“นักกฎหมายมหาชน” ชี้หาก ยุบสภา 21 มี.ค. ส.ส.ย้ายพรรคได้หลังวันสงกรานต์ 

“นักกฎหมายมหาชน” ชี้หาก ยุบสภา 21 มี.ค. ส.ส.ย้ายพรรคได้หลังวันสงกรานต์ 

“นักกฎหมายมหาชน” ชี้ช่องหาก พล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภา 21 มี.ค. กกต.กําหนดวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง ส.ส.ภายใน 60 วัน ตรงกับวันอาทิตย์ 21 พ.ค.เปิดช่องให้ผู้สมัคร ส.ส.ย้ายพรรคการเมืองได้หลังวันสงกรานต์ 

วันที่ 11 มีนาคม 2566 จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมประกาศยุบสภา ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นั้น

ล่าสุด นาย ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชนและผู้เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญ ได้อธิบายและให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชนว่า กระบวนการตัดสินใจในการยุบสภา เป็นอํานาจของฝ่ายบริหาร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยเสนอเป็นพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในการกระทํา ครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียว หมายความว่า เหตุในการยุบสภา ในเหตุเดียวกัน รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติ เหตุการณ์เอาไว้ ซึ่งมีหลายสาเหตุในการยุบสภา โดยพิจารณาถึงประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โดย พล.อ.ประยุทธ์ สามารถอ้างเหตุผลใดก็ได้ไม่ขัดต่อการปกครองในการยุบสภาก่อนครบวาระโดยให้เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา103  วรรคสอง ทั้งนี้ อำนาจการยุบสภาตามรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฏรเพื่อให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามมาตรา 103 วรรคหนึ่ง การกําหนดวันยุบสภา จะต้องสานสัมพันธ์กับการกําหนดวันเลือกตั้งของ กกต.กล่าวคือ ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาให้ กกต. ประกาศกําหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ ส่งผลให้กรณีการเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ทําให้ ผู้สมัคร ส.ส.ย้ายพรรคใหม่ไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง ตามความในมาตรา 97(3)

ยกตัวอย่าง เช่น ประกาศยุบสภา วันที่ 21 มีนาคม 2566 กกต.สามารถกําหนดวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันยุบสภา โดยจะกําหนดในวันที่ 21พฤษภาคม 2566 ตรงกับวันอาทิตย์ก็ได้ ดังนั้น เกณฑ์ในการพิจารณาสังกัดพรรคการเมือง การยุบสภาจะต้องสังกัดพรรคการเมืองหนึ่งการเมืองใด ไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง ผู้สมัคร ส.ส.จะต้องสังกัดพรรคภายในวันที่ 21 เมษายน 2566 (ภายหลังวันสงกรานต์)

ทั้งนี้ การประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ได้กําหนดให้นายกรัฐมนตรี ผู้นําฝ่ายบริหาร ประกาศเป็นทางการให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพราะเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบ 

การยุบสภาและกําหนดวันเลือกตั้ง จะต้องสานสัมพันธ์กัน หมายความว่า รัฐธรรมนูญให้อํานาจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้อำนาจยุบสภาได้ ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงตัวแปรในสนามการเลือกตั้งและ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี(พรรครวมไทยสร้างชาติ) ตามบัญชีรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้น มีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ กกต.ก่อนปิดวันสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 88 ด้วย ว่า พรรคการเมืองที่สังกัด มีความพร้อมในการสู้ศึกเลือกตั้งเพียงใด เพราะตัวแปรสําคัญ เงื่อนไขบังคับก่อน คือ จะต้องคว้าที่นั่ง ส.ส.ในสัดส่วนสภาไม่ น้อยกว่า 25 ที่นั่ง จึงจะมีโอกาสกลับมานั่งตําแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ การยุบสภา หาก พล.อ.ประยุทธ์ฯ ประกาศยุบสภาในวันที่ 21 มีนาคม 2566 ก่อนครบกําหนดอายุสภาในวันที่ 23 มีนาคม 2566

ในอดีต ที่ผ่านมา สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เคยยุบสภาผู้แทนราษฎรใกล้ครบกําหนดวาระมาแล้ว ไม่เป็นเรื่องผิดปกติทางการเมือง หากยุบสภาในวันที่ 21 มีนาคม 2566 กกต.สามารถกําหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 21 พฤษภาคม 2566 ได้ อันนี้ ผมคิดในใจดังๆให้ได้ยินถึง พล.อ.ประยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรี โดยทางการเมือง จะต้องชิงความได้เปรียบทางการเมือง ไม่มีเหตุผลความจําเป็นที่ กกต.จะกําหนดเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เพราะเป็นการกําหนดไว้ล่วงหน้าเฉพาะกรณีครบอายุสภาเท่านั้น 

ทั้งนี้ตามกระแสข่าว หาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุบสภาในวันที่ 20 มีนาคม 2566 และกระแสข่าว กกต.กําหนดวัน เลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม ก็สามารถกระทําได้ โดยเฉพาะกรอบเวลาขยายออกไป ย่อมมีผลต่อการย้ายขั้วการเมืองของผู้สมัคร ส.ส.จะก่อให้เกิดพลังดูดซ้อนพลังดูด ประชาชนจะพบเห็นปรากฎการณ์ทางการเมือง นักการเมืองย้ายพรรค ย้ายขั้วการเมือง ที่ว่าพรรคการเมืองนั้น เปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.ลงเขตนั้น ลงเขตนี้ เปิดช่อง ให้ผู้สมัครย้ายพรรคได้ โดยมีกรอบระยะเวลาถึงวันที่ 21 เมษายน 2566 เป็นระยะเวลาภายหลังวัน สงกรานต์ ทําให้นักการเมืองระดับชาติ มีเวลาเตรียมตัว เตรียมความพร้อมในการย้ายพรรคตามอุดมการณ์ทางการเมืองมากขึ้น แต่หากยุบสภาวันที่ 20 มีนาคม 2566 และ กกต.กําหนดวันเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ผู้สมัครจะต้องสังกัดพรรคการเมืองภายในวันที่ 14 เมษายน 2566(ระยะเวลา 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง) ตรงนี้ พล.ประยุทธ์ฯ ชิงความได้เปรียบทางการเมือง ภายหลังยุบสภา ยังเป็นรัฐบาลรักษาการอยู่จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าทําหน้าที่ แม้จะมีข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญบางประการก็ตาม 

ผู้สื่อข่าวถามว่า การกําหนดวันเลือกตั้ง เป็นอํานาจของใครระหว่างรัฐบาลกับ กกต. นาย ณัฐวุฒิ   กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับปัจจุบัน ย่อมมีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีต โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้อํานาจ กกต.กําหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ กกต.ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อํานาจรัฐบาลกําหนดวันเลือกตั้งเหมือนในอดีต ทั้งยังกําหนดเครื่องมือในการปราบปรามทุจริตการเลือกตั้ง โดยเพิ่มดาบแจกใบส้มและใบดํา จะเห็นได้จากการแจกใบดำเป็นการตัดสิทธิการเมืองตลอดชีพ ทั้งยังนําไปบัญญัติไว้ในหมวดที่ 4 ว่าด้วย ปปช.มาตรา 235 วรรคสี่ เป็นการยกระดับการปราบโกงการเลือกตั้ง แต่การ กําหนดวันเลือกตั้งทั่วไปตามที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว้ให้อํานาจ กกต.จําต้องพิจารณาถึงความพร้อมทุกด้านและความเป็นมืออาชีพของ กกต.ด้วย อาทิ งบประมาณในการ จัดการเลือกตั้ง การแบ่งเขตเลือกตั้ง การประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การจัดเตรียมบุคลากรคณะกรรมการ ประจําหน่วยเลือกตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ และกําหนดสถานที่เลือกตั้ง ทั้งนี้ ในการสืบสวน การไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด คดีเลือกตั้ง ส.ส.ตามระเบียบใหม่ จะต้องมีความพร้อม ไม่ว่าการสืบสวนการลงพื้นที่เป้าหมายการทุจริตการเลือกตั้ง การทํางานเชิงรุกของผู้ตรวจการเลือกตั้งประจําจังหวัด และคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน ประจําจังหวัด เพื่อจัดการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรมแก่ผู้สมัคร ส.ส.และทุกพรรคการเมืองด้วย

หากพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย และกรอบเวลาในการกําหนด วันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา หากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ตัดสินใจประกาศยุบสภา ในวันที่ 21 มีนาคม 2566 กกต.ย่อมสามารถกําหนดวันเลือกตั้ง ตามความในมาตรา 103 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญ คือ วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 ตรงกับวันอาทิตย์ ส่งผลให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเดินทางกลับ ภูมิลําเนาไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะมีสถิติสูงขึ้น ตรงนี้ไม่ได้พูดชี้นํา แต่พูดตามบริบททั้งปวง มองถึงองคาพยพ ภาพรวมทั้งหมด หากระยะเวลาสั้น ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 จะทําให้ไม่เกิดความพร้อมในส่วนของพรรค การเมืองส่วนใหญ่จะต้องจัดทําไพรมารีโหวตทุกจังหวัด โดยเฉพาะพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ที่มีความพร้อม เพียง 3 ถึง 4 พรรคเท่านั้น หากพิจารณาภาพรวมถึงพรรคการเมือง ที่ กกต.จดทะเบียนในปัจจุบัน มีพรรค การเมือง ไม่น้อยกว่า 80 พรรค ที่จะเข้าสู่สนามการเลือกตั้ง ส่งผลทําให้ประชาชนผู้มีสิทธิการเลือกตั้งย่อมมี กระบวนการตัดสินใจเลือกผู้แทนฯโดยมีตัวเลือกพรรคการเมืองและผู้สมัคร ส.ส. ในระบบบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้ง 2 ใบมากขึ้น