'จุฬาฯ-สจล.' แถลงการณ์ประณาม ส.ว.ใช้อำนาจไม่เป็นธรรม จี้โหวต 'พิธา' นายกฯ
'จุฬาฯ-สจล.' ออกแถลงการณ์ประณาม ส.ว. ใช้อำนาจไม่เป็นธรรม เรียกร้องให้พิจารณาชื่อ 'พิธา' เป็นนายกฯอีกครั้ง ให้น้อมรับฉันทามติประชาชน หวั่นมีการตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ชะลอการพัฒนาประเทศ
เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะกรรมการ/สโมสรนิสิต 16 คณะ และ สโมสรนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ออกแถลงการณ์ประณามการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เรียกร้องให้พิจารณารับรองนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เนื่องจากหวั่นเกิดรัฐบาลเสียงข้างน้อย ซึ่งจะชะลอการพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกันได้มีการส่งจดหมายเปิดผนึกถึง 4 สมาชิกวุฒิสภาให้น้อมรับฉันทามติของประชาชน อันเป็นแนวทางของประชาธิปไตย อันเป็นอุดมการณ์แห่งสถาบันด้วย โดยรายละเอียดทั้งหมด มีดังนี้
สืบเนื่องจากวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 รัฐสภาได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี โดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เป็นผู้เดียวที่ได้รับเสนอชื่อ ผลปรากฎว่า สมาชิกรัฐสภาได้ลงคะแนนเสียงเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งจำนวน 324 เสียง ลงคะแนนเสียงไม่เห็นชอบจำนวน 182 เสียง และงดออกเสียงจำนวน 199 เสียง ซึ่งในจำนวนผู้งดออกเสียงนั้นมี 159 เสียงมาจากสมาชิกวุฒิสภา โดยการลงคะแนนเสียงเห็นชอบที่กล่าวมานั้นไม่เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา เป็นเหตุให้ไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 272 ส่งผลให้ประชาชนสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันเป็นผลพวงจากการทำรัฐประหารในปีพุทธศักราช 2557 โดยมิได้ยึดโยงกับประชาชน แต่กลับสามารถขวางกั้นฉันทามติของประชาชนได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับ 7 พรรคการเมือง รวมคะแนนเสียงกว่า 27 ล้านเสียงนั้นไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งตามหลักประชาธิปไตยสากลที่วิญญูชนพึงยึดถือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ย่อมมีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคติพจน์ประการหนึ่งที่นิสิตทุกคนพึงระลึกและยึดถือเป็นเครื่องเตือนใจเสมอว่า “เกียรติภูมิจุฬาฯ คือ เกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” อันบ่งบอกถึงความภูมิใจของนิสิตจุฬาฯ ที่ได้นำความรู้ความสามารถไปรับใช้สังคม
สำหรับสมาชิกวุฒิสภาที่จบการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ การลงคะแนนเสียงในครั้งนี้คือโอกาสอันสำคัญยิ่งที่จะแสดงเจตนารมณ์ซึ่งสะท้อนถึงอุดมการณ์แห่งสถาบันที่ได้เล่าเรียนมา เนื่องด้วยท่านเป็นผู้ที่เคารพฉันทามติของประชาชนอย่างแท้จริง เหมาะสมซึ่งการเป็นผู้มีจริยธรรม เคารพในหลักการประชาธิปไตยรับใช้ประชาชน และคงไว้แห่งเกียรติภูมิจุฬาฯ
สุดท้ายนี้ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอประณามการกระทำของสมาชิกวุฒิสภาที่ลงมติขัดต่อเจตจำนงของประชาชน และเรียกร้องให้ท่านยอมรับและเห็นชอบให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้รวบรวมเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริง อันเป็นการคืนความปกติแก่ระบอบประชาธิปไตย สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในชาติและนานาอารยประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยเดินต่อไปข้างหน้าอย่างสง่างาม
“พึงระลึกว่า อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย”
นอกเหนือจากการประณามการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมของสมาชิกวุฒิสภาแล้ว องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะกรรมการ/สโมสรนิสิต 16 คณะ ยังส่งจดหมายเปิดผนึกถึงสมาชิกวุฒิสภาที่ศึกษาต้านนิเทศศาสตร์หรือประกอบวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ เรื่อง“ขอพิจารณาลงมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองที่รวมเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อันดับหนึ่ง หรือลาออกจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา”
โดยเรียนถึงสมาชิกวุฒิสภา คือ 1.) คุณคำนูณ สิทธิสมาน คุณชาตอุดม ติถสิริ คุณนิพนธ์ นาคสมภพ และ 2.) คุณสุรสิทธิ์ ตรีทอง ระบุว่า สืบเนื่องจากการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมวลซน เนื่องจาก คุณพิชา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลในฐานะพรรคการเมืองที่รมเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เป็นอันตับหนึ่งไม่ได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ขณะเดียวกัน ประชาชนต่างรู้ดีว่าสมาชิกวุฒิสภา คือตัวแปรที่สามารถสนองฉันทามติของประชาชนได้ผ่านการเห็นชอบ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่น่าเสียดายที่มีสมาชิกวุฒิสภาเพียง 13 ท่านที่ลงมติตามฉันทามติมวลชน และสมาชิกวุฒิสภาอีก 1 ท่านที่ลาออกจากตำแหน่ง
คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภาทั้ง 4 ท่าน ไต้แก่คุณคำนูณ สิทธิสมาน,คุณชาตอุดม ติถสิริ,คุณนิพนธ์ นาคสมภพและคุณสุรสิทธิ์ ตรีทองในฐานะสมาชิกวุฒิสภาที่ศึกษาด้านนิเทศศาสตร์หรือประกอบวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ ลงมติให้ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566
เนื่องจากเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่านิเทศศาสตร์คือวิชาสื่อสารไปยังมวลชน ตามคำจำกัดความของ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์ เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่เคยมอบไว้เมื่อครั้งก่อตั้งคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดังนั้น สมาชิกวุฒิสภาทั้ง 4 ท่านจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องน้อบรับฉันทามติของมวลชนด้วยการลงมติให้ผู้ถูกเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีที่มาจากเสียงของมวลชนได้ดำรงตำแหน่งที่สมควร หรือมากไปกว่านั้น หากสมาชิกวุฒิสภาสามารถลาออกจากตำแหน่งเช่นเดียวกับ คุณเรณู ตังคจิวางกูร อดีตสมาชิกวุฒิสภา เพื่อลดจำนวนเสียงกึ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับจากสมาชิกวุฒิสภาได้ จะถือว่าเป็นการสนองฉันทามติของมวลชนอย่างแท้จริง เพื่อเป็น
ตัวแทนของผู้ศึกษาต้านนิเทศศาสตร์หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ทั่วประเทศได้แสดงให้สังคมเห็นว่า นิเทศศาสตร์ยังคงเป็นศาสตร์ที่ใช้องค์ความรู้รับใช้สังคม นำพาประเทศชาติไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้
แต่หากท่านสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 4 ท่านยังคงฝ่าฝืนฉันทามติของมวลชน คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะถือว่าการกระทำของท่านสมาชิกวุฒิสภาจักเป็นที่น่าอับอายสำหรับบุคลากรด้านนิเทศศาสตร์ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้เคารพฉันหามติของมวลชน เพื่อคงไว้ซึ่งเกียรติภูมิของนิเทศศาสตร์ คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้าน สโมสรนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง “มติไม่เห็นชอบให้นายพิชา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1”
โดยระบุว่า จากการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 โดยมีวาระการประชุมที่ (๕) เรื่องที่เสนอใหม่ คือ “พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา ๒๗๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” โดยผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นต้องมีคะแนนเสียงมากกว่า 375 เสียงหรือมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
สมาชิกทั้งหมดเทำที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 วรรคสาม ซึ่งมติที่ประชุมรัฐสภามีมติไม่เห็นชอบให้นายพิธา สิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี
สโมสรนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาภายในคณะเรื่อง “การเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ในวันที่ 13 ก.ค. 66” จากแบบสำรวจตังกล่ว นักศึกษาภายในคณะ มีความเห็นตรงกันว่า สมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ควรเคารพเสียงของประชาชนที่เลือกพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งมากที่สุด หรือ 14,438.851 คน หรือ 36.5% ของผู้ที่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งพรรคก้าวไกลได้เสนอบัญชีนายกฯ คือ นายพิชา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่สมาชิกวุฒิสภากลับไม่เคารพเสียงของประชาชนโดยการลงมติไม่เห็นชอบ 34 เสียง และงดออกเสียง 159 เสียง จากสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 249 คน จึงทำให้คะแนนเสียงน้อยกว่า 375 เสียงหรือน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฏร
การกระทำของสมาชิกวุฒิสภาลังกล่าวเป็นการชัดขวางการดำเนินของระบอบประชาชิปไตย อันอาจเป็นการสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลเสียงช้างน้อย ซึ่งมีผลทำให้เกิดการหยุดชะงักในการพัฒนาประเทศ
สโมสรนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จึงขอเรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณา นายพิชา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 ในวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2566