รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือพระราชพิธี ที่อยู่ระหว่างการฝึกบนเขียงฝึกในพื้นที่ส่วนบัญชาการกองทัพเรือวังนันทอุทยาน

วันนี้ (3 เมษายน 2567) เวลา 09.00 น. พลเรือโท วิจิตร ตันประภา รองเสนาธิการทหารเรือ สายงานกำลังพล ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี (ประธาน คตร.) เดินทางไปตรวจเยี่ยมการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพายขบวนเรือพระราชพิธี ที่อยู่ระหว่างการฝึกซ้อมในพื้นที่ส่วนบัญชาการกองทัพเรือวังนันทอุทยาน จำนวน 449 นาย โดยเป็นกำลังพลฝีพายประจำเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณประจำรัชกาลที่ 9 เรืออสุรวายุภักษ์ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรืออีเหลือง เรือแตงโม เรือดั้ง 21 เรือดั้ง 9 เรือดั้ง 16 และเรือดั้ง 12

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

โอกาสนี้ ประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคได้ให้โอวาทแก่กำลังพลโดยมีใจความสำคัญว่า 

“ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาตรวจเยี่ยมการฝึกกำลังพลฝีพายบนเขียงฝึก ในพื้นที่กองบังคับการกองทัพเรือวังนันทอุทยาน พวกท่านทุกนายคงทราบถึงภารกิจครั้งสำคัญ ในการเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งของกองทัพเรือที่ได้รับความไว้วาง พระราชหฤทัยในการจัดเตรียมขบวนเรือพระราชพิธีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสต่าง ๆ 

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

ดังนั้นพวกเราทุกคนซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมเรือ นายเรือ นายท้าย และฝีพายประจำเรือ จะทุ่มเทแรงกายแรงใจตั้งใจฝึกซ้อมอย่างเต็มกำลังความสามารถ ในการตรวจเยี่ยมการฝึกในวันนี้ ได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการฝึก แนวทางรูปแบบการฝึกที่ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี ที่มีความสง่างามและสมพระเกียรติ 

ตอนนี้เหลือเวลาฝึกอีกไม่นานแล้ว ผมขอให้พวกท่าน ทุ่มเทให้กับการฝึก สุดท้ายผมขอขอบคุณผู้บังคับหน่วยรับเรือ ผู้แทนหน่วย ตลอดจนครูฝึก ที่ได้มาช่วยในการควบคุมกำกับดูแล และทุ่มเทการฝึกซ้อมให้กำลังพลฝีพายมีความพร้อม”

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

สำหรับฝึกซ้อมฝีพายบนเขียงเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมกำลังพลในการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 ประกอบด้วย

การฝึกครูฝึกฝีพาย ระหว่าง 12 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2567 รวม 20 วันงาน การฝึกฝีพายบนเขียง ระหว่าง 18 มีนาคม – 16 พฤษภาคม 2567 รวม 40 วันงาน โดยจะทำการแยกฝึกตามหน่วยต่างๆ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่สัตหีบ การฝึกฝีพายในหน่วยในเรือในน้ำ ระหว่าง 28 พฤษภาคม – 30 กรกฎาคม 2567 รวม 40 วันงาน

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

ส่วนของการเตรียมเรือพระราชพิธีนั้น อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการ สำรวจ และซ่อมทำเรือพระที่นั่ง และเรือรูปสัตว์ ตั้งแต่ ธันวาคม 2566 โดยมีกำหนดส่งมอบให้กรมศิลปากรในวันที่ 5 เมษายน 2567 เพื่อส่งให้กรมศิลปากร ดำเนินการตกแต่งตัวเรือ ต่อไป 

นอกจากนั้นยังซ่อมทำเรือดั้ง และเรือแซง ตั้งแต่ธันวาคม 2566 ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 เมษายน 2567 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2567 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ เริ่มดำเนินการนำช่างจากบริษัทเอกชน เข้าซ่อมทำเรือพระราชพิธี ณ กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อย และโรงเรือพระราชพิธีท่าวาสุกรี

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน
 

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในครั้งนี้ใช้เรือ พระราชพิธี จำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธีรวมทั้งสิ้น 2,200 นาย และในขบวนเรือประกอบด้วยเรือประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

เรือริ้วสายกลาง จำนวน 10 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งทรง จำนวน 1 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่ง ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงประทับ เรือพระที่นั่งรอง จำนวน 2 ลำ คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือทรงผ้าไตร จำนวน 1 ลำ คือ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช 

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

เรือกลองใน - เรือกลองนอก จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย เรือกลองใน คือ เรือเรือแตงโม เป็นเรือสำหรับ ผู้บัญชาการขบวนเรือ เรือกลองนอก คือ เรืออีเหลือง เป็นเรือสำหรับ รองผู้บัญชาการขบวนเรือ 

เรือตำรวจ จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือตำรวจ 1 - 3 ซึ่งเป็นเรือสำหรับคุ้มกัน

ขบวนเรือพระที่นั่งภายในขบวนเรือแซง จำนวน 1 ลำ คือ เรือแซง 7 ซึ่งเป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์ ปิดท้ายขบวน

เรือริ้วสายใน จำนวน 2 ริ้ว ริ้วละ 7 ลำ รวมเป็น 14 ลำ ประกอบด้วย เรือประตูหน้า จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย เรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือนำริ้วขบวน เรือพิฆาต จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย เรือเสือทะยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือนำขบวนที่ใช้ในการรบ

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

เรือรูปสัตว์ จำนวน 8 ลำ ประกอบด้วย เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี เรือกระบี่ราญรอนราพณ์

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือครุฑเหินเห็จ และเรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นเรือที่แกะสลักหัวเรือเป็นรูปสัตว์จริงหรือสัตว์ในเทพนิยาย เพื่อบอกถึงเรือลำใดเป็นของกรมใด หรือขุนนางผู้ใด

เรือคู่ชัก จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง เป็นนำหน้าหรือชักลากเรือพระที่นั่ง

เรือริ้วสายนอก จำนวน 2 ริ้ว ริ้วละ 14 ลำ รวม 28 ลำ ประกอบด้วยเรือดั้ง จำนวน 22 ลำ ประกอบด้วย เรือดั้ง 1-22 เป็นเรือป้องกันขบวนส่วนหน้า 

เรือแซง จำนวน 6 ลำ ประกอบด้วย เรือแซง 1-6 เป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

ทั้งนี้ งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กำหนดจัดให้มีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

รองเสนาธิการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมกำลังพลฝีพายเรือ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน