วันนี้วันสุดท้าย ซื้อของ 'ลดหย่อนภาษี 2568' ยื่นภาษีถึงวันไหน?

วันนี้วันสุดท้าย ใช้สิทธิซื้อของ "ลดหย่อนภาษี 2568" Easy E-Receipt ผู้เสียภาษี ขอใบกำกับภาษี ยื่นภาษีออนไลน์ 2568 ได้ถึงวันไหน? www.rd.go.th ตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษี
"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ตามติดมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ล่าสุด วันนี้วันสุดท้าย กรมสรรพากร แจ้งใช้สิทธิซื้อของ "ลดหย่อนภาษี 2568" ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขอใบกำกับภาษี e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เช็กเลย ยื่นภาษีออนไลน์ 2568 ได้ถึงวันไหน? วิธียื่นภาษี เข้าระบบ www.rd.go.th ตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษี ได้เงินเร็ว 3-5 วัน
กรมสรรพากร ภายหลัง มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” สำหรับ ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล) มาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2.0 ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา
โดยประชาชนผู้เสียภาษี สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ซึ่งเป็นมาตรการลดหย่อนภาษี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายของประชาชน รวมถึงส่งเสริมการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
ใช้สิทธิซื้อของ "ลดหย่อนภาษี 2568" Easy E-Receipt ใช้ได้ถึงวันไหน?
- ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้า และบริการภายในประเทศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
- ผู้เสียภาษี ต้องมีการใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง มาลดหย่อนภาษี ได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท
- ผู้เสียภาษี ต้องได้รับเอกสารยืนยันการใช้จ่ายในรูปแบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น
ข้อกำหนดเงื่อนไขใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2568 E-Receipt 2.0
การลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 2.0 ผู้เสียภาษี สามารถลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท แบ่งเป็น
- ลดหย่อนสูงสุด 30,000 บาท ซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt)
- ลดหย่อนเพิ่มเติมอีก 20,000 บาท ต้องใช้หลักฐาน e-Tax Invoice หรือ e-Receipt เช่นกัน โดยซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP), ซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน, ซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม
รายการสินค้า ลดหย่อนภาษี 2568 ซื้ออะไรได้บ้าง?
- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
ราคาทองวันนี้ ทองขึ้นทุกวัน ซื้อทองคำ ลดหย่อนภาษี 2568 ได้ไหม?
เงื่อนไขการซื้อทองที่ร่วมรายการลดหย่อนภาษี 2568 ซื้อทองแบบไหน สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
ค่าซื้อทองรูปพรรณสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่?
- ทองรูปพรรณ ซื้อได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากได้รับ e-Tax Invoice
ค่าซื้อทองคำแท่งสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่?
- ซื้อทองคำแท่งไม่ได้ เนื่องจากการขายทองคำแท่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
รายการสินค้า ค่าสินค้า ค่าบริการที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมัน และก๊าซ ค่าบริการประจุไฟฟ้า สำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 16 ม.ค.2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 ก.พ.2568 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 16 ม.ค.2568 ถึงวันที่ 28 ก.พ.2568 ก็ตาม
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
- ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
แจ้งข้อมูลอะไรบ้าง? ให้ผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษี e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ให้เราได้
- ชื่อและนามสกุล
- ที่อยู่
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน)
- เมื่อแจ้งข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อมูลการซื้อสินค้าและการรับบริการจะปรากฏใน My Tax Account ของผู้เสียภาษี และสามารถใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2568
รายชื่อร้านค้า ออกใบกำกับภาษีได้ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt จำเป็นต้องใช้ประกอบลดหย่อนภาษี 2568
ประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่
- เว็บไซต์ กรมสรรพากร (คลิก)
- เข้าระบบเว็บ etax.rd.go.th โดยกดไปที่เมนู “ผู้ได้รับอนุมัติ” ซึ่งจะแสดงรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษา e-Tax Invoice และ e-Receipt
ยื่นภาษีออนไลน์ 2568 ได้ถึงวันไหน?
- กรมสรรพากร เปิดให้ผู้เสียภาษียื่นแบบฯ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด 91 ประจำปีภาษี 2567 ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2568
- ยื่นแบบฯ ด้วยกระดาษ สามารถยื่นได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568
เปิดวิธียื่นภาษีออนไลน์ 2568
- เปิดเข้าระบบ เว็บไซต์ กรมสรรพากร www.rd.go.th
- เลือกเมนู Digital My Tax รวมบริการทางภาษี (One Portal)
- ทำการเข้าสู่ระบบด้วย RD ID กรอกรหัสผู้ใช้ รหัสผ่าน ให้เรียบร้อย หรือเข้าสู่ระบบด้วย National Digital ID (NDID) - แอป ThaiD - แอปเป๋าตัง
- เข้าสู่ระบบ My Tax Account กดตรวจสอบข้อมูล พร้อมยื่นแบบ
- ตรวจสอบข้อมูล กดยอมรับข้อมูล และกดยื่นแบบโดยใช้ข้อมูล
- ระบบจะนำไปสู่ e-filing เพื่อตรวจสอบข้อมูล
- ระบบแสดงจำนวนภาษีที่ต้องชำระ หรือภาษีที่ได้คืน
- กดยืนยันการยื่นแบบ
- เสร็จสิ้น
เข้าระบบ www.rd.go.th ตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษี ได้เงินเร็ว 3-5 วัน
อัปเดตข้อมูล "คืนเงินภาษี" ล่าสุดกับ กรมสรรพากร โดย นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ปัจจุบัน ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 จำนวน 3.5 ล้านแบบ
ซึ่งสูงกว่าช่วงระยะเวลาเดียวกันเทียบกับปีก่อนถึงร้อยละ 14.4 โดยมีแบบฯ ที่ขอคืนภาษี จำนวน 2.1 ล้านแบบ คิดเป็นร้อยละ 60.5 ของแบบฯ ที่ยื่นทั้งหมด
กรมสรรพากร ได้เร่งพิจารณาจนดำเนินการคืนภาษีแล้ว จำนวน 1.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 77.8 ที่มีการขอคืน
สำหรับผู้ที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา กรมสรรพากร ขอความร่วมมือให้ผู้เสียภาษีนำส่งข้อมูลตามที่มีการร้องขอให้แก่เจ้าหน้าที่โดยเร็ว
วิธีตรวจสอบสถานะคืนภาษีล่าสุด ทำในมือถือได้เลย เข้าระบบ www.rd.go.th เงินคืนภาษี ได้เงินเร็ว 3-5 วัน
ผู้เสียภาษีสามารถติดตามความคืบหน้าของการพิจารณาคืนภาษีได้ด้วยตนเองที่ www.rd.go.th (ระบบ D-MyTax) เช็คเงินคืนภาษีทำได้ผ่านเว็บ-มือถือ ดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ rd.go.th เลือกระบบ Digital MyTax (D-MyTax)
- เข้าสู่ระบบด้วย RD ID พร้อมรหัส Laser ID จากด้านหลังบัตรประชาชน
- เลือกเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลที่ลงทะเบียนไว้เพื่อรับ OTP
- กรอก OTP เพื่อยืนยันตัวตน
- เลือก "ติดตามสถานะขอคืน/นำส่งเอกสาร"
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้เงินคืนภาษีวันไหน? ระยะเวลาการดำเนินการคืนภาษีกรมสรรพากร (คลิก)
อ้างอิง-ภาพ : กรมสรรพากร , กระทรวงการคลัง