ท่าที สว.โหวตเลือกนายกฯ 'ลักษณ์' ชี้รวมเสียงเกิน 376 ไม่ต้องพึ่ง ส.ว.
เช็กที่นี่ ท่าที สว.โหวตเลือกนายกฯ 'ลักษณ์' เตือน 'ก้าวไกล' อย่ากดดันผ่านโซเชียลมีเดีย ขอให้ ส.ว.รวบรวมเสียงให้ได้ 367 คน เพื่อตั้งรัฐบาล รอดูคุณสมบัติ ‘พิธา’ จะเป็นนายกฯได้หรือไม่
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 500 คน และมีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 250 คน หรือ 250 สว. ซึ่ง ทำให้รัฐสภาไทยมีสมาชิกจำนวน 750 คน
สำหรับการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีจะต้องผ่านความเห็นชอบจากทั้ง ส.ส.และ ส.ว.โดยพรรคการเมืองจะเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรีเข้าที่ประชุมรัฐสภา เพื่อลงคะแนนแบบเปิดเผย ซึ่งที่ผ่านมาจะมีการข่านชื่อสมาชิกรัฐสภาเป็นรายบุคคลว่าให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอมา โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 376 เสียง จึงจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อไปจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ความคืบหน้าการจัดตั้งรัฐบาลล่าสุด พรรคก้าวไกลที่ได้คะแนนเสียงอันดับ 1 ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ 5 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเป็นธรรม โดยชูนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรี
นายลักษณ์ วจนานวัช สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระบวนการจัดตั้งรัฐบาล ที่มาจากผลการเลือกตั้งที่พรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงมากที่สุดในขณะนี้และนำเสนอให้นายพิธา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี นั้นถือว่าเป็นขั้นตอนที่เหมาะสมและสมบูรณ์แบบแล้ว เหลือก็แต่คุณสมบัติของนายพิธา เท่านั้นว่าจะผ่านการพิจารณาหรือไม่
“แต่ก้าวไกลต้องรวบรวมสมาชิกได้ครบ 376 เสียง เพื่อแสดงให้เห็นว่า สส.ต้องการคนนี้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ต้องกังวลทางฝั่ง ส.ว. แล้ว เพราะทุกอย่างจะเป็นไปตามกระบวนการของประชาธิปไตย แต่ฝากไปถึงโซเชียลมีเดีย อย่ากดดันทางฝั่ง ส.ว. โดยเฉพาะถ้อยคำที่ใช้ ตอนนี้โหมกระหน่ำเข้ามามากซึ่งไม่ค่อยโอเคเท่าไร”นายลักษณ์ กล่าว