'อภิชาติ' จี้ ทุกหน่วยงานตรวจสอบ รถบรรทุกน้ำหนักเกิน เชื่อมีส่วยเอี่ยว

'อภิชาติ' จี้ ทุกหน่วยงานตรวจสอบ รถบรรทุกน้ำหนักเกิน เชื่อมีส่วยเอี่ยว

"ปธ.สหพันธ์ขนส่งทางบก" เชื่อ รถบรรทุกตกถนน มีเรื่องส่วยเกี่ยวข้อง จี้ทุกหน่วยงานเร่งตรวจสอบ ห่วงปล่อยให้รถบรรทุกเกินเข้ากรุงอันตราย โดยเฉพาะบนสะพาน

ที่รัฐสภา นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีรถบรรทุก ตกถนนบริเวณปากกซอยสุขุมวิท 64 /1 โดยเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากกการบรรทุกน้ำหนักเกิน ส่วนที่บริเวณหน้ารถมีสติกเกอร์รูปดาวสีเขียวติดอยู่ เชื่อว่าจะเป็นรถที่จ่ายส่วยเพื่อวิ่งนอกเวลาและบรรทุกน้ำหนักเกินแน่นอน  ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงเหตุที่เกิดบริเวณถนนราชปรารภ ตนสงสัยว่าทำไมเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยและอุบัติภัยเข้าไปดำเนินการ แต่ให้เจ้าของรถเป็นผู้ดำเนินการเองโดยอ้างว่ารถมีมูลค่าหลายล้านบาท

นายอภิชาติ  กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สติกเกอร์รูปดาวสีเขียวที่มีสัญลักษณ์ตัวบีติดอยู่ จะเป็นสติกเกอร์สำหรับรถบรรทุกขนวัสดุขนดินในไซด์งานก่อสร้างเข้าออกเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งในไซด์งานก่อสร้างจะไม่มีตาชั่งน้ำหนักสำหรับรถบรรทุก  ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา ตนได้พูดคุยกับนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าฯกทม.ว่านำรถบรรทุกไปช่างน้ำหนักที่ใด ตนจึงบอกว่าสามารถช่างได้ก่อนขึ้นทางด่วนจะมีด่านช่างน้ำหนักหากเกินจะไม่สามารถขึ้นทางด่วนได้ สิ่งที่เป็นห่วงที่สุดคือสะพานข้ามแม่น้ำในพื้นที่กทม. ไม่มีด่านช่างน้ำหนัก หากเกิดการชำรุดหรือเสียหายขึ้นมา ถือเป็นเรื่องที่อันตราย

นายอภิชาติ กล่าวเรียกรร้องให้ เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ กทม. ตำรวจ สิ่งแวดล้อม ตำรวจจราจรกลาง รับผิดชอบในกรณีที่เกิดขึ้น และขอให้นำภาพนิ่งและวิดิโอต่างๆ ที่บันทึกไว้ในจุดต่างๆ มาตรวจสอบ   

 
เมื่อถามว่าขณะที่รถบรรทุกบางส่วนสะท้อนว่าหากไม่บรรทุกเกินน้ำหนักก็อาจจะไม่คุ้มค่าการวิ่งงาน นายอภิชาติ กล่าวว่า สหพันธ์มีงบรถอยู่ 4-5 แสนคัน แต่ทำไมสามารถวิ่งได้โดยถูกกฎหมายตั้ง 20 กว่าปี ดังนั้นจึงอยู่ที่จิตสำนึกกับคุณธรรม ทั้งนี้คาดการณ์ปริมาณน้ำหนักดินที่รถบรรทุกเมื่อวานนี้เกิดอุบัติเหตุ มีหนักไม่น้อยกว่า 40 ตัน ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ 25 ตัน แต่หากเป็นรถพ่วงก็อยู่ที่ 50 ตัน ซึ่งรถพ่วงบางเจ้า ขนน้ำหนักเป็น 100 ตันก็มี ทำให้ผู้ประกอบการบางรายมองว่ากฎหมายใครทำผิดก็ได้อยู่ที่ว่าใครสามารถจ่ายให้เจ้าหน้าที่เท่าไหร่ 
       

“ผมมองว่า เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในที่เกิดเหตุต้องเป็นผู้ดำเนินการ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับไปบริการยกกรวย และให้บริการกับเจ้าของรถ ซึ่งต้องไปตรวจสอบ เชื่อว่าเรื่องนี้ยาวแน่ ไม่ใช่ EP เดียว น่าจะมีหลาย EP อยู่ที่ว่าจะจริงใจแก้ไขปัญหาหรือไม่ ซึ่งในการร่วมมือกับนายวิโรจน์ลักขณาอดิศร การแก้ไขปัญหาส่วนรถบรรทุก จนถึงตอนนี้ ยอมรับว่าปัญหาก็ยังมีอยู่แต่ไม่ใช่รูปแบบส่วยสติ๊กเกอร์ อาจจะเป็นการใช้บาร์โค้ด โดยรวบรวมทะเบียน ซึ่งผู้อำนวยการสอบสวนกลางได้กำชับ ว่าหากหน่วยงานไหนถูกจับด้วยหน่วยงานอื่น ก็จะถูกสั่งย้ายทันที”นายอภิชาติ กล่าว.