เอฟเฟกต์ยุบ ‘ก้าวไกล’ เปิดศึก ‘พรรคร่วมรัฐบาล’

เอฟเฟกต์ยุบ ‘ก้าวไกล’ เปิดศึก ‘พรรคร่วมรัฐบาล’

คดียุบพรรคก้าวไกล สะเทือนถึงการเมือง ขั้วรัฐบาล ต้องจับตาการ แย่งตำแหน่งสำคัญ ทั้ง รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง และ เก้าอี้ฝ่ายบริหาร ที่ว่ากันว่าผูกโยงกับคดีถอดถอน "เศรษฐา"

KEY

POINTS

Key Point : 

  • ยุบ "พรรคก้าวไกล" สะเทือนถึง "พรรคร่วมขั้วรัฐบาล"
  • จับตา ศึกแย่งตำแหน่งสำคัญ ทั้ง เก้าอี้ รองประธานสภา คนที่หนึ่ง ซึ่งว่างอยู่
  • นาทีนี้ ว่ากันว่า "ภูมิใจไทย" ขอเก้าอี้ตัวนี้ แต่จะเป็นไปได้อย่างไร เมื่อโควตา รัฐมนตรี เต็มแล้ว
  • สิ่งที่คาดการณ์ คือ การเพิ่มเสียง สส. ผ่านการ ดูดสส.งูเห่าสีส้ม เพื่อหวังเป็นเครดิตในการเจรจา
  • ขณะเดียวกันยังมีประเด็นที่ต้องจับตา ในรายละเอียด ซึ่งเกี่ยวกับคดี ถอดถอน "เศรษฐา ทวีสิน" 
  • ที่งานนี้ ต้องจับตาการเปิดศึกภายในพรรคร่วมรัฐบาล

เอฟเฟกต์ “ก้าวไกล” ถูกตัดสินยุบพรรค ไม่ใช่สะเทือนเฉพาะการเมือง “ฝ่ายนิติบัญญัติ”เท่านั้น เพราะอย่างไรแล้ว ก้าวไกลยังคงดำรงสถานะ “ฝ่ายค้าน” และยังมีตำแหน่ง “ผู้นำฝ่ายค้าน” อยู่ในมือ

เนื่องจาก เป็นพรรคที่ ไม่มีใครเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาฯ รองประธานสภาฯ และมีจำนวน สส.มากสุดในบรรดาพรรคร่วม คือ 143 คน (เป็นตัวเลขซึ่งหัก สส.ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ซึ่งต้องคำพิพากษาให้ตัดสิทธิการเมือง หรือตายตกไปตามพรรคก้าวไกล จำนวน 5 คน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ชัยธวัช ตุลาธน เบญจา แสงจันทร์ สุเทพ อู่อ้น และอภิชาต ศิริสุนทร)

เอฟเฟกต์ยุบ ‘ก้าวไกล’ เปิดศึก ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ ขณะนี้ ตัวเลข สส.ของฝั่งฝ่ายค้าน ที่เหลืออยู่คือ 185 คน

ทว่าเกมอำนาจ ชิงบัลลังก์การเมืองไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะประเด็นการยุบพรรคก้าวไกล ถูกโยงเข้ากับคดีถอดถอน “เศรษฐา ทวีสิน” นายกฯ วันที่ 14 ส.ค. จากกรณีตั้ง “พิชิต ชื่นบาน” บุคคลที่มีประวัติด่างพร้อย และต้องลักษณะต้องห้ามให้เป็นรัฐมนตรี 

การ “ฝืนตั้ง” ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่ามีลักษณะต้องห้าม จึงเท่ากับว่า “เศรษฐา”ทำผิดจริยธรรม สส. และหากการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเห็นเป็นดังตามคำร้อง “นายกฯ” ที่ชื่อ “เศรษฐา” จาก “พรรคเพื่อไทย” ย่อมต้องพ้นไป

จากนั้นต้องหา “ตัวแทน” เข้ามารับบท “นายกฯ” แม้ว่าในฝั่งเพื่อไทยจะมั่นใจว่า ไม่มีอุบัติเหตุการเมืองกับ “เศรษฐา” แต่ถึงอย่างไร ก็ต้องลุ้นคดีนี้ในอีก 6 วันข้างหน้า

ย้อนมาดูเกมใน “สภาฯ” ที่พ่วงคดียุบพรรคก้าวไกล ไม่ได้มีผลกระทบแค่ 5 สส.ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น เพราะยังมีรองประธานสภาฯ “ปดิพัทธ์ สันติภาดา” สส.พิษณุโลก พรรคเป็นธรรม ที่เคยนั่งเป็นกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล ช่วงที่มีพฤติการณ์ตามประเด็นยื่นร้องยุบพรรค

เอฟเฟกต์ยุบ ‘ก้าวไกล’ เปิดศึก ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ เท่ากับว่า ตำแหน่งทางการเมืองที่ “พรรคร่วมรัฐบาล” ต้องเจรจาต่อรองกันใหม่ในสภาฯ มีอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง

