"รัฐบาล​"จ่อปรับรัศมีใช้เงินดิจิทัลบางพื้นที่ สัญญาไม่แตะเงินกองทุน

"รัฐบาล​"จ่อปรับรัศมีใช้เงินดิจิทัลบางพื้นที่ สัญญาไม่แตะเงินกองทุน

"นายกฯ" ลุกชี้แจงต่อรัฐสภา หลังถูกซักถามหลายประเด็น รับข้อเสนอปรับรัศมีใช้เงินดิจิทัล บางจังหวัด-พื้นที่ ย้ำคงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้าน "รมช.คลัง" แจงไม่คิดใช้เงินจากกองทุน ดันนโยบายแจกเงิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 17.35 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ชี้แจงต่อที่ประชุมรัฐสภา วาระแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา  เป็นครั้งแรกหลังจากที่ได้แถลงรายละเอียดไปก่อนหน้านี้ หลังจากที่มีสมาชิกรัฐสภา อภิปรายยและตั้งคำถามในหลายประเด็น เช่น แหล่งที่มาของงบประมาณที่จะใช้ในนโยบายเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท, การลดราคาพลังงาน, ลดค่าไฟฟ้า,  การปราบปรามผู้อิทธิพล มาเฟีย นักค้ายาเสพติด, การพักหนี้เกษตรกร โดยมีสาระสำคัญระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์  ขณะที่ประเด็นเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ตนั้น ตนตระหนักดีในกการอภิปรายว่าในพื้นที่ชนบท ระยะทางที่จะใช้ 4 กิโลเมตร นั้นอาจไม่เพียงพอ ซึ่งรัฐบาลจะขอดูรายละเอียดและปรับหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ในบางพื้นที่ อย่างไรก็ดีในเรื่องของระยะเวลา 6 เดือนนั้นรัฐบาลจะไม่เปลี่ยน เพราะมองว่าจำเป็นต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น และเป็นการกระตุ้นครั้งใหญ่ ซึ่งให้ความสำคัญมาก

 

“มีบางคนบอกว่า ยกเลิกการใช้รัศมี 4 กิโลเมตร แต่ผมมองว่าเศรฐกิจภูมิภาคต้องการกระตุ้น หากมีถิ่นฐานจังหวัดใด ควรกลับไปใช้ที่นั่น และมีเวลาใช้ 6 เดือน หากกลับบ้านเพื่อให้สถาบันครอบครัวแข็งแรง ถือเป็นเรื่องดี ดังนั้นระยะเวลาที่ใช้จะคงไว้ แต่บางจังหวัดหรือเขตจะขยายรัศมีหรือไม่ ต้องพิจารณาอีกครั้ง” นายเศรษฐา ชี้แจง

นายเศรษฐา ชี้แจงด้วยว่าสำหรับการพักหนี้ของเกษตรกร ยอมรับว่าโดย 9 ปีที่ผ่านมา พบการพักหนี้ 13 ครั้ง และไม่ใใช่กการแ้กปัญหาอย่างยั่งยืน ดังนั้นรัฐบาลจึงมีมาตรการหลายอย่าง เช่น เพิ่มรายได้ให้เป็น 3เท่า ภายใน4 ปี รวมถึงใช้นวัตกรรมนำ ควบคู่กับมาตรการพักหนี้ เพื่อให้เกษตรกรฟื้นฟูตนเอง มีกำลังใจแก้ปัญหา การพักหนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน

 

นายกฯชี้แจงด้วยว่าสำหรับการผลักดันการท่องเที่ยว คือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ในระยะสั้นเพื่อนำเงินเข้าประเทศ โดยตั้งเป้าให้ภาคท่องเที่ยวสร้างรายได้ 3ล้านล้านบาทต่อปี ขณะที่นโยบายค่าแรงขั้นต่ำจะปรับโดยเร็วที่สุดตั้งเป้าว่าจะทำให้โตเฉลี่ย 5% ใน 4 ปี เป็นวันละ 600 บาท รวมถึงเงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท

