'ปลัดกลาโหม' ยัน 'งบลับ'ใช้เท่าเดิม ตรวจสอบได้ เร่งปรับโครงสร้างกำลังพล

'ปลัดกลาโหม' ยัน 'งบลับ'ใช้เท่าเดิม ตรวจสอบได้ เร่งปรับโครงสร้างกำลังพล

"ปลัดกลาโหม" ยัน งบลับใช้เท่าเดิม ตรวจสอบได้ ส่วน เออลี่รีไทร์ ปีละ 200 ล้านบาท ใช้งบบุคลากรเหล่าทัพ เร่งปรับโครงสร้าง โอนย้าย แพทย์-พยาบาล เป็น ขรก.พลเรือนกลาโหม เผยยอดสะสมน้ำดิบ อ.ฝาง 16 ล้านลิตร

วันที่ 10 ก.ค.2567 ที่รัฐสภา พลเอกสนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวยืนยันถึงการใช้งบลับมีเท่าเดิมทุกปี ไม่มีการขอเพิ่มขึ้น และต้องผ่านสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพราะใช้หลักเกณฑ์ตรวจสอบการใช้เงิน ตั้งแต่ปี 2564

ส่วนการปรับลดกำลังพลเป็นนโยบายกระทรวงกลาโหม จะครอบคลุมไปถึง โรงเรียนที่ผลิตทหาร ต้องปรับลดลงตามลำดับและนำใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทน และเรื่องการปรับลดกำลังพล ร้อยละ 5 สำหรับนายพลตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ต้องลด 50% ซึ่งเคยชี้แจงไปแล้ว อยู่ในแผน การปรับปรุงโครงสร้างกองทัพ ปี 2561- 2571 ที่จะต้องลด มาครึ่งนึง ซึ่งทุกอย่างดำเนินการไปตามแผน โดยมีการปรับลดทุกปีและหลังปี 2571 ก็จะไปเข้าสู่สมุดปกขาวจะดำการต่อไปอีกในภาพรวม

ส่วนการเออลี่รีไทร์ จัดไว้ 3 ปี ปีละ 200 ล้านบาทซึ่งครม.อนุมัติไปแล้ว เป็นโครงการที่จะลดกำลังพล เนื่องจากเมื่อเออลี่ฯไปแล้ว ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญหรือตำแหน่งประจำจะปิดอัตรา  ส่วนเงิน 200 ล้าน อยู่ในงบบุคลากร ของกองทัพเอง 

ส่วนปรับข้าราชทหารเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม มาจาก แพทย์ พยาบาล บัญชีเภสัชกร เป็นต้น จะแยกออกมา เพื่อลดข้าราชการทหาร โดยจะดำเนินการ 2 แบบคือบรรจุใหม่โดยสำนักงานปลัดกลาโหม พึ่งบรรจุไป 8 ราย ซึ่งต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องมาปรับโครงสร้างใหม่ ที่จะมีข้าราชการพลเรือนกลาโหม เช่น โรงพยาบาลทหารจะต้องทำโครงสร้างแยกออกมาจะเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม สำหรับหมอพยาบาล ส่วนการบรรจุเข้าไปเพื่อความรวดเร็วสามารถโอนย้ายได้จากทหารเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมเมื่อโครงสร้างเสร็จ ซึ่งหากรับทดแทนใหม่อย่างเดียวใช้เวลานาน จึงจะดำเนินการอย่างเร็วที่สุด

พลเอกสนิธชนก ยังชี้แจงถึงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แบบรวมศูนย์ว่า รมว.กลาโหมแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้วเพื่อศึกษาในเรื่องนี้ ถือเป็นยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม อาวุธที่มีราคาแพงไม่สามารถผลิตหรือหาชิ้นส่วนภายในประเทศได้ และเป็นภูมิยุทธศาสตร์ภัยคุกคาม  จะคำนึงภัยคุกคามอำนาจกำลังรบของเพื่อนบ้าน แนวโน้มการเกิดสงครามเพื่อกำหนดออกมาให้เป็นยุทธศาสตร์ หากทำสำเร็จสัดส่วนงบประมาณจะไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนกำลังพล แต่จะขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ที่ถูกกำหนดผ่านคณะกรรมการของกระทรวงกลาโหม ในการที่จะชี้ว่า จะซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อะไร ในระยะ 3-5 ปี 

ส่วนบ่อน้ำมันฝางตั้งมา 70 ปี ประเมินมีน้ำมันใต้ดิน 50 ล้านบาร์เรล แต่ใน 70 ปีที่ผ่านมาดูดไป 16 ล้านบาเรล ปัจจุบันเก็บไว้เป็นน้ำมันดิบ  16 ล้านลิตร ซึ่งส่วนใหญ่ได้เป็นดีเซล มีมาตรฐานที่ไม่เทียบเท่าเอกชนใช้กับรถทหารและจำหน่าย สนับสนุนกองทัพบกในพื้นที่ภาคเหนือ

ส่วนเงินอุดหนุน 600 ล้านบาท 90% เป็นค่าจ้างเงินเดือน และมีลูกจ้างพนักงาน ถ้าเออรี่ ต้องใช้เงินก้อนนี้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องมีเสริมเอาไว้ หลักการคือลูกจ้างพนักงานต้องมีเงินอุดหนุน ส่วนกลางวิจัยและพัฒนาทางคณะกรรมการ โอนถ่ายธุรกิจกองทัพ หลายท่านเคยไปดูไม่ได้ปกปิด