"สุพจน์" แจงไม่มีเอกสารลับ ความเห็นปม8ปีนายกฯ ไม่ใช่ มติกรธ.

"สุพจน์" แจงไม่มีเอกสารลับ ความเห็นปม8ปีนายกฯ ไม่ใช่ มติกรธ.

สุพจน์ ไข่มุกด์ แจงไม่มีเอกสารลับ เพราะบันทึกประชุมของกรธ. เปิดเผย ย้ำความเห็น 8ปี นายกฯ นั้นไม่ใช่มติ กรธ. ระบุมีบางฝ่ายจับเรื่อง หวังสร้างประเด็น

             นายสุพจน์ ไข่มุกด์  อดีตรองประะานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) คนที่หนึ่ง ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ต่อกรณีที่มีเอกสารระบุเป็นบันทึกการประชุมกรธ. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561  ซึ่งอ้างถึงความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกมธ. และตน ให้ความเห็น ต่อประเด็นวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ว่า เอกสารดังกล่าวเผยแพร่ได้ทั่วไปในห้องสมุด สถาบันการศึกษาไม่ใช่บันทึกลับ ทั้งนี้การอ้างความเห็นตนและนายมีชัย นั้นไม่ถูกต้องและต้องการประเด็นบางประการ  เพราะข้อเท็จจริงการประชุมมีการหารือ ร่วมกัน 30 คน 

             “เอกสารเป็นบันทึกการประชุมไม่ใช่มติ และตีความได้หลากหลาย หากดูตามมาตรา  158 มีหลายวรรคหลายตอน จะเจาะจงตอนใดตอนหนึ่งไม่ได้   ทั้งนี้ตามที่ผมให้ความเห็นต่อประเด็นนี้ ขอย้ำว่ากระบวนการได้มาของนายกฯ​ตามรับธรรมนูญ มาตรา 158 และ มาตรา 159 มีขั้นตอนที่ให้พรรคการเมืองเสนอชื่อว่าที่นายกฯ 3 ชื่อ ให้ประชาชนเลือกพรรค หากพรรคนั้นได้รับเลือกว่าที่นายกฯ จะได้รับการเสนอชื่อให้รัฐสภาเลือก ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน   มีขั้นตอนและมีประชามติด้วย ครบถ้วนตามกระบวนการ" นายสุพจน์ กล่าว

 

          นายสุพจน์ กล่าวด้วยว่าที่บอกว่าจะนับตอนไหน เห็นชัดอยู่แล้วต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่รัฐสภาฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทยเลือก ทั้งนี้ความเห็นของผมไม่ใช่ความนิยมชมชื่นนายกฯปัจจุบัน แต่คือการตีความตามกฎหมาย และหลักนิติศาสตร์ ซึ่งการนับวาระนายกฯ ผมมองว่าเริ่มตั้งแต่วันโปรดเกล้าฯ แต่ท้ายสุดต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญีความไ นายสุพจน์ กล่าว

              นายสุพจน์ กล่าวย้ำว่าบันทึกการประชุมที่ถูกเปิดเผยซึ่งอ้างความเห็นว่า ให้นับวาระของนายกฯ ที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นวาระของนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยนั้นเป็นความเห็นเร่ิมแรก และเป็นความเห็นไม่กี่คน ไม่ใช่มติ   และกรณีที่ถูกนำมาเผยแพร่ คนเขาเลือกเฉพาะเจาะจงที่เลือกความเห็นเฉพาะบางคนออกมา ทั้งนี้ความเห็นของผู้ยกร่างนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 ต้องดูรายละเอียดความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรา ของรัฐธรรมูญ 2560 ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับที่มาของนายกฯ

 

             “ความเห็นที่ปรากฎเป็นความเห็นเริ่มแรก และมีความเห็นที่หลากหลาย ขอให้ยึดมติเป็นหลัก เพราะตอนแรกๆ ยังฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด แต่เขาจับเอามากระเดียดทำให้กลายเป็นประเด็น ดังนั้นขอให้ไปพิจารณาในความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตรา และฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ”นายสุพจน์ กล่าว