 

“การลดค่าใช้จ่ายพลังงาน มั่นใจว่าทำให้ค่าพลังงานต่ำลงได้  และจะคงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เป็นประโยชน์กับประชาชน การมีอยู่ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดินจัดสรรให้ประชาชนสร้างประโยชน์ทำกิน ขณะที่ ส.ป.ก. หรือที่ของหน่วยงานราชการ ต้องพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม  เพื่อให้ประชาชนมีที่ดินทำกินอย่างมีศักดิ์ศรี  รัฐบาลต้องดูแลให้เหมาะสมทุกมิติ ทั้งภาคเกษตรอุตสาหกรรม อุปโภคบริโภค และทำให้สมดุลกับระบบนิเวศน์ รวมถึงเร่งแ้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กพื้นที่ภาคเหนือ ต้องเร่งทำโดยเร็ว “นายเศรษฐา ชี้แจง

นายกฯ ชี้แจงทิ้งท้ายอีกว่ากการดำเนินการจะไม่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก รวมถึงต้องพัฒนาเรื่องอื่นๆ ตามขีดจำกัดของงบประมาณที่ทำได้  ส่วนคำถามเรื่องทุจริต รัฐบาลให้ัความสำคัญ กับความโปร่งใส ใช้ดิจิทัลมากขึ้นเพื่อลดทุจริตประพฤติมิชอบ

 

ขณะที่ นายจุลพันธุ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ชี้แจงยืนยันว่านโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ใช่นโยบายเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่มองว่าภาวะเศรษฐกิจต้องมีนโยบายกระตุ้น ซึ่งหลักคิดสำคัญ กระตุ้นไปยังชุมชนทั่วภูมิภาคอย่างทั่วถึง ด้วยกลไกบล็อกเชนเพื่อกำหนดกรอบใช้จ่ายเงินที่ในกระเป๋าดิจิทัลได้ นอกจากนั้นมีหลักสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อให้อนาคตประชาชนมีกระเป๋าเงินสด และเงินดิจิทัล สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ไทยเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

 

 

“แหล่งที่มาของงบประมาณ ได้พูดคุยหลากหลาย ขอให้ระวังในการอภิปรายและเสนอความเห็น อย่าชี้นำ เพราะกระบวนการที่อภิปรายในสภาฯ อาจกระทบความเชื่อมั่น ความเชื่อถือกรอบวินัยการเงินการคลัง   ซึ่งรัฐบาลยึดมั่นกรอบวินัย จะไม่แตะงบในส่วนของกองทุนวายุภักดิ์ บำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กองทุนสำรองระหว่างประเทศ หรือ กองทุนประกันตน  ไม่แม้แต่จะคิด  กระบวนการนั้นขอเวลาตรวจรายละเอียดและเดินหน้าโครงการ ซึ่งจะมีความชัดเจนทั้งงบประมาณ กรอบงบประมาณและการใช้คืนงบประมาณ ไม่กระทบหนี้สาธารณะ ไม่กู้เพิ่มแน่นอน” นายจุลพันธุ์ กล่าว

 

นายจุลพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ไม่เลือกปฏิบัติว่าทุนใหญ่หรือร้านสะดวกซื้อเข้าร่วมไม่ได้ เป็นสิทธิของประชาชนในการเลือกกิจกรรม แต่รัฐมีนโยบายเพื่อจูงใจให้การใช้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้พบว่ามีประชาชนรวมกลุ่มเพื่อนำเงินไปต่อยอดอาชีพ และสร้างประโยชน์ชุมชน ซึ่งล้ำหน้าไปกว่าที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งจะสามารถแตกยอดความคิด และเม็ดเงินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การรวมเงินเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตเกษตรกรรมที่มีต้นทุนสูง จะเกิดการสร้างรายได้ใหม่ และแชร์ลิ่งของสินทรัพย์ การซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น