'วิลาศ' ยื่นนายกสภาวิศวกร ร้องสอบจรรยาบรรณวิศวกรมีส่วนสร้างรัฐสภาใหม่
'วิลาศ' ยื่นจดหมายถึงนายกสภาวิศวกร ร้องสอบจรรยาบรรณวิศวกรที่ดำเนินการก่อสร้าง 'รัฐสภา' แห่งใหม่ สุดอื้อฉาวสารพัด แต่ไม่มีใครรับผิดชอบแม้แต่คนเดียว
เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2567 ที่สภาวิศวกร นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต สส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ยื่นหนังสือถึงนายกสภาวิศวกร เมื่อ 16 กพ. 2567 ร้องเรียนให้สอบจรรยาบรรณวิศวกรต่าง ๆ ที่ร่วมทำหน้าที่ในการสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ที่ก่อให้เกิดปัญหา มากที่สุดในประวัติศาสตร์การก่อสร้างอาคารของรัฐ มีการให้ต่อเวลาได้ยาวนานที่สุด มีการใช้วัสดุก่อสร้างไม่ตรงตามรูปแบบและรายการมากที่สุดได้ขอให้สภาวิศวกรได้รวมรวมเป็นกรณีศึกษา เพื่อเป็นบทเรียนมิให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นอีก
โดยในหนังสือร้องเรียนดังกล่าวของนายวิลาศ ระบุว่า ขอเสนอให้สภาวิศวกรตั้งกรรมการศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างในประเทศไทยโดยนำโครงการก่สร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่เป็นกรณีศึกษา และตรวจสอบจรรยาบรรณของวิศวกรทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการก่อสร้างดังกล่าว
เรียน นายกสภาวิศวกร
ด้วยขณะนี้มีโครงการก่อสร้างของรัฐที่สำคัญโครงการหนึ่งคือ โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ สัญญาก่อสร้างมีกำหนดแล้วเสร็จ 900 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 แต่ขณะนี้นับถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ใช้เวลาก่อสร้างไปแล้ว 3,909 วัน ยังไม่มีการตรวจรับงาน ก่อให้เกิดปัญหาและเป็นตัวอย่างการก่อสร้างของประเทศไทยในอนาคต ฉะนั้นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นส่วนรวม จึงขอเสนอให้สภาวิศวกรตั้งกรรมการศึกษาปัญหาการก่อสร้างในประเทศไทย โดยเอากรณีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่เป็นกรณีศึกษา เพราะเป็นโครงการก่อสร้างโครงการหนึ่งที่มีปัญหามากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางกลางในการปฏิบัติและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้อีก ทั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาวิศวกรตามมาตรา 7(6) ความว่า "ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาด้านวิศวกรรมรวมทั้งด้านเทคโนโลขี" นอกเหนือจากการควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร โดยขอเสนอประเด็นเบื้องต้นที่ควรศึกษา ดังนี้
1. การก่อสร้างที่ใช้เวลามากกว่าสัญญาหลักถึงกว่า 4 เท่า ปัญหาเกิดจากอะไร และควรมีมาตราการป้องกันอย่างไร
2. การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ให้ผู้รับจ้างโครงการของรัฐแจ้งอุปสรรดการก่อสร้างสืบเนื่องจากการระบาดโควิด- 19 เพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาให้ความช่วยเหลือ แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 อีกครั้งโดยแจ้งว่าสัญญาที่ทำกับรัฐก่อนวันที่ 26 มีนาคม2563 และยังไม่มีการส่งมอบงานให้ปรับ 0% ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 รวม 827 วัน
อีกทั้งกรณีการก่อสร้างอาคารรัฐสภา ช่วงวันที่ 26 มีนาคม 2563 - 31 ชันวาคม2563 (ระยะเวลา 280 วัน) อยู่ในช่วงขยายเวลาครั้งที่ 4 กลับเอาจำนวน 280 วันที่เสมือนปรับ 09 อยู่แล้วไปนับต่อจากวันที่ 30 มิถุนายน2565 กลายเป็นปรับ 0% ถึงวันที่ 7 เมยายน 2566 เป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ อีกทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 นั้นสภาวิศวกรมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไร
3. โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภา เป็นการก่อสร้างที่มีการแก้ไขแบบมากที่สุดโครงการหนึ่งประมาณ 500รายการ ทำให้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเงินเพิ่มเงินลดอย่างมาก มีการกล่าวหาว่ามีการทุจริตในเรื่องเวลางานเพิ่มจะเพิ่มเงินมากกว่าความเป็นจริง แต่เวลาลดงานจะลดเงินน้อยกว่าความเป็นจริง จึงขอให้สภาวิศวกรตรวจสอบโดยสุ่มตัวอย่าง 2-3 รายการ เช่นกรณีผนังห้องประชุมกรรมาธิการ, กรณีดินถม, กรณีเปลี่ยนขนาดและชนิดหินปูทางเท้า ฯลฯ เป็นไปตามข้อกล่าวหาหรือไม่
4. มีกรณีการก่อสร้างหลายรายการที่ทำผิดแบบ อาจทำโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ แต่ต่อมาผู้ว่าจ้างตรวจพบจึงมีการแก้ไขสัญญาเพื่อให้สอดคล้องกับงานที่ทำไปแล้ว กรณีดังกล่าวทำได้หรือไม่ ควรจะมีมาตรการแก้ไขอย่างไร
5. ในพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างของรัฐทุกฉบับ จะมีข้อกำหนดเรื่องห้ามมีผู้รับเหมาช่วงเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง แต่โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาซึ่งมีหลายสัญญาและมีผู้รับจ้างหลายราย พบว่าเกือบทุกสัญญาใช้ผู้รับเหมาช่วงโดยไม่มีการแจ้งผู้ว่าจ้าง เห็นว่าควรมีมาตรการป้องกันและลงโทษอย่างเฉียบขาดหรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้มีข้อยืนยันจากวิศวกร 4 คน ซึ่งติดเชื้อ Covid-19 และเป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างนี้ ได้ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สภาผู้แทนราษฎรว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่แต่ไม่ได้ทำงานกับบริษัทผู้รับจ้าง
6. กรณีผู้ควบคุมงานและที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ส่อว่าอาจเอื้อประโยชน์กับผู้รับจ้าง ทำให้รัฐเสียหาย ควรมีมาตรการอย่างไร
7. ขอให้สภาวิศวกรตรวจสอบจรรยาบรรณของวิศวกรทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ทั้งในคณะกรรมการตรวจการช้าง, ผู้รับจ้าง, ผู้ควบคุมงาน, ที่ปรึกษาบริหารการก่อสร้างและอื่นๆ ว่าทำหน้าที่ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรหรือไม่ และพิจารณาดำเนินการตามข้อบังคับและข้อกฎหมายต่อไป
จากข้อเสนอเบื้องต้นดังกล่าว เห็นว่าบางเรื่องถึงแม้สภาวิศวกรจะไม่มีหน้าที่โดยตรง แต่ตามพระราชบัญญัติสภาวิศวกร พ.ศ.2542 มาตรา 7(6) เรื่องวัตถุประสงค์ของสภาวิศวกร และเพื่อประโยชน์กับประเทศชาติ ถ้าสภาวิศวกรในฐานะตัวแทนที่เป็นแหล่งรวมของบุคคลที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ด้านต่างๆมารวมกัน หากทำเป็นกรณีศึกษาวางแนวปฏิบัติกลางจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่างมาก