“วิษณุ” แจงยิบตั้ง “5เลขาป.ป.ง.”ไม่มีลับลมคมใน ปมโยงจีนเทาว่ากันตามกม.
“วิษณุ” แจงยิบ ยันตั้ง “5เลขาป.ป.ง.” เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ไม่มีลับลมคมใน ชี้ปมพัวพันทุนจีนเทา เป็นเรื่องกระบวนการทางกฎหมาย
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา152 กรณีแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(เลขาฯป.ป.ง.) ทั้ง5คน จำนวนนี้คือนายเทพสุ ชวรโชติดารา นั่งเลขาฯปปง. ซึ่งถูกฝ่ายค้านอภิปรายตั้งข้อสังเกตในเรื่องที่ถูกร้องเรียนว่า ขอเรียนว่าการแต่งตั้งเลขาธิการป.ป.ง. ไม่เหมือนกับการแต่งตั้งบุคลากรอื่นของรัฐ
โดยเริ่มต้นจากต้องนำชื่อเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยจะต้องผ่านคณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการสรรหา ซึ่งโดยปกติหากเป็นตำแหน่งอื่นก็จะสามารถนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าได้ทันทีแต่ในส่วนของเลขาปอปองนั้นเป็นตำแหน่งพิเศษที่จะต้องให้ที่ประชุมวุฒิสภา ในการตั้งคณะกรรมการสอบประวัติ ก่อนให้ความเห็นชอบต่อไป
ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ได้มีกระบวนการที่ลับลมคมในแต่อย่างใด ทั้งการตั้งพล.ต.อ.ชัยยะ ศิริอำพันธ์ เป็นเลขาป.ป.ง.ที่ต้องใช้ที่มีการแต่งตั้งตามคำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 ขอชี้แจงว่า ขณะนั้นกฏหมายป.ป.ง.ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพิ่งออกมาใหม่แต่ยังไม่ได้กำหนดวิธีการในการสรรหาเอาไว้
เพราะฉะนั้นจึงไม่รู้ว่าจะสรรหาโดยวิธีใดให้ถูกต้องตามกฏหมายด้วยเหตุนี้หัวหน้าคสช. ในขณะนั้นจึงต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อดำเนินการดังกล่าว ซึ่งเป็นการดำเนินการถูกต้องตามกฏหมายรวมถึงรัฐธรรมนูญทุกประการ
ต่อมาในการเสนอชื่อ พล.อ.ต.รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร เป็นเลขาธิการป.ป.ง. แต่ต่อมาได้พบว่า มีการร้องเรียนกล่าวหามากมาย จึงได้มีคำสั่งให้มาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งในขณะนั้นก็ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบเรื่องที่ถูกร้องเรียนขึ้นมาหลายชุด
โดยระหว่าง ช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้มีการแต่งตั้งพล.ต.ต.ปรีชา เจริญสหายานนท์ รองเลขาธิการป.ป.ง.ในขณะนั้นขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการเลขาธิการป.ป.ง.
ขณะที่ผลการตรวจสอบพล.อ.ต.รมย์สิทธิ์ ในครั้งนั้นเพิ่งจะออกมาเมื่อเดือนก.ย. 2565 ระบุว่ามีความผิดทางวินัยจริงแต่ไม่ใช่วินัยร้ายแรงจึงลงโทษตัดเงินเดือน
ส่วนส่วนพล.ต.ต.ปรีชา นั้นที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้เป็นเลขาธิการป.ป.ง.คนต่อไป
แต่เมื่อนำเสนอเรื่องให้วุฒิสภาตรวจสอบต่อมาที่ประชุมวุฒิสภาไม่เห็นชอบก็เป็นอันว่าตกไปต่อมาจึงมีการเสนอชื่อพล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง ซึ่งเป็นรองเลขาธิการป.ป.ง.ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการป.ป.ง.โดยได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมวุฒิสภา
ส่วนที่มีการระบุว่าไปพัวพันกับทุนจีนเทายังไม่ได้ปรากฏข้อมูลใดใดทั้งสิ้นซึ่งพล.ต.ต.ปิยะพันธ์ ก็ได้ผ่านการตรวจสอบในทุกขั้นตอน จนกระทั่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการกรรมการป.ป.ง.จึงได้เสนอให้เป็นประธานป.ป.ง.โดยได้รับความเห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์ 12 เสียง
กระทั่งมาถึงการแต่งตั้งนายเทพสุ เป็นเลขาธิการป.ป.ง.ซึ่งวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบเมื่อสัปดห์ที่ผ่านมา
"ทุกอย่างดำเนินไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ขณะที่ช่วงเวลาที่มีการใช้มาตรา44 ก็เป็นการใช้ซึ่งก็เป็นการใช้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนจะมีความผิดไปพัวพันกับอะไรเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบต่อไป ซึ่งในชั้นวุฒิสภาก็ได้ตั้งข้อสังเกตมายังครม.ซึ่งครม.จะนำไปพิจารณาต่อไป"