นิด้าโพล เผย ระบบราชการยุ่งยากซับซ้อน ทำประชาชนเบื่อหน่าย

นิด้าโพล เผย ระบบราชการยุ่งยากซับซ้อน ทำประชาชนเบื่อหน่าย

นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจ ความเห็นประชาชน มอง ระบบยุ่งยากซับซ้อน ทำประชาชนเบื่อหน่าย ส่วนความศรัทธาระบบราชการ ส่วนใหญ่ยังศรัทธา

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร  ?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-18 มีนาคม 2567 จากข้าราชการลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่างเกี่ยวกับความรู้สึกเบื่อของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐต่อระบบราชการไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง

โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ“นิด้าโพล”สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage
Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 97.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของข้าราชการลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับ

 

สาเหตุที่ทำให้รู้สึกเบื่อในระบบหรืองานราชการพบว่า

  • ร้อยละ 39.47 ระบุว่าขั้นตอนการปฏิบัติราชการที่มากมายและยุ่งยากซับซ้อน
  • ร้อยละ 31.53 ระบุว่าระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการร้อยละ 28.24 ระบุว่า เงินเดือนน้อย
  • ร้อยละ 22.44 ระบุว่า ตัวชี้วัดทั้งหล
  • ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โครงสร้างการปกครองหรือสั่งการตามลำดับชั้น
  • ร้อยละ 18.93 ระบุว่าการประสานงานที่ไม่เป็นระบบ
  • ร้อยละ 17.02 ระบุว่าการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงความดีความชอบและตำแหน่งที่สำคัญ
  • ร้อยละ 16.49 ระบุว่า การคอร์รัปชันในระบบราชการ
  • ร้อยละ 16.18 ระบุว่า เจ้านาย
  • ร้อยละ 15.73 ระบุว่าไม่เบื่ออะไรเลย
  • ร้อยละ 14.05 ระบุว่า เพื่อนร่วมงาน
  • ร้อยละ 11.07 ระบุว่าการทำงานแบบผักชีโรย่อหน้า
  • ร้อยละ 10.23 ระบุว่าการแทรกแซงของนักการเมืองผู้มีอิทธิพล
  • ร้อยละ 8.47 ระบุว่าลูกน้อง ร้อยละ 7.25 ระบุว่างานที่มีความเสี่ยงจะผิดกฎระเบียบ
  • ร้อยละ 6.41 ระบุว่าประชาชนที่ไม่เข้าใจในระบบงาน กฎระเบียบของราชการ

นิด้าโพล เผย ระบบราชการยุ่งยากซับซ้อน ทำประชาชนเบื่อหน่าย

ด้านความศรัทธาต่อระบบราชการไทย พบว่า

  • ร้อยละ 49.47 ระบุว่าค่อนข้างศรัทธา
  • ร้อยละ 22.52 ระบุว่าศรัทธามาก
  • ร้อยละ 21.53 ระบุว่า ไม่ค่อยศรัทธา
  • ร้อยละ 6.34 ระบุว่า ไม่ศรัทธาเลย
  • ร้อยละ 0.14 ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

การลาออก หรือการย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นของรัฐ พบว่า

  • ร้อยละ 63.04 ระบุว่า ไม่อยากลาออกและไม่อยากย้ายหน่วยงาน
  • ร้อยละ 14.89 ระบุว่า อยากลาออกจากหน่วยงานของรัฐ
  • ร้อยละ 13.44 ระบุว่าอยากย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นของรัฐ
  • ร้อยละ 8.32 ระบุว่าลาออก หรือย้ายหน่วยงานก็ได้
  • ร้อยละ 0.31 ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