก่
- จ.ฉะเชิงเทรา
- ชลบุรี
- ระยอง
- จันทบุรี
- ตราด
- เพชรบุรี
- ประจวบคีรีขันธ์
- สมุทรสาคร
- สมุทรสงคราม
- สมุทรปราการ
- กรุงเทพมหานคร
- ชุมพร
- สุราษฎร์ธานี
- นครศรีธรรมราช
- สงขลา
- ปัตตานี
- นราธิวาส
- ระนอง
- พังงา
- ภูเก็ต
- กระบี่
- ตรัง
- สตูล
อ้างอิง-ภาพ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM ,กรมชลประทาน ,หน่วยบริหารจัดการน้ำ , สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