‘สงครามตัวแทน’ปิดสวิตช์2ผู้นำค่าย คุ้ยหุ้น‘นายกฯอิ๊งค์’-ขุดจริยธรรม‘บิ๊กป้อม’

‘สงครามตัวแทน’ปิดสวิตช์2ผู้นำค่าย  คุ้ยหุ้น‘นายกฯอิ๊งค์’-ขุดจริยธรรม‘บิ๊กป้อม’

‘สงครามตัวแทน’ปิดสวิตซ์ผู้นำ ‘นอมินีบ้านป่าฯ’ คุ้ยหุ้น‘แพทองธาร’ -เพื่อไทยขุดจริยธรรม‘ประวิตร’ จับตา ศึกรบ 'ลุงบ้านป่าฯ' vs 'นายใหญ่บ้านจันทร์ฯ' สู้แตกหัก

KEY

POINTS

  • เกมเอาคืนระหว่าง“ลุงบ้านป่าฯ”และ“นายใหญ่บ้านจันทร์ฯ” จนถึงเวลานี้ยังไม่มีทีท่าที่จะจบลงโดยง่าย ตอกย้ำจากสารพัด “นิติสงคราม” ที่ถูกปล่อยออกมารายวัน
  • "นอมินีบ้านป่าฯ"คุ้ยหุ้น"แพทองธาร" ปริศนารอคลี่คลาย
  • อัสดง “ลุงบ้านป่าฯ”  สารพัดเกมแค้นเอาคืน

ศึกรบเกมเอาคืนระหว่าง“ลุงบ้านป่าฯ”และ“นายใหญ่บ้านจันทร์ฯ” จนถึงเวลานี้ยังไม่มีทีท่าที่จะจบลงโดยง่าย สารพัด “นิติสงคราม” ที่ถูกปล่อยออกมารายวัน กลับยิ่งตอกย้ำถึงเกมต่อสู้แตกหัก ที่นับวันจะยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้น

ล่าสุดเป็นกรณีปริศนาวัน“โอนหุ้น” ของ “นายกฯอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกตั้งคำถามและยื่นตรวจสอบจาก  “เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ” สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 

ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 ระบุห้ามรัฐมนตรีรวมถึงนายกรัฐมนตรีถือหุ้นเกิน 5% หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด โดยการถือหุ้น 5% นั้นมีเงื่อนไขคือต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการหุ้นส่วน และหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ 2543

“เรืองไกร” เทียบเคียงการลาออกจากกรรมการบริษัท20 แห่ง ของ "นายกฯแพทองธาร" กับการลาออกจากบริษัทของ "ซาบีดา ไทยเศรษฐ์" รมช.มหาดไทย ที่ได้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น วันที่ 2 ก.ย. 2567 จากนั้นวันที่ 3 ก.ย 2567 ก็มาจด และเซ็นเอกสารแทบทุกหน้า ซึ่งเป็นไปตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สรุปมาจากประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมวดกรรมการซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 มาตรา

“การลาออกจากกรรมการ และผู้ถือหุ้นของบริษัทท่าทรายหนองมะโมง จำกัด ของ  “รัฐมนตรีซาบีดา” นั้นจะเห็นว่า มีการเขียนคำขอและเซ็นต์เอกสารโดยน.ส.ซาบีดา และนายปภณ จบศรี และไปยื่นขอจดทะเบียน แบบ บอจ. 1 แต่ถ้าเทียบกับกรณีน.ส.แพทองธารไม่ได้เซ็นอะไรเลย” เรืองไกร ตั้งข้อสังเกต

‘สงครามตัวแทน’ปิดสวิตช์2ผู้นำค่าย  คุ้ยหุ้น‘นายกฯอิ๊งค์’-ขุดจริยธรรม‘บิ๊กป้อม’

ก่อนหน้านี้ยังมีกรณีที่ “เรืองไกร” ทำหนังสือถึง กกต. ขอให้ตรวจสอบนายกฯแพทองธาร กรณีเสนอชื่อ ภูมิธรรม เวชยชัย เป็นรมว.กลาโหม มีความไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์หรือไม่ ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ 

นัยที่ต้องการสื่อคือ นายกฯแพทองธาร แต่งตั้ง “สหายใหญ่”  ภูมิธรรม ที่เคยเข้าป่าและมีพฤติกรรมล้มล้างการปกครองเป็น รมว.กลาโหมได้อย่างไร

ก่อนหน้า“ไพบูลย์ นิติตะวัน”  เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และเป็นมือกฎหมายใกล้ชิดลุงบ้านป่า ออกตัวว่า เรืองไกร ทำไปในนามส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับพรรค แต่ก็มีคนตาดีแอบเห็น “เรืองไกร” ไปนั่งคุยกับ “ลุง” ที่บ้านป่ารอยต่อฯเป็นระยะ 

‘นอมินีบ้านป่าฯ’คุ้ยหุ้น‘แพทองธาร’

เป็นเช่นนี้แน่นอนว่า การขุดคุ้ยเรื่องการ “ถือครองหุ้น” ของนายกรัฐมนตรีของ “เรืองไกร” ตีความเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็นเกมแค้นเอาคืนจากฝั่งบ้านป่าฯ 

โดยเฉพาะข้อกล่าวหาในเรื่องการถือครองหุ้นหากที่สุดมีความผิด ย่อมเผชิญกับข้อกล่าวหา จริยธรรมร้ายแรง” อันเป็นยาพิษที่เป็นของแสลงบรรดานักการเมืองแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ประเด็นการโอนหุ้นของ “นายกฯแพทองธาร” จากข้อมูลแบบเป็นทางการล่าสุดพบว่า   ในบรรดา 21 บริษัทดังกล่าว มีแค่หุ้นในบริษัทอัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัดเจ้าของ “สนามกอล์ฟอัลไพน์” ที่โอนไปให้มารดา คือ “คุณหญิงอ้อ”  พจมาน ดามาพงศ์

