ภท.โชว์วิชั่นกระจายอำนาจ ชูเก็บ "ภาษีรักบ้านเกิด" อัดแสนล้านลงท้องถิ่น
รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย โชว์วิชั่นกระจายอำนาจ ชูนโยบายเก็บ "ภาษีรักบ้านเกิด" อัดแสนล้านลงท้องถิ่น พร้อมดันแก้กฎหมายต้นตอทำท้องถิ่นติดหล่ม
ที่โรงแรม ไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ "เครือเนชั่น" ร่วมกับ สมาคมสันนิบาตเทศบาล จัดเวทีสัมมนา ท้องถิ่นมั่งคั่ง ประเทศมั่นคง เปิดแนวคิด "บทบาทท้องถิ่น กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ" ขณะเดียวกันยังการแสดงวิสัยทัศน์จากพรรคการเมือง ในการเพิ่มศักยภาพท้องถิ่น เพื่อความมั่นคงของประเทศ
โดย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า แนวความคิดเรื่องการกระจายอำนาจเป็นเรื่องที่ต้องชื่นชมและยินดีและต้องให้ความสำคัญ เรามีแนวคิดเรื่องนี้มานานแต่ถ้าเราได้มีโอกาสไป
ทั้งนี้เท่าที่สัมผัสกันจริงๆในทุกท้องถิ่นจะมีเสียงพูดเสมอว่า การกระจายอำนาจ ที่ให้ไปไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์มีหลายเรื่องที่เสนอโดยท้องถิ่นหรือคนในชุมชนซึ่งถือเป็นเรื่องดีแต่ถ้าให้คนในชุมชนมีโอกาสตัดสินใจเองถือเป็นเรื่องดีแต่เมื่อไปบริหารจัดการการ บทบาทการตัดสินใจทั้งหลายยังไม่ 100%มีหลายเรื่องที่ยังต้องแก้ไข
ส่วนหนึ่งของการกระจายอำนาจท้องถิ่นที่เราบอกว่า ให้มีความมั่งคั่งแต่ปัจจุบันกลับพบว่า เดินหน้าไม่ได้
องค์กรท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะตาม กฏหมาย ซึ่งการให้ต้องมีเครื่องมือทางอำนาจหน้าที่และเงินงบประมาณ
อย่างที่เรียนว่า เมื่อการให้อำนาจมีไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาท้องถิ่น ติดขัดเงื่อนไขต่างๆที่มีกฎหมายรองรับไม่100 เปอร์เซ็นต์
โดยเฉพาะเรื่องบุคลากรที่เราพยายามพูดว่ากระจายอำนาจแต่ถึงเวลาจริงการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นของตัวเองกลับทำไม่ได้แต่มีคนไปจัดการให้และการจัดการก็ไม่ตรงกับพื้นที่ที่มีความต้องการเป็นการจัดการแบบรวมไปทั้งประเทศ
ต้องยอมรับว่าพื้นที่ของท้องถิ่นแต่ละแห่งไม่เหมือนกันเช่นทางใต้อาจมีเรื่องของทะเลธรรมชาติทางอีสาน อาจเป็นเรื่องของวัฒนธรรมเรื่องของความเป็นอยู่ที่มีความแตกต่างกัน
ฉะนั้นบุคลากรที่จะมาทำหน้าที่ร่วมกับผู้นำท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหลายก็จะต้องเป็นคนที่มีความเข้าใจในบริบทของพื้นที่เหล่านั้นด้วย
อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องเงินงบประมาณถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเพราะ ฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันองค์กรท้องถิ่นมีสองเรื่องที่พูดกันอยู่เสมอและอยากให้สองเรื่องนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์
คือหนึ่งเรื่องของอำนาจในการบริหารจัดการตัวเองโดยไม่ต้องอิงส่วนกลางพื้นที่คิดยังไงต้องมีอำนาจเป็นของตัวเอง
นอกจากนี้จะต้องมีกฎหมายที่จะไปครอบคลุมในเรื่องการบริหารจัดการกำหนดกรอบว่าองค์กรท้องถิ่นมีภารกิจอะไรนี่จึงเป็นตัวอย่างว่าการให้อำนาจไปขณะนี้ยังไม่ 100%
นายทรงศักดิ์ ยังกล่าวว่า ขณะที่การถ่ายโอนอำนาจมีเรื่องการถ่ายโอนที่ไม่ครบเช่นการถ่ายโอนโอนเรื่องภารกิจแต่ไม่มีคนหรืองบประมาณให้ขณะที่ภารกิจที่ให้ไปก็ไม่ครบ
เช่นเรื่องสถานีรถโดยสารเป็นต้นที่ให้ท้องถิ่นไปดูแต่กลับไม่มีการวางระบบสายทางหรือการบริการสายทางกลับไม่ให้ไปก็ให้ดูแค่สถานี
หรือวันนี้ที่มีการถ่ายโอนเรื่องรพ.สต. ที่มีปัญหาการบริหารจัดการโดยเฉพาะการรักษาเพราะท้องถิ่นไม่มีบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องมีใบประกอบโรคศิลป์เป็นต้น
ฉะนั้นเราจึงต้องหาวิธีในการกำหนดอำนาจโดยเฉพาะการแก้กฎหมายอะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคของการกระจายอำนาจวันนี้ก็เป็นหน้าที่ที่พรรคการเมืองที่จะต้องไปดำเนินการในการแก้ไขต่อ
นายทรงศักดิ์ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า เรื่องเงินถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องขับเคลื่อนเราพูดกันเรื่อง 35% มาตั้งแต่ปี 2542 ทั้งนี้ตนเข้าใจว่าการจัดสรร 35% ไม่สามารถจัดสรรได้ด้วยวิธีการเดียว เพราะงบประมาณ แผ่นดินเป็นตัวเลขหลักถ้าประเทศโดยภาพรวมไม่ได้ก็มีความจำเป็นที่จะต้องลดเปอร์เซ็นต์
"สำหรับภูมิใจไทยที่มีผมเป็นตัวแทนก็มองถึงเรื่องตัวเลขตรงนี้เราอยากให้ท้องถิ่นมีงบประมาณเป็นของตัวเองมากขึ้นเราจึงมีกรอบแนวความคิดในการจัดสรรภาษีที่เรียกว่า'ภาษีรักบ้านเกิด' เพื่อจะส่งลงไปที่ท้องถิ่นใครอยู่ที่ไหนสามารถที่จะกำหนดภาษีตัว ตัวเองลงไปซึ่งจะใช้งบราว 100,000 ล้านบาทในการไปบริหารจัดการตัวเอง"