นับถอยหลัง เตรียมพบกับงาน SISTAM 2024 ในวันที่ 26 และ 27 กันยายน 2567
งานประชุมและงานแสดงเทคโนโลยีเพื่อภาคธุรกิจชั้นนำ พร้อมแล้วที่จะช่วยกำหนดทิศทางอนาคตด้านความปลอดภัยและเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม เตรียมพบกับงาน SISTAM 2024 ในวันที่ 26 และ 27 กันยายน 2567
SISTAM 2024 งานประชุมและงานแสดงเทคโนโลยีเพื่อภาคธุรกิจชั้นนำ ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26 และ 27 กันยายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค งาน SISTAM (Smart Industrial Safety & Technology for Advanced Maintenance) จะกลายเป็นเวทีที่เหล่าผู้นำ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรม มารวมตัวกันเพื่อหารือและสำรวจถึงความก้าวหน้าล่าสุดของเทคโนโลยีอัจฉริยะด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษาในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยผ่านนวัตกรรม การผลิตที่มีมูลค่าสูง และความยั่งยืน งานประชุมที่จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 วันนี้ ภายใต้ธีมหลัก "3S Smart, Safe and Sustainable Technologies Toward Tomorrow หรือ เทคโนโลยีอัจฉริยะ ปลอดภัย และยั่งยืนสู่อนาคต" จะมุ่งเน้นไปที่การยกระดับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและการบำรุงรักษาและอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้
นุชรินทร์ ภารดีวิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด ผู้จัดงาน SISTAM กล่าวว่า SISTAM 2024 ไม่ใช่แค่งานแสดงสินค้า แต่เป็นการรวมตัวของผู้ที่ทุ่มเทเพื่อพัฒนาความปลอดภัยและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมในประเทศไทย เรารู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นสื่อกลางในการรวบรวมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความหลากหลายและมีอิทธิพลเข้าด้วยกัน เพื่อแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและขับเคลื่อนนวัตกรรม
สุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (TIChE) ในฐานะเจ้าภาพร่วมจัดงาน SISTAM ได้แสดงความคิดเห็นไปในทิศทางดียวกันว่า เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นผู้นำในการประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการรับรองถึงความปลอดภัยและความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมประเทศไทย
"SISTAM 2024 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ความสำคัญของความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอัจฉริยะและการบำรุงรักษาขั้นสูงนั้นไม่ใช่การกล่าวเกินจริง การนำเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และหลักปฏิบัติในการบำรุงรักษาขั้นสูงมาใช้ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการรับรองถึงความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขัน การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ การตรวจสอบแบบเรียลไทม์ที่ขับเคลื่อนด้วย IoT และระบบการจัดการความปลอดภัยขั้นสูงไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป แต่สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุและลดเวลาสูญเปล่า (downtime) ให้เหลือน้อยที่สุด เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีและกระบวนการผลิตมีส่วนสำคัญต่อ GDP ของประเทศไทย งาน SISTAM 2024 และหัวข้อการประชุมที่ถูกพัฒนามาอย่างละเอียดถี่ถ้วน จึงเกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะช่วยตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ และเพื่อช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า" สุรเชษฐ์ กล่าวเสริม
การประชุม 3S ความร่วมมือเพื่อเทคโนโลยีแห่งอนาคต
การประชุม 3S เป็นรากฐานสำคัญของงาน SISTAM 2024 เป็นความร่วมมือที่จัดขึ้นร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการบริหารซึ่งประกอบด้วย 17 องค์กรชั้นนำจากทั่วภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีสำคัญสำหรับการแบ่งปันความรู้และสร้างเครือข่ายสำหรับที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม
ดร.สุพจน์ ชินวีระพันธุ์ กรรมการบริหารและผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. ในฐานะเจ้าภาพร่วมจัดงาน SISTAM 2024 กล่าวว่า เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดการประชุมในหัวข้อ "การพัฒนาบุคลากรด้านข้อมูลอัจฉริยะ (Smart Data) ประเทศไทย" มุ่งเน้นเรื่องข้อมูลอัจฉริยะ หรือ smart data ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีการพัฒนาขึ้น ความสามารถในการใช้ประโยชน์และการวิเคราะห์ข้อมูลจึงมีความสำคัญมากขึ้น ไม่เพียงแค่เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะซึ่งพร้อมจะตอบสนองความต้องการของสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมสมัยใหม่
"ที่งาน SISTAM 2024 เราตั้งเป้าที่จะเน้นย้ำว่าเทคโนโลยีข้อมูลอัจฉริยะจะสามารถนำไปใช้เพื่อยกระดับการพัฒนาบุคลากรได้อย่างไร ด้วยการผสานรวมการเฝ้าติดตามและการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ และ IoT เข้ากับโปรแกรมการฝึกอบรมและการพัฒนา เราสามารถสร้างบุคลากรที่ไม่เพียงแต่มีความเชี่ยวชาญในเครื่องมือขั้นสูงเหล่านี้เท่านั้น แต่ยังสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและความปลอดภัยในสถานที่ทำงานได้อีกด้วย การประชุมครั้งนี้จะมอบโอกาสพิเศษให้กับบุคลากรสายอาชีพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และร่วมมือกันในการสร้างสรรค์กลยุทธ์ที่จะช่วยกำหนดอนาคตของการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย" ดร.สุพจน์ กล่าวเสริม
วาระการประชุมที่ครอบคลุม ด้วยการสัมมนามากกว่า 70 หัวข้อ
ผู้เข้าร่วมงาน SISTAM 2024 จะได้พบกับวาระการประชุมที่ครอบคลุม พร้อมหัวข้อสัมมนามากกว่า 70 หัวข้อ ที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีการบำรุงรักษาและความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ตัวอย่างหัวข้อสำคัญของการประชุมบางส่วน
- Chemical Process Safety Sharing (CPSS) ครั้งที่ 14 จัดขึ้นโดยสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย (TIChE) เรื่องการบริหารจัดการความปลอดภัยกระบวนผลิต ด้วยแนวทางปฏิบัติ PSM จากผู้นำของอุตสาหกรรมในประเทศไทย การประชุมนี้จะเจาะลึกแง่มุมที่สำคัญของการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย
- การพัฒนาบุคลากรด้านข้อมูลอัจฉริยะ (Smart Data) ประเทศไทย จัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) งานสัมมนานี้มีความมุ่งมั่นเพื่อสร้างประเทศไทยให้มีเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข็งแกร่งและยั่งยืน โดยการวางรากฐานพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความรู้ด้านข้อมูลอัจฉริยะเป็นส่วนสำคัญ
- วิศวกรรมความปลอดภัยกับงานบำรุงรักษา จัดโดยสมาคมวิศวกรรมความปลอดภัย (SEA) การประชุมนี้จะมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการแนวปฏิบัติด้านวิศวกรรมความปลอดภัยขั้นสูง ด้วยระบบการบำรุงรักษาที่ทันสมัย
สนับสนุน SMEs ด้วยคลินิกให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยฟรี
นอกจากงานสัมมนาแล้ว SISTAM 2024 ยังมีบริการคลินิกให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ฟรี จัดโดยสมาคมวิศวกรรมความปลอดภัย โดยคลินิกนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้บริการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุงระเบียบการปฏิบัติและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยของการทำงานขององค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยตระหนักถึงความท้าทายเฉพาะตัวที่ SMEs ต้องเผชิญ เช่น ทรัพยากรที่มีจำกัดและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยจะให้บริการคำปรึกษาเฉพาะทางสำหรับแต่ละองค์กร ครอบคลุมตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย และการใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยขั้นสูง
นุชรินทร์ ภารดีวิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอ็กซโปซิส จำกัด เน้นย้ำถึงความสำคัญของโครงการที่ริเริ่มนี้ว่า SISTAM 2024 เรามีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะสร้างความมั่นใจว่าผู้ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นขนาดใด จะมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยของตน คลินิกให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยฟรีนี้ เป็นข้อพิสูจน์ถึงความทุ่มเทของเราในการสนับสนุน SMEs ด้วยการมอบเครื่องมือและคำแนะนำที่จำเป็นให้พวกเขาได้เติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน ด้วยการเสริมศักยภาพให้ธุรกิจเหล่านี้ได้นำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดการความปลอดภัยมาใช้ เราไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนด้านความปลอดภัยและความยั่งยืนโดยรวมของภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย
การรวมตัวของผู้นำจากภาคอุตสาหกรรม: คาดว่าจะมีผู้ร่วมประชุมและผู้เยี่ยมชมกว่า 3,000 คน
SISTAM 2024 คาดว่าจะดึงดูดผู้เข้าร่วมงานและผู้เยี่ยมชมกว่า 3,000 คน เป็นงานที่พลาดไม่ได้สำหรับบุคลากรสายอาชีพในภาคส่วนความปลอดภัยและเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม ผู้เข้าร่วมงานจะมีโอกาสพบปะกับผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ สำรวจโซลูชันที่ทันสมัย และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจอันทรงคุณค่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พันธมิตรด้านองค์ความรู้และผู้ร่วมก่อตั้งงาน SISTAM 2024 ตอกย้ำความสำคัญของการจัดงาน
รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความร่วมมือของเรากับผู้นำในภาคอุตสาหกรรม และด้วยการสนับสนุนจากองค์กรสำคัญๆ ทำให้งาน SISTAM 2024 เป็นเวทีที่ไม่มีใครเทียบได้สำหรับการหารือเกี่ยวกับอนาคตด้านความปลอดภัยในอุตสาหกรรม ในฐานะพันธมิตรด้านองค์ความรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งมั่นที่จะนำเอาการวิจัยที่ล้ำสมัย โซลูชันที่เป็นนวัตกรรมและความเข้มแข็งทางวิชาการมาสู่แถวหน้าของการประชุมที่สำคัญนี้ บทบาทของพันธมิตรด้านองค์ความรู้ของเราไม่เพียงแต่สนับสนุนด้านความเชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันแนวคิดที่ก้าวล้ำ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถพัฒนาเป็นกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า
SISTAM 2024 มอบโอกาสพิเศษสำหรับนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้กำหนดนโยบายในการมารวมตัวกัน แลกเปลี่ยนความรู้ และสำรวจความก้าวหน้าล่าสุดในเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยและการบำรุงรักษาอัจฉริยะของภาคอุตสาหกรรม จากรากฐานความสำเร็จของงานในปีที่แล้วคาดว่า SISTAM 2024 จะมีโอกาสได้ต้อนรับผู้เข้าร่วมมากกว่า 3,000 คน ในการงานประชุมและงานแสดงเทคโนโลยีทั้ง 2 วันนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน SISTAM 2024 และลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม ที่นี่