ฉบับเต็ม! คุก 9 ปี ‘นิพนธ์’ คดีรถซ่อมบำรุงทาง ยื่น 2 แสนได้ประกัน ห้ามออกนอก ปท.
ศาลอาญาคดีทุจริตฯกลาง พิพากษาคุก 9 ปี ‘นิพนธ์ บุญญามณี’ เมื่อครั้งนั่งเก้าอี้นายก อบจ.สงขลา ปมละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ไม่อนุมัติจ่ายเงินค่ารถซ่อมบำรุงทาง 2 คัน 50.8 ล้านบาท เจ้าตัวยื่น 2 แสนบาท ได้ประกันชั้นอุทธรณ์ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2566 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาจำคุก 9 ปี แก่นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีต รมช.มหาดไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา กรณีถูกกล่าวหาว่า ละเว้นไม่อนุมัติจ่ายเงินค่ารถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ จำนวน 2 คัน เป็นเงิน จำนวน 50,850,000 บาท แก่บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด โดยศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจำนวน 10 นัด รวมระยะเวลาตั้งแต่วันฟ้องถึงวันอ่านคำพิพากษาเป็นเวลา 1 ปี 23 วัน
ล่าสุด นายนิพนธ์ ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นอุทธรณ์ ตีราคาประกัน 2 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
สำหรับคำพิพากษาฉบับเต็มจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ระบุว่า คดีระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กับนายนิพนธ์ บุญญามนีกรณีละเว้นไม่อนุมัติจ่ายเงินค่ารถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ จำนวน 2 คัน เป็นเงินจำนวน 50,850,000 บาท แก่บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยจนกว่าจะมีคำพิพากษา ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ และขอให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของจำเลยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 1- ปี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 93 วรรคสอง
ชั้นรับฟ้อง จำเลยลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565 ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง จึงไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำพิพากษาและให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลย ตามการไตสวนแล้ว ปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ดำเนินการไต่สวนตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2561 และวินิจฉัยแล้วเสร็จวันที่ 17 กันยายน 2563 เกิน 2 ปี ไม่ชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 48, 192 เห็นว่าในส่วนที่เกี่ยวกับเวลาการดำเนินคดีนั้น มีสองกรณี คือ ระยะเวลาดำเนินการตามมาตรา 48 กรณีหนึ่ง และระยะเวลาฟ้องคดีตามมาตรา 79 วรรคแปด อีกกรณีหนึ่ง ซึ่งทั้งสองกรณีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ต่างกัน
กล่าวคือ ระยะเวลาในการดำเนินการมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ในแต่ละชั้นตอนของการดำเนินการได้ดำเนินการไต่สวนหรือวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นตามกรอบระยะเวลา เนื่องจากพฤติการณ์และมูลแห่งคดีเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานและบุคคล อีกทั้งอาจจะต้องปฏิบัติการอันสำคัญที่เกี่ยวกับคำสั่ง สัญญาและทรัพย์สิน อันเป็นมูลแห่งการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยผู้ที่มิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จเพราะเหตุศาลอาญากทุจริตและประพฤติมิชอบกลางจงใจปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อ ผู้นั้นจะต้องถูกพิจารณาสอบสวนและดำเนินการลงโทษระยะเวลาในการดำเนินการจึงมิใช่เรื่องอำนาจฟ้อง ส่วนอายุความนั้นมีวัตถุประสงค์โดยนิตินโยบายของรัฐเพื่อคุ้มครองจำเลยและรักษาพยานหลักฐานให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล
อีกทั้งหากเป็นพยานบุคคลก็จะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงความถูกต้องแม่นยำในการให้ข้อมูลหรือเบิกความต่อศาล จึงกล่าวได้ว่าอายุความมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองจำเลยและเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อันแตกต่างอย่างชัดแจ้งกับระยะเวลาในการดำเนินการที่มีวัตถุประสงค์กำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานของผู้มีหน้าที่ไต่สวนและมีความเห็นหรือวินิจฉัยเรื่องที่มีการกล่าวหา ดังนั้น มาตรา 48 วรรคห้า ตอนท้าย และมาตรา 77 วรรคแปดตอนท้าย จึงได้กำหนดให้การไม่ปฏิบัติตามภายในกรอบระยะเวลาดำเนินการด้วยเหตุจงใจ ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจะต้องถูกพิจารณาสอบสวนและดำเนินการลงโทษ
