พม. จับมือสถาบันการศึกษา ออกแบบบ้านใช้ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อยุธยานำร่อง

พม. จับมือสถาบันการศึกษา ออกแบบบ้านใช้ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อยุธยานำร่อง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมมือกับนักวิชาการ สถาบันการศึกษา ออกแบบบ้านใช้ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยคาดว่าจะนำร่องใช้นพื้นที่ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมมือกับนักวิชาการ สถาบันการศึกษา ออกแบบบ้านใช้ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยคาดว่าจะนำร่องใช้นพื้นที่ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พม. จับมือสถาบันการศึกษา ออกแบบบ้านใช้ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก อยุธยานำร่อง

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า  สำหรับโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิตให้ยั่งยืนของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำและชุมชนริมน้ำ ในปีงบประมาณ 2568 ได้กำหนดพื้นที่ดำเนินการใน 4 พื้นที่ ได้แก่

1. คลองเปรมประชากร และคลองลาดพร้าว ซึ่งเป็นพื้นที่ระบายน้ำสำคัญของ กทม. 

2. พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ฝั่งตะวันตกและตะวันออก 

3. พื้นที่อุทกภัยในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ 

4. พื้นที่อุทกภัยเชียงรายลุ่มน้ำอิง ลุ่มน้ำกก ลุ่มน้ำแม่สาย อำเภอเวียงป่าเป้า 
 

การขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้มุ่งเน้นกระบวนการจัดระเบียบชุมชน โดยคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ 

แนวทางที่ 1 เป็นแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่คลองเปรมประชากร คลองลาดพร้าว และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ประกอบด้วย

  • การสร้างความมั่นคงในที่ดิน มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย 
  • การเชื่อมโยงเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน เพื่อขยายผลการพัฒนาที่อยู่อาศัย และการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน
  • การสร้างและปรับปรุงบ้านให้มีความมั่นคงแข็งแรงตามมาตรฐาน มีรูปแบบบ้านให้เหมาะสม สามารถอยู่กับน้ำท่วมซ้ำซาก หรือน้ำท่วมสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ได้
  • การสร้างและปรับปรุงระบบสาธารณูโภคและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมคูคลอง
  • พัฒนาคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจชุมชน ก่อให้เกิดรายได้ การสร้างทุนชุมชน

 แนวทางที่ 2 เป็นแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่อุทกภัยในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่อุทกภัยเชียงราย ประกอบด้วย 

  • การปรับปรุงบ้าน รูปแบบบ้านให้สามารถอยู่กับน้ำท่วมซ้ำซากได้
  • กรณีที่ดินที่อาศัยอยู่เดิมของกลุ่มชุมชนมีความเสี่ยง และยากต่อการรับมือในอนาคต จำเป็นต้องย้ายหาที่อยู่ใหม่ที่เหมาะสม การจัดระบบ กลุ่ม ชุมชนให้มีทีมทำงานและเชื่อมโยงเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อม สามารถบริหารจัดการชุมชน และช่วยเหลือกันเมื่อประสบปัญหาอุทกภัยได้ในอนาคต
     

สำหรับการออกแบบบ้านที่ได้มาตรฐาน และเหมาะสมสามารถอยู่กับสภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก และน้ำท่วมสูงขึ้นทุกปี ทาง พอช. มีความร่วมมือกับนักวิชาการในพื้นที่ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา รวมถึงนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบบ้าน รวมถึงหารือร่วมกับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อออกแบบร่วมกันว่า บ้านในลักษณะไหนที่มีความเหมาะสม ไม่สร้างความลำบากในการอยู่อาศัยให้กับพี่น้องประชาชนมากเกินไป 

โดยอาศัยการศึกษารวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำและระดับน้ำที่ท่วมในแต่ละปี ซึ่งการออกแบบบ้านอาจจะเป็นลักษะการดีดบ้านให้สูงขึ้นเพื่อให้พ้นน้ำ และการทำบ้านแพลอยน้ำ เมื่อน้ำมา บ้านจะสามารถลอยยกขึ้นได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ จะดำเนินการนำร่องใน 5 หมู่บ้าน ในตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา