จำคุก 'ประสิทธิ์ เจียวก๊ก' 1,155 ปี ชดใช้ค่าเสียหายอีกกว่า 1,000 ล้านบาท
ศาลอาญาพิพากษาจำคุก "ประสิทธิ์ เจียวก๊ก" 1,155 ปี กรณีหลอกลงทุนเว็บไซต์ ซื้อ-เช่าสินค้าแบรนด์เนม ชดใช้ค่าเสียหายอีกกว่า 1,000 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลมีคำพิพากษาในคดีที่พนักงานอัยการคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 เป็นโจทก์ฟ้องที่นายประสิทธิ์ เจียวก๊ก กับพวกรวม 9 คนในฐานความผิดตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527, และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรณีที่จำเลยและพวกได้ ได้ร่วมกันเปิดบริษัทซื้อแล้วปล่อยเช่ากระเป๋า แบรนด์เนม เมื่อปี 2463-2564 มูลค่าความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่า นายประสิทธิ์ เจียวก๊ก ดำเนินธุรกิจโดยรู้หรือควรรู้ว่าเป็นธุรกิจที่ไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนได้ตามที่โฆษณา แต่ยังโฆษณาชักชวนผู้เสียหายมา ลงทุน ทำให้มีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก ถือว่าบริษัท วีเลิฟยัวแบ็ก (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท เหนือโลก จำกัด และนายประสิทธิ์ จำเลยที่ 1, 3, 4 ร่วมกับทุจริตหลอกลวง มีความผิดตามฟ้อง แต่เป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบาท ให้ลงโทษข้อหาหนักสุด คือ ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ให้ปรับ 321 กระทง ๆ ละ 500,000 บาท รวมปรับจำเลย 3 ราย ๆ ละกว่า 145 ล้านบาท และจำคุกนายประสิทธิ์ กระทงละ 5 ปี รวม 1,155 ปี แต่ตามกฎหมายให้ลงโทษสูงสุด 20 ปี และให้จำเลยทั้ง 3 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาทคืนให้ผู้เสียหาย พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- "สามารถ"แนะ "แทนคุณ" งัดกลไก ร้องป.ป.ง.ช่วยเหยื่อ"คดีประสิทธิ์ เจียวก๊ก"
- “โรม” จี้ “สมศักดิ์-กรมราชทัณฑ์” ต้องมีคำตอบปม “ประสิทธิ์ เจียวก๊ก” หนี
- ประสิทธิ์ เจียวก๊ก อมลูกกุญแจไปศาลก่อนพยายามหนี ล่าสุดถูกย้ายไปคุกบางขวาง
- เปิด! รูปแบบโกง 'ประสิทธิ์ เจียวก๊ก' ลงทุนทัวร์ ทอง กองทุน กระเป๋าแบรนด์เนม สหกรณ์
อย่างไรก็ตาม จำเลยบางรายได้ต่อสู้คดีว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด โดยบางรายอ้างว่าได้ลาออกจากบริษัทแล้วในขณะที่จำเลยบางรายอ้างว่าเป็นเพียงลูกจ้างหรือเลขาไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิด หรือเป็นผู้ซื้อทองมาร่วมลงทุน จึงพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 5 6 7 8 9 พิพากษายกฟ้องแต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์
ทั้งนี้ อธิบดีศาลได้มีความเห็นแย้งเนื่องจากเห็นว่าจำเลยทั้งเก้ารายมีพฤติการณ์และหลักฐานที่เชื่อได้ว่าร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นตัวการร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มีการกระทำเป็นขบวนการ และความสัมพันธ์ใกล้ชิดเชื่อมโยงกับนายประสิทธิ์ และบริษัทไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำของจำเลยจึงเห็นว่าจำเลยทั้งเก้ามีความผิดตามฟ้อง