'สภาฯ' ถกญัตติด่วนแก้น้ำท่วม จี้ 'รัฐบาล' ปรับระบบเตือนภัยฉุกเฉิน

'สภาฯ' ถกญัตติด่วนแก้น้ำท่วม จี้ 'รัฐบาล' ปรับระบบเตือนภัยฉุกเฉิน

สภาฯ เสนอญัตติด่วน ส่ง "รัฐบาล" แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก -เร่งเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมปรับระบบเตือนภัยฉุกเฉิน - ปรับผังเมืองใหม่พร้อมเร่งเยี

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ์ สันดิภาดา รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม พิจารณาญัตติด่วน เรื่องขอให้สภาฯพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้โดยด่วน เพื่อส่งให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป มี 3 ญัตติ เสนอโดยนายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย นายสัญญา นิลสุพรรณ สส.นครสวรรค์ พรรครวมไทยสร้างชาติ และนายคริษฐ์ ปานเนียม สส.ตาก พรรคก้าวไกล 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการอภิปรายของ สส.​ที่เสนอญัตติ รวมถึง สส. ที่อภิปรายได้เสนอประเด็นปัญหาน้ำท่วมทั้งที่เป็นปัจจุบันใน พื้นที่ จังหวัดภาคเหนือ เช่น จ.สุโขทัย เป็นต้น นอกจากนั้นยังเสนอความเห็นให้รัฐบาลแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อื่นๆ เช่น จังหวัดภาคอีสานด้วย เพราะมักจะเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก แม้จะไม่ได้เกิดในช่วงปัจจุบัน

ทั้งนี้ นายธีระชัย อภิปรายว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลังเตรียมเดินทางไปจ.อุบลราชธานี และจ. ยโสธร ในวันที่ 6 ต.ค.นี้ เพื่อหาทางป้องกัน ซึ่งน้ำท่วมเป็นผลมาจากย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านประเทศไทย 

 

ด้านนายสัญญา อภิปรายว่า น้ำท่วมหนักในตอนนี้คือที่จ. สุโขทัย และกำลังจะไหลลงมาที่พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และนครสวรรค์ โดยผ่านแม่น้ำ ปิง วัง ยม นาน ลงเจ้าพระยา จึงอยากให้พิจารณาพื้นที่รับน้ำที่อ.ชุมแสง และบางส่วนของอ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ เพราะต้องยอมรับว่าถ้าไม่เก็บกักน้ำ

 

"ผมขอให้รัฐบาลเตรียมการช่วยเหลือ ทั้งถุงยังชีพ เรือที่ใช้สัญจรในพื้นที่ แม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยเหลืออยู่ แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะต้องรับน้ำ 2-3 เดือน  หากรัฐบาลเตรียมการไว้ประชาชนจะได้รับผลกระทบน้อยลง รวมถึงหลังน้ำลดตลิ่งก็ทรุดไปด้วยก็ต้องแก้ปัญหาและทำให้เป็นรูปธรรมก็จะเป็นประโยชน์มาก ซึ่งแต่ละโครงการก็มีการศึกษาไว้หมดแล้ว" นายสัญญา กล่าว

จากนั้นสมาชิกได้อภิปรายเห็นด้วยกับญัติดังกล่าว พร้อมเสนอแนะให้มีการเตือนภัยว่าช่วงใดเกิดเหตุน้ำท่วม นอกจากผ่านเฟสบุ๊ก หอกระจายข่าย เสียงตามสายผ่านผู้นำชุมชน คงไม่เพียงพอ จึงขอเรียกร้องให้มีการเตือนภัยและภัยพิบัติต่างๆ ไปยังประชาชนทุกคน โดยตรงผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ “Cell Broadcast”และเห็นว่าพื้นที่ไหนที่น้ำท่วมควรประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ เพื่อรับรองว่าหลังน้ำลดประชาชนจะได้รับการเยียวยา และเร่งสำรวจวางผังเมืองใหม่ 

หลังสมาชิกอภิปรายเสร็จสิ้น สภาฯจะส่งความเห็นและข้อเสนอแนะไปให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป