ประกาศกรมอุตุฯ ฉ.7 ไทย เจอทั้งมวลอากาศเย็น ร่องมรสุม ลมพัดความชื้น 20-21 ต.ค.
“อากาศแปรปรวน” ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับ 7 ประเทศไทย เจอทั้งความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากจีนจะแผ่ลงมาปกคลุม ทำให้มีลมตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ กลาง ตะวันออก ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ฝนตกหนักหลายพื้นที่
ประกาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับ 7 ประเทศไทย “อากาศแปรปรวน” เจอทั้งความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากจีนจะแผ่ลงมาปกคลุม ทำให้มีลมตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ทำให้ไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 7 (230/2567) มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 20-21 ตุลาคม 2567
ในช่วงวันที่ 20-21 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และฝนตกหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ อากาศแปรปรวน เจอทั้งมวลอากาศเย็น ร่องมรสุม ลมพัดความชื้น 20-21 ต.ค.
วันที่ 20 ตุลาคม 2567
ภาคเหนือ - จังหวัดตาก และกำแพงเพชร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - จังหวัดนครราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคกลาง - จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก - จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ - จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา
วันที่ 21 ตุลาคม 2567
ภาคกลาง - จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม
ภาคตะวันออก - จังหวัดชลบุรี และระยอง
ภาคใต้ - จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย