ประเดิมงานนายกฯ 'เศรษฐา' รับแก้ปัญหาวินมอเตอร์ไซค์ ลุยพัฒนาแพลตฟอร์มทำงาน
ประเดิมงานนายกฯ 'เศรษฐา' รับปัญหา 'วินมอเตอร์ไซค์' มุ่งแก้ไขเศรษฐกิจ ขอพัฒนาแพลตฟอร์มทำงาน ย้ำให้ความสำคัญ ขอโอกาสทำงาน 'สุริยะ' เสนอตั้งคณะกรรมการแก้ไขฯ ให้นายกฯร่วมด้วย
เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 2566 เวลา13.00 น. ที่พรรคเพื่อไทย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง พร้อมด้วย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับตัวแทนผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ในกรุงเทพมหานคร จำนวนกว่า 100 คน นำโดย นายเฉลิม ช่างทองมะดัน นายกสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย เพื่อพูดคุยประเด็นปัญหาการให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง การเข้าถึงการใช้บริการของประชาชน ผ่านแอพพลิเคชั่น และราคาค่าน้ำมันที่สูงขึ้น
โดยนายเฉลิม กล่าวว่า พวกเราต้องเผชิญถึงความไม่มั่นคงทางอาชีพ และสวัสดิการทางสังคม มีหลายอย่างที่อยากเสนอให้รัฐบาลสนับสนุน ทั้งการสนับสนุนการใช้รถจักรยานยนต์แบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อต่อสู่กับแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีความไม่เป็นธรรม หากรัฐเพิกเฉยจะส่งผลกระทบทั้งผู้ประกอบอาชีพ ผู้โดยสาร และผู้ใช้ถนนทั่วไป จึงมีข้อเรียกร้องเชิงนโยบายเข้ามา 5 ประเด็น คือจัดระเบียบรถจักรยานยนสาธารณะ ให้มีจุดจอดรถที่มีความชัดเจนสวยงาม มีสาธารณูปโภคพื้นฐานเข้ามาดูแลผู้ประกอบอาชีพ เปิดให้มีการซื้อขายสิทธิ์ขับรถจักรยานยนต์รับจ้างอย่างถูกต้อง ให้ผู้มีอายุเกิน 60 ปีสามารถประกอบอาชีพได้ต่อ หากไม่กระทบผู้โดยสาร สนับสนุนกองทุนเพื่อประกอบอาชีพ พัฒนาการประกอบอาชีพให้เข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ สนับสนุนให้ใช้จักยานยนต์พลังงานทดแทน เพื่อลดรายจ่ายด้านเชื่อเพลิงและรักษาสิ่งแวดล้อม สนับสนุนแอปพิเคชั่นที่เป็นของจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะให้มีโอกาสแข่งขันกับเอกชน และการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพเช่นกำหนดเขตประกอบอาชีพที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันเพิ่มพูดประสิทธิภาพการขนส่งที่เหมือนเส้นเลือกฝอยของเมือง
ขณะที่นายเศรษฐา กล่าวว่า ทราบกันดีวินมอเตอร์ไซต์ มีความเดือดร้อน รัฐบาลมีภารกิจเยอะตั้งแต่รับตำแหน่งอย่างไม่เป็นทางการ ตนเดินทางรับฟังปัญหามาตลอด วันนี้มาคุยกับวินมอเตอร์ไซต์ จึงอยากบอกว่าเราให้ความสำคัญ เพราะถือเป็นเส้นเลือกฝอยเป็นตัวเชื่อมให้เศรษฐิกจพัฒนาไปได้ หากถูกเอารัดเอาเปรียบ เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแล
นายเศรษฐา กล่าวอีกว่า สำหรับจุดจอดวินจักรยานยนต์ มีหน่วยงานเกี่ยวข้องเยอะทั้งกทม. กระทรวงคมนาคม ตำรวจ เห็นใจที่ไม่จุดให้บริการณ์เป็นจุดเดียวในการแก้ปัญหา รัฐบาลต้องคอยอำนวยความสะดวกตนทราบปัญหาดี ส่วนเรื่องอายุเกิน 60 ปีเป็นเรื่องที่แก้ไม่ยาก แต่ต้องมีเรื่องการตรวจสุขภาพให้สามารถทำงานได้ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งการซื้อรถมอเตอร์ไซต์ได้ และสวัสดิการของคนที่เลิกอาชีพต้องมีประกันสังคมมาช่วยเหลือหรือไม่ เราต้องดูให้ครบทุกภาคส่วนทั้ง ซึ่งการเข้าถึงแหล่งทุน จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยจะคุยให้กับธนาคารออมสินเข้ามาดูแล จะดูเรื่องการกู้รถมาประกอบอาชีพ โดยจะไปคุยให้เป็นพิเศษ เรื่องแอปที่ใช้เรียกรถ ต้องมีแอปที่ทุกคนใช้ได้หมด ไม่ให้ผู้ประกอบการเสียเปรียบแอปจากต่างประเทศ หากมีแอปกลางที่มีราคากลางไม่มีการเอาเปรียบ บังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมจะเป็นเรื่องดี ซึ่งอยากให้มีเจ้าภาพหน่วยงานเดียวเข้ามาแก้กฎหมาย
นายเศรษฐา กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องอนาคตรถมอเตอร์ไซไฟฟ้า มีวิธีการทำหลายแบบ หากต้องซื้อรถใหม่จะก่อภาระหนี้สิน จะไปคุยว่ามีวิธีการไหนหรือไม่ที่ไม่ต้องซื้อรถแต่เป็นการให้ใช้รถแล้วแบ่งรายได้กันเพื่อจะได้ไม่ต้องลุงทุน และเราไม่ต้องคอยทุกเรื่องอะไรช่วยกันได้เราจะทำทันที อย่างเรื่องพัฒนาแอปตนจะไปตามเรื่องตามที่ผู้ประกอบการระบุได้คุยกับจุฬาลงกรฯไว้แล้วว่าเรื่องอยู่ตรงไหน ยืนยันเราเห็นความสำคัญ ฤดูหาเสียงหมดแล้วเราไม่ได้หาเสียงเราจะแก้ปัญหาจริงจัง ขอความกรุณาเราทราบซึ่งถึงความเหน็ดเหนื่อน ความท้อ ขอให้ให้เวลากับเรานิดหนึ่ง อยากขอโอกาสให้ผู้บริหารข้าราชการขอบคุณครับ ที่มาวันนี้
ส่วนนายสุริยะ กล่าวว่า นายกฯให้ความสนใจอย่างมากกับผู้ประกอบการรถสาธารณะ รัฐบาลอยากยกระดังให้ทุกอาชีพมีรายได้เพิ่ม และจากการรับฟังปัญหาของมอเตอร์ไซร์รับจ้างเกี่ยวกับหลายกระทรวงจึงเสอนนายกฯให้ตั้งคณะธรรมงาน และให้นายกฯเข้ามาอยู่ในนี้ด้วย ตนก็จะได้เข้าร่วมตลอด หาปัญหาที่แท้จริงเมื่อมีความขัดเจนจะได้เร่งแก้ปัญหาทันที