ใช้สิทธิ ลดหย่อนภาษี 2568 Easy E-Receipt ดูรายชื่อร้านค้า ออกใบกำกับภาษีได้
ใช้สิทธิ ลดหย่อนภาษี 2568 "Easy E-Receipt 2.0" ดูรายชื่อร้านค้า ออกใบกำกับภาษีได้ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt จำเป็นต้องใช้ประกอบ ซื้อของ ซื้อสินค้าที่ไทย หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 50,000 บาท เริ่มใช้จ่าย 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 ที่สำคัญ ซื้อทองคำ ได้ไหม?
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ตามติดมาตรการของขวัญปีใหม่ 2568 ของรัฐบาล ล่าสุด โครงการ Easy E-receipt 2.0 กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน โครงการลดหย่อนภาษี 2568
ประชาชนผู้เสียภาษี เช็กเลย ใช้สิทธิ ลดหย่อนภาษี 2568 "Easy E-Receipt" ดูรายชื่อร้านค้า ออกใบกำกับภาษีได้ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt จำเป็นต้องใช้ประกอบ
ซื้อของ ซื้อสินค้าที่ไทย หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 50,000 บาท เริ่มใช้จ่าย 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 ที่สำคัญ ซื้อทองคำ ได้ไหม? ซื้ออะไรได้บ้าง
ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอมาตรการของขวัญปีใหม่ 2568 เพื่อช่วยในการกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน คือ โครงการ Easy E-receipt 2.0
ซึ่งให้ประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องชำระภาษี ไปจับจ่ายใช้สอยใน กับร้านค้าที่ออกใบกำกับภาษี/ใบรับ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt วงเงิน 50,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 16 มกราคม - 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยสามารถนำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2568
ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การใช้จ่าย ลดหย่อนภาษี 2568 "Easy E-Receipt 2.0" แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- การใช้จ่ายสินค้าทั่วไป กำหนดวงเงินลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- การใช้จ่ายร้านวิสาหกิจชุมชน SME และร้านค้า OTOP ลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ 20,000 - 50,000 บาท
ลดหย่อนภาษี 2568 "Easy E-Receipt 2.0" เริ่มใช้จ่ายได้วันไหน?
- ประชาชนคนไทย เริ่มใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. - 28 ก.พ. 68 สามารถนำใบกำกับภาษี ไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2568
e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร และแตกต่างจากใบกำกับภาษีและใบรับในรูปแบบกระดาษอย่างไร?
e-Tax Invoice และ e-Receipt คือ ใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) และใบรับ (e-Receipt) ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และได้ลงลายมือชื่อโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate)
ทั้งนี้ ผู้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้ออกได้ก่อน
เปิดให้ดูรายชื่อร้านค้า ออกใบกำกับภาษีได้ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt จำเป็นต้องใช้ประกอบลดหย่อนภาษี 2568
ประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่
- เว็บไซต์ กรมสรรพากร (คลิก)
- etax.rd.go.th โดยกดไปที่เมนู “ผู้ได้รับอนุมัติ” ซึ่งจะแสดงรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษา e-Tax Invoice และ e-Receipt
เช็กเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี 2568 Easy E-Receipt
ให้หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท ดังนี้
หักลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) แบบเต็มรูปเป็นหลักฐาน
- ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นหลักฐาน
หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้ โดยต้องมี e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หรือ e-Receipt เป็นหลักฐาน
เปิดรายการสินค้า ซื้ออะไรได้บ้าง? เงื่อนไขใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 2568
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ค่าซื้อทองรูปพรรณสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่?
- ซื้อทองได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากได้รับ e-Tax Invoice
ค่าซื้อทองคำแท่งสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่?
- ซื้อทองคำแท่งไม่ได้ เนื่องจากการขายทองคำแท่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
การซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถหักลดหย่อนได้ทุกกรณีหรือไม่?
- ได้เฉพาะกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังต่อไปนี้
- หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
- หนังสือ หนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
รายการสินค้า ค่าสินค้า ค่าบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมัน และก๊าซ ค่าบริการประจุไฟฟ้า สำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 16 ม.ค.2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 ก.พ.2568 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 16 ม.ค.2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ.2568 ก็ตาม
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
- ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
ผู้ซื้อสินค้า ผู้รับบริการ ต้องแจ้งข้อมูลใดบ้าง? ให้ผู้ประกอบการใช้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt
- ชื่อและนามสกุล
- ที่อยู่
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน)
- เมื่อแจ้งข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อมูลการซื้อสินค้าและการรับบริการจะปรากฏใน My Tax Account ของผู้เสียภาษี และสามารถใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2568
กรณีผู้ซื้อมีที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน กับที่อยู่ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แตกต่างกันให้ใช้ที่อยู่ใด
- จะใช้ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือที่อยู่ปัจจุบันก็ได้
กรณีจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการหลายครั้ง จะสามารถนำมูลค่าการซื้อสินค้าหรือการรับบริการ แต่ละครั้งมารวมกันเพื่อใช้สิทธิได้หรือไม่?
- ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินที่กำหนด
ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าทำศัลยกรรมสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
- ไม่ได้ เนื่องจากการให้บริการของสถานพยาบาลได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
อ้างอิง : กรมสรรพากร , รัฐบาลไทย