'เอกนัฏ' เร่งเจาะลึกงบฯฟื้นการลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โปร่งใส ตรวจสอบได้
"เอกนัฏ" พร้อมกมธ.งบประมาณพรรค เจาะลึกตัวงบฯเร่งฟื้นเม็ดเงินลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้
6 ม.ค.2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ กมธ. วิสามัญงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 บอกว่า งบฯปีนี้เร่งพิจารณาและใช้เพราะล่วงเลยมาเป็นเวลา 3 เดือนกว่าจะพิจารณาเสร็จปีงบประมาณในการใช้จะหายไปครึ่งหนึ่ง จะเหลือเวลาใช้ไม่ถึง 6 เดือน ตอนนี้เปรียบเหมือนเครื่องยนต์ 4 ตัวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การบริโภค การลงทุน การส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐ ดับไป 1 เครื่อง จึงต้องรีบฟื้นเครื่องนี้ ดันเม็ดเงินออกไปใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ /พยายามดูว่าในส่วนของงบฯลงทุน ที่ประเทศไทยตั้งงบฯขาดดุลเป็นเวลาเกือบ 20 ปี คือการตั้งงบประมาณไว้ใช้สูงกว่างบฯรายรับ ซึ่งส่วนต่างต้องมีการกู้เงินมาทุกปีทุกปี ด้วยความหวังว่าจะกู้มาลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างรายได้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เพราะฉะนั้น ตนได้อภิปรายไปแล้ว และเป็นสิ่งที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ จะดูว่างบฯลงทุนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ใช้อย่างโปร่งใสด้วย ซึ่งการดูงบฯไม่ใช่ดูแค่ยอดตัวเลข ร้อยบาท พันบาท ล้านบาท ร้อยล้านบาท เอาไปซื้ออะไรได้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูว่าเอาไปใช้ไปเติมเต็มภาคเอกชนที่จะช่วยสร้างรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไร นอกจากเนื่องจากตัวเลข ต้องดูถึงความโปร่งใส จะพยายามซักซ้อมกับหน่วยงานที่เข้ามาdefence งบประมาณใน กมธ.งบฯให้โปร่งใส ไม่เป็นเบี้ยหัวแตก ใช้แล้วมีประสิทธิภาพ รวมถึงกรมบัญชีกลาง ในเรื่องระบบต้องอัพเกรด ดึงให้ประชาชนมามีส่วนร่วม แบบ เรียวทาม ด้วย ไม่ใช่เปิดเข้าไปดูในออนไลน์ หรือ อิเล็กทรอนิกส์ แล้วเห็นแค่มีโครงการ มีเงื่อนไข มารู้อีกทีมีผู้ชนะแล้ว ไม่ได้มีส่วนร่วมของเข้ามาตรวจสอบ
โดยควรจะเห็นทุกขั้นตอน ว่ามีใครเข้ามาและชนะด้วยเงื่อนไขอะไร และจะดูว่าการใช้งบประมาณโดยเฉพาะของกระทรวง หรือ หน่วยงานที่เป็นหน้าที่หลัก ไม่ใช่หน่วยงานที่รับงบประมาณไปจัดซื้อจัดจ้าง มีหน้าที่กำกับดูแล เช่น กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ที่พรรครวมไทยสร้างชาติดูแล จะดูว่าการใช้งบประมาณมีการปรับแก้กฎระเบียบกติกาที่ใช้การกำกับดูแลไปด้วยหรือไม่ เช่น
กระทรวงพลังงานที่มี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศชัดเจนว่า ผลงาน ไม่เน้นการใช้เงิน แต่จะเกิดจากการแก้กฎหมายแก้กติกา รื้อโครงสร้างระบบใหม่ เพื่อที่จะลดต้นทุนพลังงาน ค่าไฟ ค่าน้ำมันให้กับผู้ประกอบการ และประชาชน เช่นเดียวกับ กระทรวงอุตสาหกรรม
ส่วนสุดท้าย สำหรับสมาชิกของพรรคคือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เราเชื่อว่าขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยความรัก ความสามัคคี ความปรองดอง จะดูว่างบประมาณชุดนี้จะถูกนำไปใช้ลดความเหลื่อมล้ำ เชื่อมโยงรอยแยกระหว่างความแตกแยกในสังคมหรือไม่ เพราะเชื่อว่าบ่อเกิดของความแตกแยกคือความเหลื่อมล้ำ ต้องดูสวัสดิการในเรื่องของการจัดสรร แจกจ่าย อย่างเท่าเทียม ให้โอกาส อย่างเป็นธรรมหรือไม่ เช่น สวัสดิการข้าราชการ การนำเงินไปแก้หนี้สินครัวเรือน ประกันสังคม การศึกษา การสาธารณสุข นำไปใช้ผ่านบัตรโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ เป็น 5 เรื่องที่ตัวแทนของพรรคไปทำหน้าที่
เมื่อถามว่า จะไม่ได้ดูแค่งบประมาณของพรรครวมไทยสร้างชาติ เราสามารถไปตัดหรือแนะในกระทรวงอื่นๆได้ด้วยหรือไม่ นายเอกนัฏ ระบุว่า ถูกต้องครับ การทำหน้าที่ของ กมธ.ก็เหมือนของสส.ในสภา ไม่มีคำว่าฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านนะครับ ทุกคนมีความรับผิดชอบเหมือนกันหมด เพราะงบประมาณฉบับนี้ พอผ่านออกก็เป็นเม็ดเงินนำไปใช้สำหรับคนไทยทั้งประเทศ หน้าที่ของกมธ.งบฯหรือสส.ต้องพิจารณาทุกกระทรวงทุกหน่วยงานทั้งฉบับนะครับ แต่เป็นหลักการดูในส่วน 5 เรื่อง โดยเฉพาะการปรับแก้กฎหมาย คือกระทรวงพลังงาน แต่ยังมีกระทรวงอื่นๆอีก ต้องมีการปรับแก้กฎระเบียบ
แต่พอถามถึงการปรับลดเวลาการทำยุทธศาสตร์ชาติ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายเอกนัฏ ระบุว่า ตนเองให้ความสำคัญกับการพิจารณางบประมาณมาก จะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม ถ้างบประมาณช้าไม่มีเม็ดเงินออกไป เศรษฐกิจประเทศเสียหาย ประชาชนเดือดร้อน แต่เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ ยอมรับว่าต้องมีในการบริหารประเทศ การใช้งบประมาณ ยุทธศาสตร์คือความต่อเนื่อง แค่วาทะกรรมเป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกส่งทอดมา ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่มองในการร้อยเรียงและต่อเนื่องต่อการทำงาน
ตนว่ามองแบบนั้นมากกว่า ส่วนวาทะกรรมตนว่าเป็นประเด็นการเมือง อย่างไรก็ตาม การแถลงงบประมาณจากที่ฟังนายกรัฐมนตรี ก็จัดตามยุทธศาสตร์ ตนมาว่าไม่มีปัญหาอะไร ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญ พรรคไม่ได้ให้ความสำคัญ เพราะการแก้ร่ายมาตราทำได้อยู่แล้ว แต่พรรคร่วมเดินหน้าตัวก็ภายในเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้แล้ว ตั้งแต่ก่อนร่วมรัฐบาล จะต้องไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 รวมไปถึง มาตรการป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบที่ถูกวางไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้