ส่วนการฟ้องคดีนั้นเป็นไปตามมาตรา 48 วรรคห้าตอนแรก และมาตรา 72 วรรคแปดตอนแรก บัญญัติสาระสำคัญว่า ภายใต้กำหนดอายุความ เมื่อพ้นระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้แล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังคงมีหน้าที่และอำนาจที่จะดำเนินการไต่สวนหรือมีความเห็นหรือวินิจฉัยหรือดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป และการฟ้องคดีย่อมกระทำได้ถ้าได้พ้องภายในอายุความ ทั้งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2561 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2561 อันเป็นวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเมื่อวันที่7 มีนาคม 2561 โดยชอบอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 45 ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ใช้บังคับจึงเป็นอันใช้ได้ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มิได้บัญญัติกำหนดเวลาการไต่สวนและมีความเห็นหรือวินิจฉัยไว้ดังเช่น มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ประกอบกับเหตุตามฟ้องเกิดเมื่อวันที่ 18ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2562 และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 57ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี มีอายุความสิบห้าปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (2)
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 เป็นการฟ้องภายใต้กำหนดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อมาว่า โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของจำเลยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 93 วรรคสองหรือไม่
เห็นว่า แม้โจทก์จะแจ้งข้อกล่าวหา รวบรวมพยานหลักฐานและไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ก็ดี ที่ประชุมโจทก์ ในการประชุมครั้งที่ 109/2563 วันที่ 19 กันยายน 2563 ได้มีมติให้ส่งรายงาน สำนวนการไต่สวนเอกสารหลักฐาน สำเนาอิเล็กทรอนิกส์ และคำวินิจฉัยไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 91 (1) ตามคำวินิจฉัยเอกสารหมาย จ.1 หน้า 97/4 ถึง 99/5 เป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 192 พ.ศ. 2547 แล้ว ผู้ขายอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อได้นับแต่วันที่จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มอบอำนาจให้ผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการโอนทะเบียนแทนผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2556
ส่วนที่จำเลยทำหนังสือองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ที่ สข 51007/5922 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ถึงกรรมการผู้จัดการบริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ให้ผู้ขายทำการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิค และจะได้ดำเนินการจดทะเบียนรถใหม่กับกรมการขนส่งทางบกต่อไปตามเอกสารหมาย จ.59นั้นหนังสือก็มีข้อความยอมรับว่าคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับรถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ จำนวน 2 คัน ไว้เป็นการถูกต้องตามสัญญาซื้อขายเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 จำเลยก็มิได้ แจ้งถึงเหตุคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยมิชอบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 64 หรือปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาปฏิบัติราชการแทนโดยไม่มีอำนาจและไม่มีผลผูกพันจำเลย หรือมีข้อร้องเรียนว่าผู้ขายอาจกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
ประกอบพฤติการณ์ที่จำเลยยืนยันว่าผู้ขายต้องทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคอีกครั้งก่อนจะดำเนินการจดทะเบียนตามเอกสารหมาย จ.59 ยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากผู้ขายทำหนังสือฉบับที่ 1 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการตรวจรับพัสดุและการเบิกจ่ายเงินว่าผู้ขายส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อโดยเรียบร้อยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขอให้พิจารณาดำเนินการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกตามเอกสารหมาย จ.58 และหนังสือฉบับที่ 2 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 ถึงจำเลย ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 15 และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ขอให้เร่งรัดการดำเนินการโอนทะเบียนและเบิกจ่ายเงินตามเอกสารหมาย ศ.1 และ ศ.2 และ
เจือสมกับเหตุที่นายอิทธิพล ผู้กล่าวหาพยานโจทก็เดินทางไปขอพบจำเลยที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และกล่าวอ้างว่านายสุวิทย์ จิตบรร จง เลขานุการโดยตำแหน่งของจำเลย และนายถึก เลขาส่วนตัวของจำเลยเรียกค่าดูแลการดำเนินการร้อยละ 1- ส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่อ้างเหตุร้องเรียนการประมูลซื้อรถชอมบำรุงทางอเนกประสงค์ และจังหวัดสงขลาให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอันอาจมีกรณีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542เป็นมูลเหตุไม่ดำเนินการจ่ายเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงินการฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547
