"ดิเรกฤทธิ์" รับ "ส.ว." ถูกกดดันทางการเมือง ชี้ควรเคารพสิทธิ-การทำหน้าที่

"ดิเรกฤทธิ์" รับ "ส.ว." ถูกกดดันทางการเมือง ชี้ควรเคารพสิทธิ-การทำหน้าที่

"กมธ.การเมือง" มอง ข้อเสนอรัฐบาลแห่งชาติ แค่ความเห็นส่วนตัว ยอมรับ มี "ส.ว." ถูกกดดันการเมือง ชี้ควรเคารพสิทธิ-การทำหน้าที่ ด้าน "จเด็จ" รับเป็นความคิด หวังประสานประโยชน์ ประเมิน8พรรคตั้งรัฐบาลไม่ได้ ม็อบเกิด

 

 

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. ฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วของประชาชน  วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการคมชัดลึก เมื่อ 2 มิถุนายน ถึงข้อเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นความเห็นส่วนตัว โดยกมธ.ยังไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดหรือยกมาพิจารณาศึกษา ส่วนกรณีที่นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. ฐานะประธานกมธ. ระบุต่อการสร้างแรงกดดันของ ส.ว. ผ่านการเดินสายของแกนนำพรรคก้าวไกล ตนมองว่าเรื่องที่กดดันส.ว.อันนี้ก็เป็นเรื่องจริงในแง่ของความรู้สึก ส่วนวิธีกดดันตนมองว่าเป็นความงดงาม เพราะเด็กมีความฝัน แต่ว่าอารมณ์ร่วมของกลุ่มมวลชนพบว่าบางครั้งใช้ถ้อยคำข่มขู่ ที่อาจสร้างความรู้สึกไม่ดี

 

\"ดิเรกฤทธิ์\" รับ \"ส.ว.\" ถูกกดดันทางการเมือง ชี้ควรเคารพสิทธิ-การทำหน้าที่

“ส่วนที่ใครโดนบ้างนั้น  ได้การพูดคุยกันว่าท่านเจออะไร คนอยู่ต่างจังหวัดก็เจออะไรแบบนี้ก็มี ซึ่งผมมองว่าต้องเข้าใจทั้งสองฝ่ายเนาะ คนที่เลือกตั้งมาด้วยบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มที่ มาวันนี้ก็อยากเห็นเร็วๆเพราะฉะนั้นเป็นความชอบธรรมที่เขาอยากจะกดดันให้เกิดความสำเร็จ” นายดิเรกฤทธิ์ กล่าว

 

 

 

นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนขอให้เล่นตามกติกา ให้ผู้เล่นมีอิสระ หากเรามีคดีแล้วนำมวลชนไปกดดันศาล  หรือ มีเรื่องที่ส.ว.ต้องพิจารณา แล้วนำมวลชนไปกดดัน แบบนี้ทำให้ไม่มีความอิสระ เมื่อไม่ได้รับความเป็นอิสระในมุมมองของตนเอง วิจารณญาณของตนเอง เหมือนกับกรณีที่เราให้ใครทำหน้าที่อะไรควรวางใจกัน การไปกดดันต่างๆยิ่งจะเป็นผลเสีย

 

 

“ดังนั้นเราเคารพกันปล่อยให้แต่ละคนได้ทำหน้าที่ผมคิดว่าทุกเรื่องจะออกมาดีครับ ทุกวันนี้ผมคิดว่าประชาธิปไตยของเราเติบโตงดงามมาก ผมมีความภูมิใจนะที่ประเทศของเรามาถึงตรงนี้ได้” นายดิเรกฤทธิ์ กล่าว

 

ขณะที่นายจเด็จ อินสว่าง ส.ว. ฐานะรองประธานกมธ.การพัฒนาการเมืองฯ วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเดียวกัน ถึงที่มาของข้อเสนอรัฐบาลแห่งชาติ ว่า ในระหว่างของการตั้งรัฐบาลเป็นไปไม่ได้ พรรคที่ได้เสียงข้างมากมันเป็นไปไม่ได้ ต่อมาเอาพรรคที่ได้ที่ 2 เข้ามาร่วมกันก็เป็นไม่ได้ เพราะจะด้วยเหตุผลการขาดคุณสมบัติหรือการแบ่งเก้าอี้ไม่ลงตัว ทำให้การตั้งรัฐบาลล่าช้า ตนจึงเสนอความคิดว่า การเมือง คือการประสานความคิด ประสานประโยชน์ หากทุกพรรคการเมืองนำส่วนที่ดีๆของทุกพรรคมาประสานความคิดมาประสานประโยชน์ทำงาน

 

"เป็นความคิดที่แวบขึ้นมาในเรื่องของการประสานประโยชน์มันจะก่อให้เกิดรัฐบาลแห่งชาติที่เราเรียกว่ารัฐบาลของประชาชนที่แท้จริง" นายจเด็จ กล่าว

 

นายจเด็จ กล่าาวอีกว่าสำหรับการลงมติเลือกนายกฯ นั้นตนปฏิญาณตนไปแล้ว และในฐานะประชาชนคนไทยผมต้องรักษาพิทักษ์ไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดังนั้นกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ยังมีแนวทางแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 ไม่ว่าย้ายหมวดหรือลดโทษ ตนไม่สามารถโหวตให้นายพิธาได้ 

 

"ผมมองว่าหัวหน้าพรรคก้าวไกลปัญหา  พรรคก้าวไกลมีปัญหาในการนำเสนอทิศทางและแนวนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 เขายอมรับแล้วว่าพรรคก้าวไกลเข้ามาก็จะเสนอแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 ซึ่งกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และยังไม่หยุดในการนำเสนอเรื่องเหล่านี้  เมื่อ 2-3 วันที่แล้วก็ไปให้สัมภาษณ์ BBC หนักกว่านี้อีก" นายจเด็จ กล่าว

 

นายจเด็จ กล่าวถึงประเด็นการตรวจสอบคุณสมบัติของนายพิธา ต่อการถือหุ้นสื่อฯ ที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ   98(3)  ว่า ตนไม่ได้คิดล่วงหน้าในทางเลวร้าย แต่หากมีปัญหาขึ้นมาแล้วสลับขั้วกันก็ยังมีปัญหาอีก จนการเมืองอยู่บนถนน ตนเสียดายโอกาสของประเทศชาติ

 

"ผมพูดแล้วนะถ้าคุณพิธาและพรรคอีก 7 พรรค เดินหน้าไปได้จนเป็นรัฐบาลประสบความสำเร็จผมดีใจด้วย ผมพูดในฐานะสมาชิกวุฒิสภาคนนึง ไม่ได้พูดในฐานะภาพรวมของสมาชิกวุฒิสภา" นายจเด็จ กล่าว.

 

"จเด็จ" ถ้าเป็นอย่างนี้นะครับ