'ยุทธพร' เผย7ประเด็น ชงเป็นต้นร่าง ตรากม.นิรโทษกรรม

'ยุทธพร' เผย7ประเด็น ชงเป็นต้นร่าง ตรากม.นิรโทษกรรม

"อนุกมธ.ฯ" ชง 7 ประเด็น เป็นต้นร่าง ตรากม.นิรโทษกรรม เสนอ 3 ทางเลือกนิรโทษกรรมคดีอ่อนไหว กมธ.จ่อเคาะรูปแบบกก.อีกครั้ง ส่วน ม.112 กมธ.ยังเห็นต่าง

ที่รัฐสภา นายยุทธพร อิสรชัย ประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาและจำแนกการกระทำเพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ในกมธ.นิรโทษกรรม ให้สัมภาษณ์ถึงรายละเอียดของรายงานที่เสนอต่อกมธ. ว่า กมธ.เห็นชอบรายงาน ที่เสนอไว้  7 ประเด็น คือ

1.นิยามแรงจูงใจทางการเมือง

2. การจำแนกประเภทคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง 3 ประเภท คือ ในคดีหลัก คดีรอง และการกระทำในคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง

3. ทางเลือกที่จะได้รับนิรโทษกรรม ซึ่งเสนอ 3 ทางเลือก คือ  รูปแบบคณะกรรมการกลั่นกรองคดีที่จะได้นิรโทษกรรม รูปแบบการนิรโทษกรรมโดยไม่ใช้คณะกรรมการ แต่เป็นการใช้กฎหมายที่ยกเว้นความผิด และ รูปแบบผสมผสานและระหว่างการมีกรรมการกับการใช้กฎหมาย อาจเรียกว่าคณะกรรมการกลั่นกรองและติดตามการบังคับใช้พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม

นายยุทธพร กล่าวต่อว่า 

 

4.กลไกและกระบวนการในการนิรโทษกรรม ที่เกี่ยวกับทางเลือกว่าจะเลือกรูปแบบคณะกรรมการหรือไม่ ตั้งแต่การรับเรื่อง กลั่นกรอง ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือการตัดสินและการเยียวยา

5. ข้อเสนอว่าด้วยองค์ประกอบของคณะกรรมการนิรโทษกรรม ให้ประธานสภาสภาฯ เป็นประธานคณะกรรมการ มีนายกฯ หรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่เป็นรองประธาน 

6.มาตรการเยียวยา เน้นเรื่องศิษย์เป็นหลัก คืนสิทธิ์ให้กับบุคคลที่ได้รับการนิรโทษกรรม

และ 7. มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำและการเสริมสร้างความปรองดอง โดยไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลา เพราะเมื่อผู้ที่ได้รับการนิทรรศการแล้วจะถือว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความผิด แต่จะมีคณะอนุกรรมการที่ขึ้นมาทำหน้าที่ติดตามว่ามีการกระทำความผิดซ้ำหรือไม่ โดยมีวาระเพียง 2 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่กมธ.พิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เห็นชอบรายงานของอนุกมธ.ฯ แล้ว แหล่งข่าวจากกมธ. ระบุว่า ต่อไปจะพิจารณากำหนดประเด็นที่จะเป็นข้อสรุปของกมธ. ซึ่งเตรียมเสนอต่อสภาฯ ต่อไป โดยเฉพาะกรณีการกำหนดให้มีกรรมการกลั่นกรองคดีนิรโทษกรรม ว่าด้วยองค์ประกอบแบบใด และการกำหนดบัญชีแนบท้ายว่าควรมีหรือไม่ โดยรวมถึงข้อสรุปในกรณีการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 ด้วยว่าจะมีทิศทางเสนอให้สภาฯ พิจารณาอย่างไร เบื้องต้นยังมีความเห็นแย้งในกมธ. ว่าควรกำหนดให้รวมคดีความผิดมาตรา 112ด้วย แต่อีกฝั่งมองว่าควรเขียนกำหนดไว้เป็นเงื่อนไขว่า ไม่รวมความผิดมาตรา 112 ในการตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่สภาฯ จะดำเนินการหลังจากนี้.