กอ.รมน. ชำแหละ พ.ร.บ.ยุบ กอ.รมน. ผิดหลักการ 'รอมฎอน-กัณวีร์' เมินร่วมฟัง
กอ.รมน. ชำแหละ พ.ร.บ.ยุบ กอ.รมน. ก้าวไกล ผิดหลักการ ไร้หลักฐานชี้ชัด ทหารมีอำนาจเหนือพลเรือน งานซ้ำซ้อน ยันปัจจุบันไม่มีการตั้งงบลับแล้ว ส่วน "รอมฎอน-กัณวีร์" เมินร่วมฟัง
7 พ.ย.2566 น.ที่อาคารรื่นฤดี กอ.รมน.(ส่วนกลาง) กอ.รมน.จัดงานเสวนา “พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551” เพื่อชี้แจงการวิพากษ์วิจารณ์ ในสังคมที่ไม่เข้าในในบทบาทหน้าที่ภารกิจการจัด รวมถึงตอบข้อสงสัยกรณีพรรคก้าวไกลที่ผลักดันเสนอร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2551 พ.ศ….
โดยมี พล.อ. ดร. นพนันต์ ชั้นประดับ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก พล.ท. ดร. ดนัยวัฒนา รุ่งอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก น.ส. ชลธนสรณ์ พิสฐศาสน์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (สมช.) ร่วมชี้แจงและ ถ่ายทอดงานเสวนาผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเร้นไปยัง กอ.รมน.จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อนำไปสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจบทบาท กอ.รมน.ตรงกัน และยังเชิญนายรอมฎอน ปันจอร์ สส.พรรคก้าวไกล ที่เสนอร่างกฎหมายยุบ กอ.รมน.และนายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเป็นธรรม มาร่วมฟังเสวนาด้วย แต่ทั้งสองคนไม่ได้มาเข้าร่วม
โดยมีประเด็นที่ชี้แจง 8 ประเด็น คือ1ความชัดเจนของร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2551 พ.ศ…. 2.หลักการจัดหน่วยงานความมั่นคงเปรียบเทียบ 3.การใช้ทหารสนับสนุนรัฐบาลความมั่นคงภายในประเทศและการปฎิบัติสากล 4.หลักการอำนาจพลเรือเหนือทหาร
5.หลักการตรวจสอบถ่วงดุลตามระบอบประชาธิปไตย 6.หลักความซ้ำซ้อนองค์การและการปฎิบัติ 7.งบลับแสนล้านที่ผิดหลักการวิชาการและข้อเท็จจริง
โดย พล.อ. ดร. นพนันต์ ชั้นประดับ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก กล่าวตอนหนึ่งว่า ในประเด็นที่ 1 การเสนอร่างพ.ร.บ.ยกเลิก กอ.รมน.ที่เสนอโดย สส.พรรคก้าวไกล นั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าต้องการยุบด้วยสาเหตุใด ทั้งที่ กอ.รมน. มีบทบาทหน้าที่ชัดเจนตามกฎหมาย ไม่ได้ซ้ำซ้อน ส่วนการจัดอัตรากำลังพลเป็นโครงสร้างผสม ทหารพลเรือน แบ่งอัตราอย่างชัดเจน ดังนั้นการเสนอร่าง ยุบ กอ.รมน.ผิดหลักการ และข้ามขั้นตอนการปรับปรุงหน้าที่ภารกิจของส่วนราชการ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและหลักการจัดองค์การสากล ไม่มีมีข้อมูลเชิงประจักษ์ ชี้ให้เห็นว่าอำนาจทารเหนือกว่าพลเรือน ที่จะนำไปสู่การยุบ กอ.รมน. ที่สำคัญหากมองว่าการจัด กำลัง กอ.รมน.มีความซับซ้อนและซ้ำซ้อนนั้น ไม่จำเป็นต้องยกเลิก พ.ร.บ.แต่สามารถแก้ระเบียบในฝ่ายบริหารเช่น ในที่ประชุม ครม.
พร้อมมองว่า หลักการจัดหน่วยงานความมั่นคงเปรียบเทียบ ย้ำว่าหลักการจัดหน่วยงานความมั่นคงเปรียบเทียบและการปฎิบัติ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีองค์กรทและหลักสากล ที่ส่วนใหญ่หัวหน้าฝ่าบริหารเป็นหุวหน้าหน่วยงานฝ่ายวามมั่นคง ส่วนการยุบ กอ.รมน.ไปรวมกับ สมช. ก็คือการย้ายทั้งหน่วยไปเหลี่ยนต้นสังกัดซึ่งขัดต่อหลักการจัดองค์การ และการยุบ ดอ.รมนง แล้วรัฐบาลจะมีงบ 7,700 ล้านบาท ไปใช้ เป็นเรื่องเท็จ เพราะงานยังอยุ่ เพียงแต่เปลี่ยนงบจาก กอ.รมน. ไปอยู่ที่ สมช.
