ทายาทขอรับเงินบำเหน็จจากประกันสังคม กรณี 'ผู้ประกันตน ม.33 ม.39' เสียชีวิต

ทายาทขอรับเงินบำเหน็จจากประกันสังคม กรณี 'ผู้ประกันตน ม.33 ม.39' เสียชีวิต

ขั้นตอนขอรับเงินบำเหน็จจากประกันสังคม สำหรับทายาท 'ผู้ประกันตน ม.33 ม.39' กรณีเสียชีวิต เงื่อนไข เอกสารที่ต้องใช้ รับสิทธิประโยชน์ ค่าทำศพ 50,000 บาท และเงินสงเคราะห์

ประกันสังคม เปิดขั้นตอน ทายาทขอรับเงินบำเหน็จ กรณี 'ผู้ประกันตน ม.33 ม.39' เสียชีวิต พร้อมเงื่อนไข เอกสารที่ต้องใช้ รับสิทธิประโยชน์ ค่าทำศพ 50,000 บาท และเงินสงเคราะห์

ทายาทขอรับเงินบำเหน็จจากประกันสังคม กรณี \'ผู้ประกันตน ม.33 ม.39\' เสียชีวิต

เงื่อนไขรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม 

กรณีเสียชีวิต ผู้ประกันตน จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย โดยทายาทจะได้รับ 3 สิทธิ ได้แก่ ค่าทำศพ  เงินสงเคราะห์ และเงินบำเหน็จชราภาพ

ขั้นตอน เงื่อนไข ขอรับเงินค่าทำศพ ผู้ประกันตน ม.33 ม.39

  • สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าทำศพให้แก่ผู้จัดการศพ จำนวน 50,000 บาท

ผู้จัดการศพ ได้แก่

  • บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
  • สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน
  • บุคคลอื่นซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับค่าทำศพ

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)   
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง   
  • หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ   
  • สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง   
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้จัดการศพ

ขั้นตอน เงื่อนไขขอรับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิต

เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย เป็นการให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เท่านั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน ดังนี้

ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน

ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)    
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์    
  • สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้ประกันตน (ถ้ามี)    
  • สำเนาสูติบัตรของบุตร หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร    
  • หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)

ขั้นตอนขอรับเงินบำเหน็จชราภาพ หากผู้ประกันตนเสียชีวิต

  • ทายาทจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพคืนโดยจ่ายให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ ได้แก่ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามีหรือภรรยาตามกฎหมาย บิดามารดาที่จดทะเบียนสมรสกัน หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะได้เฉพาะมารดา หรือ บุคคลอื่นที่ผู้ประกันตนทำหนังสือระบุไว้ให้ได้รับร่วมกับทายาทผู้มีสิทธิ

1. ผู้ประกันตนก่อนเสียชีวิตขอรับเงินบำนาญแล้ว

กรณีผู้ประกันตนรับเงินบำนาญชราภาพแล้ว เสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับจากเดือนที่รับบำนาญ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับ จำนวนเงินบำนาญชราภาพเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต × จำนวนเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน

กรณีผู้ประกันตนกลับไปเป็นผู้ประกันตนและต่อมาเสียชีวิต ได้รับเงินบำนาญไม่เกิน 60 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับ จำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับก่อนกลับไปเป็นผู้ประกันตน × จำนวนเงินเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน

กรณีรับเงินชราภาพก่อนบังคับใช้กฎกระทรวง แต่ยังไม่ครบ 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับ เดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน

กรณีรับเงินชราภาพมาแล้วเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับ จำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต  10 เท่า

2. ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี

ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ ตามกฎหมายประกันสังคมกำหนด ไม่มีสิทธิรับเป็นเงินบำนาญ แม้จะส่งเงินสมทบครบ 15 ปี โดยทายาทผู้มีสิทธิสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพได้ภายใน 2 ปี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานประกันสังคม ]sso.go.th/wpr/