โพลนักวิชาการ สะท้อน Gen Z มุ่งเลือกพรรคเดียว 2 ใบ โน้มน้าวครอบครัวลงคะแนนตาม
โพลนักวิชาการ "อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล" สะท้อนกลุ่มคน Gen Z มุ่งเลือกพรรคเดียวทั้งสองใบ พรรคก้าวไกลนำ ตามด้วยพรรคเพื่อไทย และครึ่งหนึ่งกระตือรือร้นโน้มน้าวคนในครอบครัวให้ลงคะแนนตามตน
งานวิจัยส่วนบุคคลของ รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุ 18-26 ปี ทั้งประเทศคน Gen Z ที่มีสิทธิเลือกตั้ง 7.67 ล้านคน) ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพ ฯและทุกภาคของประเทศ จำนวน 1,050 คน เกี่ยวกับทัศนคติต่อการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566
1. ข้อคำถามว่า “ท่านจะเลือก ส.ส. เขตสังกัดพรรคใด”
ผลการวิจัยพบว่า (ตอบคำถาม 1,047 คน) คน Gen Z เลือกพรรค
1) ก้าวไกล ร้อยละ 38.1 (399 คน)
2) เพื่อไทย ร้อยละ 24.4 (255 คน)
3) รวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 0.9 (9 คน)
4) พลังประชารัฐ ร้อยละ 0.5 (5 คน)
5) ภูมิใจไทย ร้อยละ 1.0 (10 คน)
6) ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 0.9 (9 คน)
7) ไทยสร้างไทย ร้อยละ 0.8 (8 คน)
8) สร้างอนาคตไทย ร้อยละ 0.3 (3 คน)
9) ชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.8 (8 คน)
10) อื่นๆ ร้อยละ 0.7 (7 คน)
11) ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 25.3 (265 คน)
12) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 6.6 (69 คน)
2. ข้อคำถามว่า “ท่านจะเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคใด”
ผลการวิจัยพบว่า (ตอบคำถาม 1,049 คน) คน Gen Z เลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรค
1) ก้าวไกล ร้อยละ 39.2 (415 คน)
2) เพื่อไทย ร้อยละ 21.9 (230 คน)
3) รวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 0.9 (9 คน)
4) พลังประชารัฐ ร้อยละ 0.5 (5 คน)
5) ภูมิใจไทย ร้อยละ 1.0 (10 คน)
6) ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 0.8 (8 คน)
7) ไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.1 (12 คน)
8) สร้างอนาคตไทย ร้อยละ 0.3 (3 คน)
9) ชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.8 (8 คน)
10) อื่นๆ ร้อยละ 0.7 (7 คน)
11) ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 25.5 (268 คน)
12) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 7.1 (74 คน)
3. ข้อคำถามว่า “ท่านจะรณรงค์ให้คนในครอบครัวของท่านเลือก ส.ส. เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามแนวที่ท่านชื่นชอบหรือไม่”
ผลการวิจัยพบว่า (ตอบคำถาม 1,048 คน)
1) รณรงค์ ร้อยละ 51.5 (540 คน)
2) ไม่รณรงค์ ร้อยละ 19.8 (207 คน)
3) ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 28.7 (301 คน)
4. คน Gen Z แสดงออกถึงการเลือกพรรคเดียวทั้ง ส.ส. เขต และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ ในทุกพรรคที่ตัดสินใจเลือก
5. พรรคก้าวไกล คะแนนนิยมของคน Gen Z ต่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีร้อยละ 29.2 ทว่าคะแนนนิยมเลือก ส.ส. เขตของพรรคเพิ่มเป็น ร้อยละ 38.1 และเพิ่มขึ้นอีกเมื่อตัดสินใจเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็น ร้อยละ 39.2 (หรือราว 2.55 ล้านเสียงของคน Gen Z ที่คาดว่ามาใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 85.1 หรือราว 6.52 ล้านคน)
6. พรรคเพื่อไทย คะแนนนิยมของคน Gen Z ต่อ นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร มีร้อยละ 23 แต่คะแนนนิยมเลือก ส.ส. เขตของพรรคเพิ่มเป็น ร้อยละ 24.4 แต่ลดลงเมื่อตัดสินใจเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อเหลือ ร้อยละ 21.9 (หรือราว 1.43 ล้านเสียงของคน Gen Z ที่คาดว่ามาใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 85.1 หรือราว 6.52 ล้านคน)
7. พรรครวมไทยสร้างชาติได้รับความนิยมจากคน Gen Z ร้อยละ 0.9 (9 คน)
8. พรรคพลังประชารัฐได้รับความนิยมจากคน Gen Z ร้อยละ 0.5 (5 คน)
9. คน Gen Z ยังไม่ตัดสินใจเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคการเมืองใด ร้อยละ 25.5 (268 คน) หรือราว 1.66 ล้านเสียงของคน Gen Z ที่คาดว่าจะมาใช้สิทธิเลือกตั้ง
10. คน Gen Z (อายุ 18-26 ปี) มีสิทธิเลือกตั้ง 7.67 ล้านคน หากคาดว่ามาใช้สิทธิอย่างแน่นอนร้อยละ 85.1 ก็ประมาณได้ว่าจะมีคน Gen Z มาใช้สิทธิเลือกตั้งเบื้องต้นราว 6.52 ล้านคน
11. คน Gen Z ร้อยละ 51.5 จะรณรงค์ให้คนในครอบครัวมาเลือก ส.ส. เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามแนวที่ตนชื่นชอบ ซึ่งมีแนวโน้มว่า คน Gen X (อายุ 44-58) และ Baby Boomer (อายุ 59 ขึ้นไป) ที่เป็นพ่อแม่ของคน Gen Z กลุ่มนี้ จะหันมาเลือกตามความนิยมของลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในต่างจังหวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยส่วนบุคคล ทัศนะจากงานวิจัยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา โดยมีข้อมูลพื้นฐาน งานวิจัยทัศนคติของคน Gen Z ต่อการเลือกตั้งพฤษภาคม 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 1,050 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 14 - 25 มีนาคม 2566 (มีประกาศยุบสภาวันที่ 20 มีนาคม)
ผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 695 คน (66.2%) ชาย 299 คน (28.5%) เพศหลากหลาย 56 คน (5.3%)
โรงเรียนที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากเขตภูมิภาคใด : กรุงเทพฯ 144 คน (13.7%) ปริมณฑลกรุงเทพฯ (นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ) 96 คน (9.1%) ภาคกลาง 184 คน (17.5%) ภาคเหนือ 80 คน (7.6%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 329 คน (31.3%) ภาคใต้ 217 คน (20.8%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม อายุ 18 ปี 90 คน (8.6%) อายุ 19 ปี 416 คน (39.6%) อายุ 20 ปี 271 คน (25.7%) อายุ 21 ปี 129 คน (12.3%) อายุ 22 ปี 63 คน (6.0%) อายุ 23 ปี 30 คน (2.9%) อายุ 24 ปี 13 คน (1.2%) อายุ 25 ปี 7 คน (0.7%) อายุ 26 ปี 31 คน (3.0%)