ขณะที่ พล.ท.ดร.ดนัยวัฒนา รุ่งอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ย้ำว่าการทำงานของ กอ.รมน.ทำงาน คนเดียวไม่ได้ อยากสำเร็จต้องมีกองอำนวยนวยการร่วมทำงานแบบ บูรณาการ การทำงานแบบเดิมไล่ตามแก้ปัญหาแต่วันนี้ พร้อมที่จะรับมือปัญหาใหม่ คาดการณ์ล่วงหน้าได้
ทั้งนี้ พลตรีวินธัย สุวารี โฆษก กอ.รมน.ระบุว่า บทบาทและงบประมาณของกอ.รมน.เน้นในเรื่องความมั่นคงภาคใต้ และปัญหาความมั่นคงที่กลไกปกติแก้ไขไม่ได้ เช่น ปัญหายาเสพติด ป่าไม้ ซึ่งต้องทำงานอย่างบูรณาการ และใช้เวลา พร้อมย้ำว่า ปัจจุบันงบลับไม่มีแล้ว แม้งบประมาณจะมีหมวดนี้บรรจุไว้ แต่ปัจจุบันไม่ได้ตั้งงบประมาณในหมวดงบลับแล้ว
ขณะที่ นางสาวชลธนสรณ์ พิสิฐศาสน์ ผู้อำนวยกองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช.เห็นว่า การจะยุบ กอ.รมน. หรือยกเลิกพระราชบัญญัติ กอ.รมน.ควรจะต้องมาพิจารณาก่อนว่า ปัญหาอยู่ที่ตัวกฎหมาย หรือสาระของกฎหมาย ซึ่งหากมีปัญหาที่กลไกใด ก็สามารถแก้ไขรายมาตราได้ หรือหากปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติ ก็ต้องกลับมาพิจารณาปัญหาในปัญหาที่ถูกต้อง
ผู้อำนวยกองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง สมช. ยังเห็นความสำคัญของ กอ.รมน.ที่มีหน้าที่ในการระงับยับยั้งภัยความมั่นคงของประเทศ ซึ่งภัยปัจจุบันมีพัฒนาการขึ้นมาต่างจากอดีต เช่นภัยคอมมิวนิสต์ ภัยสงคราม ภัยการก่อการร้าย ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเป็นภัยเศรษฐกิจ ภัยทางสังคม ที่มีพลวัตรสูงมาก และมีความรุนแรงสูงมาก ซึ่งปัญหาความมั่นคงเหล่านี้ จึงเป็นโจทย์ท้าทายว่า ควรจะออกแบบหน่วยงานความมั่นคง เพื่อสกัดกั้นภัยต่าง ๆ ได้ เพื่อไม่ให้สงผลกระทบต่อประเทศ และสังคม หรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไร
เพราะภัย ๆ หนึ่ง ไม่สามารถระบุชี้ชัดได้ว่า จะมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมารับผิดชอบได้หรือไม่ แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือ และหน่วยงานนั้น จะต้องทันต่อภัย มีความยืดหยุ่น ทำได้ทั้งในภาวะปกติ และไม่ปกติ โดยมีสายบังคับบัญชาสั้น และกระชับ ไม่เน้นระบบราชการปกติ และภัยรูปแบบใหม่ จะต้องอาศัยความร่วมมือ และการบูรณาการ หรือแม้แต่ในภาพกว้าง ภัย ภัยหนึ่ง ประเทศ ประเทศหนึ่ง ก็อาจไม่สามารถจัดการได้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ครบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อตอบสนองภัยได้อย่างรวดเร็ว และยังจะต้องอาศัยภาคประชาชน ดึงประชาชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความมั่นคง
จึงสะท้อนความจำเป็นจะต้องมี พ.ร.บ.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจัก หรือ จำเป็นจะต้องมี กอ.รมน.เพื่อตอบสนองภัยต่าง ๆ และมีเครือข่าย และ กอ.รมน.ยังเป็นหน่วยงานรูปแบบเฉพาะ มีความยืดหยุ่นกว่าหน่วยปกติ เพื่อตอบสนองภัยได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น หากคิดจะยุบ กอ.รมน. หรือจะไปตั้งหน่วยงานใหม่ ก็จต้องหาคำตอบว่า จะมีหน่วยงานใดที่สามารถประสานความร่วมมือในการภัยรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในการปฏิบัตินั้น สมช.เป็นเสมือนหน่วยงานในการทำหนดนโยบายสู่หน่วยงาน หรือประเด็นความมั่นคง แต่ สมช.เป็นหน่วยงานขนาดเล็ก และมีช่องว่างขาดการอำนวยการ ดังนั้น กอ.รมน.จึงถือเป็นข้อต่อโซ่ เชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานในการกำหนดนโยบาย และหน่วยงานเพื่อนำไปปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม