ผลเลือกตั้ง 2566 : เกมส์พลิกบ้านใหญ่เชียงใหม่สลาย 'ก้าวไกล' คว้า ส.ส. 7 เขต

ผลเลือกตั้ง 2566 : เกมส์พลิกบ้านใหญ่เชียงใหม่สลาย 'ก้าวไกล' คว้า ส.ส.  7 เขต

ผลเลือกตั้ง 2566 : เกมส์พลิกบ้านใหญ่เชียงใหม่สลาย "ก้าวไกล" คว้าพื้นที่เชียงใหม่ 7 เขต เพื่อไทย 2 เขต และพปชร. 1 เขต

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงาน ผลการเลือกตั้ง 2566 อย่างไม่เป็นทางการ ของจังหวัดเชียงใหม่ พลิกล็อกถล่มทลาย ก้าวไกล สามารถคว้า พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถึง 7 เขต เจ้าของพื้นที่อย่าง เพื่อไทย คว้าได้เพียง 2 เขต ขณะที่พลังประชารัฐ 1 เขต

เขตเลือกตั้งที่ 1

อำเภอเมืองเชียงใหม่ (ยกเว้นตำบลหนองหอย ตำบลวัดเกต ตำบลหนองป่าครั่ง และตำบลท่าศาลา)

นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม อดีต ส.ส.เขต 3 จากพรรคเพื่อไทย ได้ไป 30,086 คะแนน พลิกแพ้ให้กับ เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู พรรคก้าวไกล ได้ไป 48,823 คะแนน และ ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา จากพรรครวมไทยสร้างชาติได้ไป 9,772 คะแนน เขต1 ถือว่าเป็น พื้นที่ช้าง ชน ช้าง เพราะมีกำลังสนับสนุน จากคนรุ่นใหม่ และ นิวโหวตเตอร์ไม่น้อย ที่สนับสนุน พรรคก้าวไกล ประกอบกับ การลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องทำให้ พรรคก้าวไกล คว้าพื้นที่ไปครอง

เขตเลือกตั้งที่ 2

อำเภอสารภี, อำเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตำบลหนองหอย ตำบลวัดเกต ตำบลหนองป่าครั่ง และตำบลท่าศาลา) และอำเภอสันกำแพง (เฉพาะตำบลสันกลาง ตำบลบวกค้าง และตำบลแช่ช้าง)

การณิก จันทดา พรรคก้าวไกล ได้ไป 51,181 คะแนน ชนะ โกวิทย์ พิริยะอานันต์ พรรคเพื่อไทย ได้ไป 39,091 คะแนน ส่วน ยุทธนา สุวรรณ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ไป 7,371 คะแนน สำหรับเขต 2 ผู้สมัครซึ่งทั้งคู่ยังเป็นมือใหม่สำหรับการเมือง แต่พรรคก้าวไกล กระแสดีกว่า และการลงพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องทำให้ครองพื้นที่นี้ได้ไม่ยาก

 

เขตเลือกตั้งที่ 3

อำเภอแม่ออน, อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอสันกำแพง (ยกเว้นตำบลสันกลาง ตำบลบวกค้าง และตำบลแช่ช้าง)

ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล พรรคก้าวไกล ได้ไป 47,469 คะแนน ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ พรรคเพื่อไทย ได้ไป 43,244 คะแนน พนม ศรีเผือด พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ไป 5,197 คะแนน เขตนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นบ้านเกิด ตระกูลชินวัตร แต่ ปีนี้ เพื่อไทยกลับพ่ายแพ้กับ ก้าวไกลในแบบ สูสี เนื่องจาก ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล ลูกชายของสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในยุค รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทำให้ยังมีฐานเสียงเดิมจากพรรคเพื่อไทยสนับสนุน รวมถึงฐานเสียงคนรุ่นใหม่ วัยกลางคน ทำให้ได้รับชัยชนะไปแบบสูสี

เขตเลือกตั้งที่ 4

อำเภอสันทรายและอำเภอแม่ริม (เฉพาะตำบลเหมืองแก้ว ตำบลแม่สา และตำบลดอนแก้ว)

พุธิตา ชัยอนันต์ พรรคก้าวไกล ได้ไป 62,009 คะแนน วิทยา ทรงคำ พรรคเพื่อไทย 21,942 คะแนน กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ไป 15,211 คะแนน เขตนี้ถือว่า พลิกล๊อคเหนือความคาดหมาย ที่ ก้าวไกลชนะ เจ้าของพื้นที่เดิม อย่าง วิทยา ทรงคำ ที่ ครองพื้นที่มา 5 สมัยซ้อน เนื่องจากพลังคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ที่มีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่สนับสนุนก้าวไกล และ เจ้าของพื้นที่เดิมไม่มีผลงานเด่นชัด ทำให้ก้าวไกลได้พื้นที่นี้ไปครองสำเร็จ

เขตเลือกตั้งที่ 5

อำเภอกัลยาณิวัฒนา, อำเภอสะเมิง, อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม (ยกเว้นตำบลเหมืองแก้ว ตำบลแม่สา และตำบลดอนแก้ว)

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย ได้ไป 40,390 คะแนน สมชิด กันธะยา พรรคก้าวไกล ได้ไป 39,982 คะแนน เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ไป 8,960 คะแนน สำหรับเขต 5 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย เจ้าของพื้นที่ 4 สมัย ยังคงได้รับความไว้วางใจ ฐานเสียงเดิม ประกอบกับผลงานในสภาที่อภิปรายได้ดี ก็ไปส่วนหนึ่งทำให้ คลองในพื้นที่นี้ได้ แต่ไม่ง่าย เพราะชนะ สมชิด กันธะยา พรรคก้าวไกล ไปเพียง 408 คะแนนเท่านั้น

เขตเลือกตั้งที่ 6

อำเภอเวียงแหง, อำเภอเชียงดาว, อำเภอพร้าว และอำเภอไชยปราการ (เฉพาะตำบลศรีดงเย็นและตำบลหนองบัว)

อรพรรณ จันตาเรือง พรรคก้าวไกล ได้ไป 25,828 คะแนน วันเพ็ญ ปัญญาทิพย์ พรรครวมแผ่นดิน ได้ไป 21,937 คะแนน ไกร ดาบธรรม พรรคเพื่อไทยได้ไป 21,374 คะแนน สำหรับเขต6 ก็เป็นอีกหนึ่งเขตที่ พรรคก้าวไกลสามารถคว้าชัยไปครองได้แบบเหนือความคาดหมาย อรพรรณ จันตาเรือง พรรคก้าวไกล อดีตเลขานายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงดาว มีฐานเสียงในอำเภอเชียงดาวอย่างเหนียวแน่น ประกับบทบาทในการช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะ เรื่องการประสานแก้ไขปัญหา ไม่มีไฟฟ้าใช้ ให้กับ กลุ่มชาติพันธุ์ หลายพื้นที่ ก็ได้คะแนนเสียงไปครองในครั้งนี้

เขตเลือกตั้งที่ 7

อำเภอแม่อาย, อำเภอฝาง และอำเภอไชยปราการ (เฉพาะตำบลแม่ทะลบและตำบลปงตำ)

สมดุลย์ อุตเจริญ พรรคก้าวไกล ได้ไป 32,990 คะแนน นิธิกร วุฒินันชัย พรรคเพื่อไทย ได้ไป 29,387 คะแนน สันติ ตันสุหัช พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ไป 8,830 คะแนน นิธิกร วุฒินันชัย พรรคเพื่อไทย ลูกชายนายประสิทธิ์ วุฒินันชัย ส.ส.เขต 5 เชียงใหม่หลายสมัย เป็นอีกหนึ่งทายาทนักการเมือง ที่ลงพื้นที่แนะนำตัวกับประชนในพื้นที่มาไม่น้อย นายสันติ ตันสุหัช อดีต ส.ส. จาก พรรคไทยรักไทย 2 สมัย แต่ปีนี้ มาลงในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ ทั้ง 2 คน พลิกแพ้ให้ กับ สมดุลย์ อุตเจริญ จากพรรคก้าวไกลไปแบบขาดรอย เพราะ เป็นเกษตรกรเจ้าของสวนส้ม ในพที่ลงพื้นที่หายเสียงเน้นแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร อย่างแท้จริง และมีเสียงจากคนรุ่นใหม่ สนับสนุน ทำให้สามารถครองพื้นที่นี้ไปได้

เขตเลือกตั้งที่ 8 อำเภอหางดงและอำเภอสันป่าตอง

ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ พรรคก้าวไกล ได้ไป 50,878 คะแนน ณัฏฐ์พัฒน์ รัฐผไท พรรคเพื่อไทย ได้ไป 35,237 คะแนน กุสุมา บัวพันธ์ พรรคพลังประรัฐ ได้ไป 15,257 คะแนน สำหรับเขต8 ณัฏฐ์พัฒน์ รัฐผไท พรรคเพื่อไทย ลูกชายนายนพคุณ รัฐผไท ส.ส.เขต 2 5สมัยซ้อน ถือว่าเป็นการเปลี่ยนถ่ายทายาทการเมือง เรียกคะแนนจะคนรุ่นใหม่ ในพื้นที่นี้ แต่ไม่สำเร็จ

คนรุ่นใหม่ยังเทใจให้กับ พรรคก้าวไกล อย่าง ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ชนะไปแบบขาดลอย เพราะเขตพื้นที่โซนใต้ เป็นหนึ่งในพื้นที่ ที่ก้าวไกลหมายมั่นปั้นมือไว้ สังเกตจากการลงพื้นที่ ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ลงพื้นที่โซนนี้บ่อยครั้งก็สร้างปรากฏการณ์ ตีพื้นที่เขต8 ได้สำเร็จ

เขตเลือกตั้งที่ 9

อำเภอดอยหล่อ, อำเภอจอมทอง, อำเภอแม่วาง และอำเภอแม่แจ่ม (เฉพาะตำบลแม่นาจร ตำบลแม่ศึก และตำบลช่างเคิ่ง)

นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ พรรคพลังประชารัฐ ได้ไป 31,107 คะแนน สุรพล เกียรติไชยากร พรรคเพื่อไทย ได้ไป 27,032 คะแนน สมเกียรติ มีธรรม พรรคก้าวไกล ได้ไป 26,415 คะแนน สำหรับเขต 9 สำหรับ นเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ พรรคพลังประชารัฐ เคว สมัครส.ส.เขต 8 พรรคพลังประชารัฐ มีคะแนนรั้งอันดับ 2 รองจากพรรคเพื่อไทยอยู่ที่39,221คะแนน และเมื่อกกต.ให้ใบส้มกับนายสุรพล เกียรติไชยากร ผู้สมัครส.ส.จากพรรคเพื่อไทย จึงได้มีการเลือกตั้งใหม่ และมีนางสาวศรีนวล บุญลือ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่คว้าเก้าอี้ไป

และเมื่อมีการยุบพรรคอนาคตใหม่ก็ได้ ย้ายมาอยู่พรรคภูมิใจไทย ตั้งแต่ปี 2562 นายนเรศ ยังคงลงพื้นที่หาเสียงตลอด 4 ปีและเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ มีการการติดตาม ประสาน ผลักดัน โครงการต่างในพื้นที่ ก็ได้ใจชาวบ้านไม่น้อย ประกอบกับ ฐานเสียงพรรคเพื่อไทย และ ฐานเสียงก้าวไกล แบ่งๆคะแนนกันไป ทำให้ ฐานเสียงที่เหนียวแน่น ของ ส่ง นเรษ คว้าชัยในพื้นที่นี้ได้ และเป็น ผู้สมัครของ พลังประชารัฐเพียงคนเดียวที่ได้รับชัยชนะในพื้นที่เชียงใหม่

เขตเลือกตั้งที่ 10

อำเภออมก๋อย, อำเภอดอยเต่า, อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม (ยกเว้นตำบลแม่นาจร ตำบลแม่ศึก และตำบลช่างเคิ่ง)

ศรีโสภา โกฎคำลือ พรรคเพื่อไทย ได้ไป 32,638 คะแนน นรพล ตันติมนตรี พรรคพลังประชารัฐ ได้ไป 29,138 คะแนน ณรงค์ชัย เตโม พรรคก้าวไกล ได้ไป 20,680 คะแนน สำหรับเขต 10 ศรีโสภา โกฎคำลือ พรรคเพื่อไทย ลูกสาวของนายศรีเรศ โกฎคำลือ อดีต ส.ส.เขต 9 2 สมัย อดีตกำนัน และ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาลอำเภอฮอด ว่าด้วยชื่อของกำนัน ศรีเรศ ที่มีฐานเสียงอย่างเหนียวแน่น ทั้งในอำเภอ ฮอด ดอยเต่า

และแม่แจ่ม และ ศรีโสภา ลูกสาวก็ไม่ปล่อยให้โอกาสนี้หลุดมือ เพราะลงพื้นที่ ทุกพื้นที่เช่นกัน ทำให้ชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่าง นรพล ต้นติมนตรี จากพรรคพลังประชารัฐ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดินและเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคที่ชนะการเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2550 ขณะเดียวกัน พื้นที่เขต 10 ถือว่ามีนิวโหวตเตอร์ มากสุดของจังหวัดเชียงใหม่กว่า 17,000 คน