ต่อประเด็นนี้ “วิสุทธิ์ ไชยณรุณ” ประธานวิปรัฐบาล ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ เพราะถือมารยาททางการเมือง ซึ่ง “หมออ๋อง-ปดิพัทธ์” ยังทำหน้าที่อยู่

ทว่า วงในการเมืองสภาฯ ถกกันว่าตำแหน่งรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่งควรเป็นของพรรคร่วมรัฐบาล อย่าง “พรรคภูมิใจไทย” เพราะ “เพื่อไทย” มี “พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน” สส.เชียงราย นั่งเก้าอี้นี้อยู่แล้ว 

อีกทั้ง ยังมองไปถึง “โควตาการเมือง” ที่พรรคภูมิใจไทย นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีเต็มโควตาแล้ว คือ “4 รมว.” และ “4 รมช.” โดยเป็นไปตามสัดส่วนที่ตกลงไว้ "10 สส.ได้ 1 เก้าอี้”

ขณะที่ “พรรคเพื่อไทย” ยามนี้ยังมีโควตา “รมว. 1 ตำแหน่ง” ดังนั้นหากสลับที่สลับทาง เพื่อไทยควรต้องได้สิทธินี้

แต่การเมืองไม่มีอะไรง่าย เมื่อมีปัจจัยแทรก คือการ “ดูด สส. งูเห่า” มาเติมเสียง สส.เพื่อขยายโควตา 

มีความเคลื่อนไหว ก่อนก้าวไกลถูกยุบ 30 สส.ก้าวไกล อาจจะย้ายไปซบพรรคร่วมรัฐบาล โดย สส.ฉะเชิงเทรา ก้าวไกล “จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์”ออกมาดักทางว่า มีการหว่านเงิน 30 ล้านบาท เพื่อเอาตัวไป

หากเป็นเรื่องจริง พรรคหรือคนที่จะทำแบบนั้นได้คือ “เงินต้องหนา” และมีอำนาจต่อรองการเมืองจริง 

นาทีนี้ พรรคที่ถูกจับตา จึงไม่พ้น ​“ภูมิใจไทย” และ “กล้าธรรม" ที่เพิ่งเปิดตัว และถูกมองว่าเป็นพรรคสำรองของ “ธรรมนัส พรหมเผ่า” ที่เตรียมพร้อม หากต้องแยกทางกับ “พลังประชารัฐ”   

เอฟเฟกต์ยุบ ‘ก้าวไกล’ เปิดศึก ‘พรรคร่วมรัฐบาล’ โดยตัวเลข สส.งูเห่า ที่ถูกเปิดเผยจาก แกนนำพลังประชารัฐ “ไผ่ ลิกค์” สายตรงธรรมนัส แย้มว่า “งูเห่าสีส้ม” จะมาไม่ต่ำสิบ

จึงมองเป็นอื่นไม่ได้ ว่าเหตุใดต้องวางเป้า “ไม่ต่ำสิบ” หากเทียบกับโควตารัฐมนตรี ที่ต้องใช้สัดส่วน 10 สส.ต่อ 1 เก้าอี้รัฐมนตรี

ขณะนี้ “ภูมิใจไทย” และ “พลังประชารัฐ" ในปีกพรรคกล้าธรรม โควตาฝ่ายบริหารเต็มแล้ว หากอยากได้เพิ่มต้องสอย สส.จากเพื่อนมาเติม 

ขณะที่ เก้าอี้รัฐมนตรี ว่างแค่ 1 ตำแหน่ง และหากนับรวมตำแหน่ง “รองประธานวุฒิสภา” คนที่หนึ่ง เท่ากับว่า จะมี 2 ตำแหน่งที่ว่างอยู่

ดังนั้น พรรคใดจะได้โควตาในฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารเพิ่มเติม ก็ขึ้นอยู่กับการต่อรองแลกเก้าอี้ ผ่านการเติมจำนวน สส.ในพรรค ซึ่งพรรคแกนนำอย่างเพื่อไทยยังยึดตามสูตรตั้งรัฐบาลเดิม

รวมถึงตำแหน่ง “รองประธานสภาฯ” คนที่หนึ่ง ที่เป็นการเจรจารอบที่ “ก้าวไกล” เข้าร่วมรัฐบาล และเมื่อจบไม่สวย จึงจำยอมต้องให้ “โควตาพิเศษ” แก่ “วันนอร์” จากพรรคประชาชาติ เข้ามาสยบศึก

ทว่า เมื่อฉากทัศน์การเมืองเปลี่ยนไป ต้องจับตาให้ดีว่า “ศึก”รอบนี้ จะมีทางออกแบบ “ยอมกันได้” หรือ “ต้องแตกหัก” จอดที่ป้าย เปลี่ยนพรรคร่วมรัฐบาล ที่ “พรรคสีฟ้า” ก็รอเสียบอยู่เช่นกัน.

เอฟเฟกต์ยุบ ‘ก้าวไกล’ เปิดศึก ‘พรรคร่วมรัฐบาล’