ส่วนที่เหลืออีก 20แห่ง นำส่งรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุด ระหว่างวันที่ 24-30 เม.ย. 2567 ยังปรากฏชื่อ “นายกฯอิ๊งค์” เป็นผู้ถือหุ้นอยู่

‘สงครามตัวแทน’ปิดสวิตช์2ผู้นำค่าย  คุ้ยหุ้น‘นายกฯอิ๊งค์’-ขุดจริยธรรม‘บิ๊กป้อม’

ก่อนหน้านี้ “นิวัติไชย เกษมมงคล” เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยพูดถึงขั้นตอนการโอนหุ้นของนายกรัฐมนตรี ว่า  สามารถทำได้หลังถวายสัตย์ปฏิญาณตนภายใน 15 วันก็ได้(ถวายสัตย์ฯวันที่6ก.ย.) ไม่จำเป็นจะต้องโอนหุ้นก่อนได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นไปตาม พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี 2543 การถือครองหุ้นหลังจากดำรงตำแหน่งแล้ว ยังสามารถถือครองได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกินจากนั้นต้องดำเนินการให้นิติบุคคลเป็นผู้จัดการ

เป็นเช่นนี้ต้องจับตาประเด็น “วันโอนหุ้น”  ของนายกฯแพทองธารวันใด ยังเป็นปริศนาที่รอคลี่คลาย

‘สงครามตัวแทน’ปิดสวิตช์2ผู้นำค่าย  คุ้ยหุ้น‘นายกฯอิ๊งค์’-ขุดจริยธรรม‘บิ๊กป้อม’

 ‘อัสดงบ้านป่า’ไล่ล่าปิดสวิตซ์

จะว่าไปอีกฟากฝั่ง “ลุงบ้านป่าฯ” ที่เวลานี้อยู่ในช่วงอัสดง ก็ยังเจอเกมแค้นเอาคืนหนักหน่วงจากฝั่ง “นายใหญ่” บ้านจันทร์ฯเช่นเดียวกัน  ไล่ตั้งแต่ปฏิบัติการปิดสวิตซ์ “วงษ์สุวรรณ” ผลักพลังประชารัฐ “ขั้วลุง” ไปเป็นฝ่ายค้าน  

ต่อเนื่องมาถึงการปล่อยชุดคลิปเสียง “ลุง” ขอเป็นเบอร์หนึ่ง รวมไปถึงการโยย้ายข้าราชการกระทรวงคลองคลอดในยุคอดีต นำมาสู่การชิงเกมแก้แค้นยื่นตรวจสอบกรณีดังกล่าว 

เหนือไปกว่านั้นยังมีแผน “ยึดคืน” บ้านป่าฯอันเป็นเสมือนฐานบัญชาการ ซึ่งใช้เป็นฐานบัญชาการในยุคที่ “ลุง” รุ่งโรจน์มาหลายยุคสมัย

ล่าสุดยังมีกรณี “พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์” สมาชิกพรรคเพื่อไทย  ยื่นหนังสือถึง “วันมูหะมัดนอร์ มะทา”  ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมการจริยธรรมสภาฯ ขอให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของ "ประวิตร วงษ์สุวรรณ"  สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ว่าได้ทำหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสส.หรือไม่

เขายังอ้างข้อมูลที่ได้รับพบว่า พล.อ.ประวิตร ไม่ร่วมลงมติประมาณ 13 ครั้ง จากการลงมติทั้งสิ้น 16 ครั้ง คิดเป็น 81.25% ซึ่งตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสภาผู้แทนราษฎร กำหนดไว้ว่าสส.จะต้องอุทิศเวลามาประชุม และต้องไม่ขาดประชุมโดยไม่จำเป็น เว้นแต่เจ็บป่วยหรือมีเหตุสุดวิสัย

 ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 101(12) สมาชิกภาพ สส. สิ้นสุดลงเมื่อขาดประชุมเกิน 1 ใน 4 ของจำนวนวันประชุม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาฯ

ขยี้ซ้ำด้วยบรรดา “พลพรรคเพื่อไทย” ประสานเสียงทวงถามจริยธรรมจาก “ลุงบ้านป่า”  ในบทบาทการทำหน้าที่สส.ในช่วงที่ผ่านมา  

‘สงครามตัวแทน’ปิดสวิตช์2ผู้นำค่าย  คุ้ยหุ้น‘นายกฯอิ๊งค์’-ขุดจริยธรรม‘บิ๊กป้อม’

คล้อยหลัง1วัน  “อาพัทธ์ สุขะนันท์”  เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พูดถึงแนวทางปฏิบัติ โดยสส.สามารถยื่นลาประชุมผ่านแบบฟอร์มได้ทั้งล่วงหน้าก่อนวันประชุมและหลังจากวันประชุมไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้การอนุญาตลาประชุมนั้นเป็นดุลยพินิจของ ประธานสภาฯ 

ซึ่งที่ผ่านมาพล.อ.ประวิตรได้ยื่นใบลา ในเวลาที่ไม่มาประชุมทุกครั้ง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า สารพัดนิติสงครามที่เกิดขึ้นเวลานี้ย่อมเป็นการ ตอกย้ำ “ศึกรบเกมเอาคืน” ระหว่าง“ลุงบ้านป่าฯ”และ“นายใหญ่บ้านจันทร์ฯ”  ที่นับวันจะยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้นชนิดไม่มีใครยอมใครส่วนใครจะอยู่-ใครจะไป คงต้องลุ้นกันไปยาวๆ