ล้วนเป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยภายหลังจากวันที่ 18 ตุลาคม 2556 และจำเลยปฏิบัติหน้าที่สั่งการให้ทดสอบหรือตรวจสอบในทางเทคนิคโดยมิชอบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 64 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ลงนามมอบอำนาจให้ผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการโอนทะเบียนแทนผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 6 ตามเอกสารหมาย จ.54 และ จ.56 และเป็นผลโดยตรงต่อการไม่ดำเนินการเบิกจ่ายระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ข้อ 47 และข้อ 64 แล้วข้ออ้างในทำนองว่ารักษาประโยซน์ของทางราชการจึงมีพิรุธขาดความน่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่สั่งการให้พดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคและละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ไม่มอบอำนาจให้ผู้ขายดำเนินการโอนทะเบียนให้กับผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 22/6556 วรรคหนึ่งตอนท้ายแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติเป็นสาระสำคัญว่า เว้นแต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีมติให้ดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ประกอบกับคำขอเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของจำเลยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปีเป็นมาตรการจำกัดสิทธิในทางการเมืองตามมาตรา 81 ประกอบ 93 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มิใช่โทษในทางอาญาสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิด โจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของจำเลยและเพิกถอนสิทธิเสือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปี ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ข้อต่อสู้ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่ เห็นว่า ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การฝากเงินการเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ข้อ 47 การซื้อเช่าทรัพย์สิน หรือจ้างทำของ ให้หน่วยงานผู้เบิกรีบดำเนินการวางฎีกาเบิกเงินโดยเร็วอย่างช้าไม่เกินห้าวันนับจากวันที่ได้ตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานถูกต้อง ข้อ 6. วรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าหน่วยงานคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจฎีกา ข้อ 62 ฎีกาที่ตรวจถูกต้องแล้วตาม ข้อ 6.ให้หัวหน้าหน่วยงานคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบหมายนำเสนอผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ที่บริหารท้องถิ่นมอบหมายเป็นผู้อนุมัติฎีกา และข้อ 64 การอนุมัติฎีกาเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของ ในกรณีที่ไม่มีเหตุทักท้วง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามวันทำการนับถัดจากวันรับฎีกา ในกรณีที่มีเหตุทักท้วงให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามวันทำการนับถัดจากวันที่ผู้เบิกได้แก้ไขถูกต้องแล้ว
แม้โจทก์ไม่มีฎีกาซึ่งหัวหน้าหน่วยงานคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินนำเสนอจำเลยพิจารณาเป็นหลักฐาน คงมีเพียงบันทึกส่วนราซการ ฝ่ายจัดหาพัสดุและทรัพย์สิน กองพัสดุและทรัพย์สิน ลงวันที่ 26มีนาคม 2556 (ที่ถูก 2557) เสนอจำเลยว่า ผู้ขายจดทะเบียนรถใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 6กุมภาพันธ์ 2557 กองพัสดุและทรัพย์สินได้ส่งเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายให้กองช่างตามหนังสือลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 และผู้ขายมีหนังสือลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 แจ้งว่ายังไม่ได้รับการเบิกจ่ายเงินเสนอจำเลยเพื่อทราบตามเอกสารหมาย จ.69 ก็ดี พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยเห็นควรยื่นแบบคำขอจดทะเบียนรถใหม่แก่สำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลา และมอบอำนาจให้ผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการโอนทะเบียนแทนผู้ซื้อ และลงนามหนังสือถึงขนส่งจังหวัดสงขลาตามเอกสารหมาย จ.65และ จ.66
แสดงให้เห็นว่าจำเลยรู้ข้อเท็จจริงดีว่าผู้ซื้อมีหน้าที่มอบอำนาจให้ผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการโอนทะเบียนแทนผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 22/2556 ข้อ 6 เอกสารหมาย จ.50 ก่อนดำเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และรู้ว่า คณะกรรมการตรวจรับพัสดุเห็นว่าการตรวจรับพัสดุนั้นมีปริมาณและคุณภาพถูกต้องครบถ้วนรับพัสดุไว้แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุลงบัญชีครุภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับทำใบตรวจรับพัสดุฉบับลงวันที่ 9 ตุลาคม 6556 มอบให้แก่ผู้ซื้อเป็นหลักฐานประกอบการขอรับเงินตามสัญญาและระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 แล้ว ผู้ขายอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อได้นับแต่วันที่จำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มอบอำนาจให้ผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการโอนทะเบียนแทนผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2556
ส่วนที่จำเลยทำหนังสือองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ที่ สข 51007/5922 ลงวันที่ 18 ธันวาคม2556 ถึงกรรมการผู้จัดการบริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ให้ผู้ขายทำการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิค และจะได้ดำเนินการจดทะเบียนรถใหม่กับกรมการขนส่งทางบกต่อไปตามเอกสารหมาย จ.59นั้นหนังสือก็มีข้อความยอมรับว่าคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับรถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์จำนวน 2 คัน ไว้เป็นการถูกต้องตามสัญญาซื้อขายเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 จำเลยก็มิได้แจ้งถึงเหตุคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโดยมิชอบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 64 หรือปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาปฏิบัติราชการแทนโดยไม่มีอำนาจและไม่มีผลผูกพันจำเลย หรือมีข้อร้องเรียนว่าผู้ขายอาจกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
ประกอบพฤติการณ์ที่จำเลยยืนยันว่าผู้ขายต้องทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคอีกครั้งก่อนจะดำเนินการจดทะเบียนตามเอกสารหมาย จ.59 ยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากผู้ขายทำหนังสือฉบับที่ 1 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการตรวจรับพัสดุและการเบิกจ่ายเงินว่าผู้ขายส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อโดยเรียบร้อยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขอให้พิจารณาดำเนินการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกตามเอกสารหมาย จ.58 และหนังสือฉบับที่ 2 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2556 ถึงจำเลย ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบพิเศษภาค 15 และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ขอให้เร่งรัดการดำเนินการโอนทะเบียนและเบิกจ่ายเงินตามเอกสารหมาย ศ.1 และ ศ.2 และ
เจือสมกับเหตุที่นายอิทธิพล ผู้กล่าวหาพยานโจทก็เดินทางไปขอพบจำเลยที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และกล่าวอ้างว่านายสุวิทย์ จิตบรร จง เลขานุการโดยตำแหน่งของจำเลย และนายถึก เลขาส่วนตัวของจำเลยเรียกค่าดูแลการดำเนินการร้อยละ 1- ส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่อ้างเหตุร้องเรียนการประมูลซื้อรถชอมบำรุงทางอเนกประสงค์ และจังหวัดสงขลาให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอันอาจมีกรณีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542เป็นมูลเหตุไม่ดำเนินการจ่ายเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงินการฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ล้วนเป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยภายหลังจากวันที่ 18 ตุลาคม 2556 และจำเลยปฏิบัติหน้าที่สั่งการให้ทดสอบหรือตรวจสอบในทางเทคนิคโดยมิชอบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 64 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ลงนามมอบอำนาจให้ผู้ขายเป็นผู้ดำเนินการโอนทะเบียนแทนผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 6 ตามเอกสารหมาย จ.54 และ จ.56 และเป็นผลโดยตรงต่อการไม่ดำเนินการเบิกจ่ายระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ข้อ 47 และข้อ 64
แล้วข้ออ้างในทำนองว่ารักษาประโยซน์ของทางราชการจึงมีพิรุธขาดความน่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่สั่งการให้พดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่มอบอำนาจให้ผู้ขายดำเนินการโอนทะเบียนให้กับผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 22/6556
ข้อ 6 เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิซอบตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 64 (4) มีเจตนาโดยตรงเพื่อประวิงเวลาให้ผู้ขายไม่สามารถดำเนินการโอนทะเบียนและไม่สามารถรับการชำระเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขายและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ
ข้อต่อสู้อื่นๆ ของจำเลยเกี่ยวกับการกระทำอันอาจมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 เป็นมูลเหตุจูงใจภายหลังการกระทำความผิดของจำเลยดังกล่าวแล้ว และไม่ได้เป็นเหตุที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งผู้ขายในขณะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่สั่งการให้ทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่มอบอำนาจให้ผู้ขายดำเนินการโอนทะเบียนให้กับผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เลขที่ 22/6556 ข้อ 6 ตั้งแต่ต้นจึงไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้มีผลคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยนั้น เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราซการ และไม่ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยตรงจึงเห็นสมควรเพิกถอนเฉพาะสิทธิ สมัครรับเลือกตั้งของจำเลย
อนึ่ง ภายหลังการกระทำความผิด ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 7 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 157 และให้ใช้อัตราโทษใหม่แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) จำคุก 9 ปี และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของจำเลยมีกำหนดเวลา 5 ปี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 81 ประกอบมาตรา 93 วรรคสอง คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก