แอมเนสตี้ฯ ประณามรัฐบาลส่งอุยกูร์กลับจีน โหดร้ายเกินจินตนาการ

แอมเนสตี้ประเทศไทยฯ ออกโรงประณาม 'รัฐบาลไทย' หลังส่งชาวอุยกูร์ 40 ชีวิตกลับจีน ชี้เป็นความโหดร้ายเกินจินตนาการ เสี่ยงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2568 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เผยแพร่บทความถึงกรณีรัฐบาลไทยส่งชาวอุยกูร์ 40 คน กลับไปจีน โดยระบุหัวข้อว่า ประเทศไทย: ‘การส่งตัว’ ชาวอุยกูร์กลับไปยังจีนเป็นความโหดร้ายที่เกินจินตนาการ มีเนื้อหาว่า ก่อจากรายงานที่ระบุว่าชาวอุยกูร์ประมาณ 40 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2557 ได้ถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศจีนในวันนี้
ซาราห์ บรูคส์ ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศจีน เผยว่า การบังคับส่งตัวบุคคลเหล่านี้กลับไปยังจีน หรือชาวอุยกูร์คนใดก็ตาม เสี่ยงทำให้พวกเขาตกอยู่ในภาวะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยชี้แจงสถานะของพวกเขาโดยทันที
“พวกเขาต้องเผชิญกับความเลวร้ายอย่างน่าหวาดหวั่น พวกเขาหนีจากการปราบปรามในจีน แต่มาถูกควบคุมตัวโดยพลการในประเทศไทยนานกว่าทศวรรษ ความจริงที่ว่าตอนนี้พวกเขาอาจถูกบังคับส่งตัวกลับไปยังประเทศที่ชาวอุยกูร์และกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่ชาวฮั่นในซินเจียงต้องเผชิญกับการทรมาน การปฏิบัติที่โหดร้าย การควบคุมตัวโดยพลการ และการบังคับให้สูญหาย เป็นสิ่งที่โหดร้ายเกินจะจินตนาการ”
อี ควิน เบอดั้บ เป็นคนชาติพันธุ์เอดี ที่หนึ่งในกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองชาวมองตานญาดในที่ราบสูงภาคกลางของเวียดนาม ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “มองตานญาดสู้เพื่อความยุติธรรม” (Montagnards Stand for Justice) เขามีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่รณรงค์เพื่อสิทธิของชาวมองตานญาด โดยการคอยส่งเสียงต่อต้านการประหัตประหารด้านศาสนาที่เกิดขึ้นกับชุมชนของเขา
เขาเป็นหนึ่งในหกชนเผ่าพื้นเมืองชาวมองตานญาด ซึ่งทางการเวียดนามดำเนินคดีในข้อหาก่อการร้าย ตามมาตรา 299 ของประมวลกฎหมายอาญาเวียดนาม จากเหตุโจมตีที่ทำการของรัฐบาลเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ในจังหวัดดั๊กลัก (Dak Lak) ของเวียดนาม
สำนักข่าวของรัฐในเวียดนามรายงานว่า ทางการต้องการตัวเขาในฐานะผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการโจมตี ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในคอมมูนดังกล่าว อี ควิน เบอดั้บ ซึ่งปัจจุบันถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพในประเทศไทย ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว การไต่สวนคำขอเพื่อส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้
“รัฐบาลไทยควรให้ความคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ แต่กลับเลือกที่จะเพิกเฉยต่อความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่พวกเขาเผชิญ การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเลย จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและผู้เชี่ยวชาญจากองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยไม่ละเมิดหลักการไม่ส่งกลับ (Non-refoulement principle) ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยอมรับทั้งในระดับนานาชาติและภายในประเทศ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เกิดในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
“เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนเปิดเผยที่อยู่ของบุคคลเหล่านี้ และหากพวกเขายังคงถูกควบคุมตัวอยู่ รัฐบาลจะต้องรับรองว่าสิทธิของพวกเขาจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ รวมถึงสิทธิที่จะไม่ถูกทรมานหรือถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม”ผมสลบไป รู้สึกมึนงง และไม่กลับมามีอาการปกติอีกเลย จนกระทั่งวันที่เขาปล่อยตัวผมออกมา ผมรู้สึกสับสนกับทุกอย่างที่เกิดขึ้น”
“พวกเขาเหล่านี้หลายคนมีสุขภาพที่ย่ำแย่จากการถูกควบคุมตัวเป็นเวลาหลายปี ควรต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่เหมาะสมและเพียงพอ เราขอเรียกร้องให้ยุติความทุกข์ทรมานของพวกเขา และให้ทางการรับรองสิทธิในการเดินทางอย่างเสรีของพวกเขา ถึงเวลาแล้วที่พวกเขาควรได้รับโอกาสให้กลับไปพบกับครอบครัวอย่างปลอดภัย”
สำหรับบุคคลที่ถูกส่งกลับในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาวอุยกูร์ประมาณ 300 คนที่ถูกเจ้าหน้าที่ไทยควบคุมตัวเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557 หลังจากพวกเขาหนีการประหัตประหารและการเลือกปฏิบัติในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน ในเดือนกรกฎาคม 2558 มีบุคคล 109 คนจากกลุ่มนี้ที่ถูกส่งกลับไปยังประเทศจีน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและเป็นระบบโดยรัฐบาลจีนต่อชาวอุยกูร์ในซินเจียง ซึ่งรวมถึงการกักขังโดยพลการมากกว่าล้านคนในค่ายปรับทัศนคติ
ในรายงานปี 2564 แอมเนสตี้ระบุว่ารัฐบาลจีนได้กระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอย่างน้อยในรูปแบบของการกักขังโดยพลการ การทรมาน และการกดขี่ข่มเหงชาวอุยกูร์ คาซัค และกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมอื่นๆ ในซินเจียง
ในจดหมายถึงรัฐบาลไทยเมื่อเดือนมกราคม 2568 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติรายงานว่า จากผู้ถูกควบคุมตัว 48 คน มี 23 คนที่มีปัญหาสุขภาพร้ายแรง รวมถึง “โรคเบาหวาน ภาวะไตทำงานผิดปกติ อัมพาตครึ่งล่าง โรคผิวหนัง โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และปัญหาหัวใจและปอด”
ประเทศไทยมีพันธกรณีภายใต้หลักการไม่ส่งกลับ (Non-refoulement principle) ห้ามไม่ให้ส่งกลับบุคคลไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม หากบุคคลดังกล่าวเสี่ยงภัยที่จะได้รับการทรมานหรือการละเ มิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอื่น ๆ
ภาพประกอบจาก: https://www.amnesty.or.th/news/2025/02/thailand-deportation-of-uyghurs-to-china-unimaginably-cruel/