เกิดเหตุไฟไหม้ห้องครัว ทำยังไง ดูวิธีใช้เบกกิ้งโซดา แก้ไขฉุกเฉิน ไม่ลุกลาม

เกิดเหตุไฟไหม้ห้องครัว ทำยังไง ดูวิธีใช้เบกกิ้งโซดา แก้ไขฉุกเฉิน ไม่ลุกลาม

เกิดเหตุไฟไหม้ห้องครัว ทำยังไง? เปิดวิธีใช้เบกกิ้งโซดา แก้ไขฉุกเฉิน ทำให้ทัน ไฟไม่ลุกลาม ทำให้การเผาไหม้หยุดชะงัก เปลวไฟดับลงได้ ย้ำเหตุผลพ่อบ้าน แม่บ้าน ฟังทางนี้ ควรเลือกใช้เบคกิ้งโซดา ในเหตุฉุกเฉินปลอดภัยกว่าใช้น้ำดับไฟฟ้า

รู้ไว้เลย เทคนิคดับไฟในบ้าน เผื่อไว้วันข้างหน้า! เกิดเหตุไฟไหม้ห้องครัว ทำยังไง? เปิดวิธีใช้เบกกิ้งโซดา แก้ไขฉุกเฉิน ทำให้ทัน ไฟไม่ลุกลาม ทำให้การเผาไหม้หยุดชะงัก เปลวไฟดับลงได้

ย้ำเหตุผลพ่อบ้าน แม่บ้าน ฟังทางนี้ ควรเลือกใช้เบคกิ้งโซดา ในเหตุฉุกเฉินปลอดภัยกว่าใช้น้ำดับไฟฟ้า

เกิดเหตุไฟไหม้ห้องครัว ทำยังไง ดูวิธีใช้เบกกิ้งโซดา แก้ไขฉุกเฉิน ไม่ลุกลาม

เบกกิ้งโซดา คืออะไร?

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เบคกิ้งโซดา หรือ โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) เป็นสารเคมีที่เราคุ้นเคยกันดีในฐานะส่วนผสมในการทำอาหารและเบเกอรี่ 

แต่รู้หรือไม่ว่าเบคกิ้งโซดายังสามารถใช้ดับไฟได้ในบางสถานการณ์ที่เป็นเหตุฉุกเฉิน เนื่องจากเมื่อเบกกิ้งโซดาถูกความร้อนจะกลายสภาพเป็นโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) พร้อมกับปลดปล่อยน้ำ (H2O) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา 

ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเฉื่อย ที่สามารถลดความเข้มข้นของออกซิเจนในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ทำให้ปฏิกิริยาการเผาไหม้หยุดชะงัก ส่งผลให้เปลวไฟดับลงได้

เบคกิ้งโซดาใช้ในการดับไฟเหตุไฟไหม้เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

การใช้เบคกิ้งโซดาในการดับไฟควรใช้ในกรณีเล็ก ๆ เท่านั้น ในกรณีที่เกิดไฟจากน้ำมัน เบคกิ้งโซดาอาจไม่เพียงพอ 

เนื่องจากน้ำมันที่ร้อนสูงจะทำปฏิกิริยากับเบคกิ้งโซดา ทำให้น้ำมันกระเด็นหรือเกิดการลุกลามได้ เพิ่มความเสี่ยงอันตราย การใช้น้ำหรือผ้าชุบน้ำจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากกว่า

อาจเลือกใช้ถังดับเพลิงประเภท K ซึ่งออกแบบมาเพื่อดับไฟจากไขมันและน้ำมันโดยเฉพาะในกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟในอุปกรณ์ไฟฟ้า อาจใช้เบคกิ้งโซดาเป็นทางเลือกในกรณีฉุกเฉินที่ปลอดภัยกว่าการใช้น้ำดับไฟฟ้า 

และควรปิดต้นกำเนิดแหล่งจ่ายไฟร่วมด้วยเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ก่อนตัดสินใจใช้เบคกิ้งโซดาดับไฟ ควรประเมินสถานการณ์และความปลอดภัยให้รอบคอบ 

เกิดเหตุไฟไหม้ห้องครัว ทำยังไง ดูวิธีใช้เบกกิ้งโซดา แก้ไขฉุกเฉิน ไม่ลุกลาม

เตือนเกิดไฟไหม้ใหญ่ รีบติดต่อดับเพลิง 199 ทันทีไม่ต้องลองดับเอง

  • หากไฟลุกไหม้ใหญ่ ควรติดต่อหน่วยงานดับเพลิงโดยทันที 
  • เบอร์โทรแจ้งเหตุไฟไหม้-ดับเพลิง 199

อ้างอิง : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข