"โหวตนายก" หมอพรทิพย์ ส.ว.เคลื่อนไหวโพสต์สื่อความหมาย เลือก พิธา หรือไม่

"โหวตนายก" หมอพรทิพย์ ส.ว.เคลื่อนไหวโพสต์สื่อความหมาย เลือก พิธา หรือไม่

โหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ที่มีแคนดิเดตคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส่องโพสต์หนึ่งในสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ หรือ หมอพรทิพย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวล่าสุด

13 กรกฎาคม 2566 "โหวตนายกรัฐมนตรี"คนที่ 30 ที่มีแคนดิเดตคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส่องโพสต์หนึ่งในสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ หรือ หมอพรทิพย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวล่าสุด ชี้ "ขอทำหน้าที่ให้ดีที่สุด"

สำหรับ หมอพรทิพย์ ได้เคยออกมาพูดถึงประเด็น "โหวตนายก" ในรายการโหนกระแสทางช่อง 3 เมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมาว่า ยังไม่มีคำตอบชัดเจนว่าจะโหวต หรือ ไม่โหวต ให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

ล่าสุด หมอพรทิพย์ ได้โพสต์ข้อความผ่าน ig ระบุว่า "ทั้งชีวิตก็เลือกทำงานรับใช้แผ่นดิน ผ่านมาหลากหลายรัฐบาล ปากว่ารักชาติ รักแผ่นดินกันทั้งนั้น วาระนี้คงเป็นวาระกรรมจัดการ จะขอทำหน้าที่ให้ดีที่สุดจนกว่าชีวิตจะหาไม่"

 

 

หมอพรทิพย์ เคลื่อนไหวต่อมาว่า ที่สุดก็ไม่มีคำอธิบายว่าทำไมต้องแก้มาตรา 112 แต่ยิ่งชัดเจนว่า ยืนยันจะแก้ไขแน่นอน ที่สำคัญพรรคต่างๆที่ทำข้อตกลงร่วมกันก็ยอมให้ พรรคก้าวไกล เสนอแก้มาตรา 112 ได้ การเมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมอจึงได้คำตอบว่าปิดสวิชตามหลักการเดิม และปิดตลอดไปจนกว่าจะหมดวาระ

1.หลักการของประชาธิปไตย คือการเลือกตั้งให้ได้พรรคการเมืองมาบริหารบ้านเมืองให้สังคมมีความยุติธรรม คำนึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม ความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่การดำเนินการตามนโยบายของพรรคที่ได้เสียงสนับสนุนหรือเสียงข้างมากเป็นหลักแม้นโยบายจะทำลายชาติ

 

2.การเลือกตั้งในครั้งนี้มีการกระทำที่ขัดหลักการประชาธิปไตยในประเด็นสำคัญคือการห้ามผู้สมัครใช้อำนาจผ่านสื่อที่ตัวเองเป็นเจ้าของหรือมีหุ้นเอาเปรียบพรรคอื่นๆ เพียงแต่กฎหมายไทยไม่ได้แก้ไขให้ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การชนะในครั้งนี้คือการใช้สื่อโซเชียล ปลุกระดม ให้ข้อมูลเท็จบ้างจริงบ้างและให้ใช้สื่อละเมิดผู้อื่นที่เรียกว่าด้อม บูลลี่ ตามด่า

รวมทั้งการสร้างอวตารเข้าทำอันตรายในทุกช่องทางสื่อสารส่วนตัวด้วยเพราะตัวบทกฎหมายตามไม่ทัน จนกลายเป็นการสร้างความขัดแย้งรุนแรงและแสดงถึงการไม่ยอมรับความเห็นต่าง

3.รัฐธรรมนูญเป็นบทบัญญัติที่มนุษย์ร่วมกันตกลงเขียนขึ้นไม่ใช่หลักธรรมะ จึงอาจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแล้วแต่มนุษย์จะตกลง และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้มาตามครรลองประชาธิปไตยคือผ่านการลงประชามติ การทำหน้าที่ของสวจึงเป็นไปตามบทบาทที่กำหนด

4.ประเด็นสำคัญที่ ส.ว. ติดใจคือการขอแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งจากการหาเสียงมีแนวทางที่กระทบสถาบันพระมหากษัตริย์ กลุ่มที่สนับสนุนสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งล้วนแสดงกิริยาให้ร้ายต่อสถาบัน มีการสนับสนุนให้หมิ่นประมาทตั้งแต่สถาบันพระมหาษัตริย์ไปจนถึงประชาชนคนธรรมดาแปลกที่ว่าที่นายก ไม่ตอบ ไม่อธิบาย แต่ตอบว่าต้องรักษาคำพูด ทั้งๆชี้แจงว่าเขาเป็นผู้นำที่รู้จักรุกและถอย แต่เรื่องนี้ไม่ตอบไม่อธิบายรายละเอียดใดๆ และไม่ยอมถอย

5.สิ่งสำคัญที่สุดคือหน้าที่ของทุกคนรวมทั้งสวคือหน้าที่รักษาชาติ หากอ้างประชาธิปไตย อ้างเสียงสนับสนุน 14 ล้านเสียง ว่าต้องรักษาประชาธิปไตยแต่ชาติจะล่มสลาย คงไม่สามารถปล่อยได้