'มีชัย'แจงสูตรเลือกตั้งใหม่ไม่พิศดาร ทุกเสียงมีความหมาย
"มีชัย"แจงสูตรเลือกตั้งใหม่ไม่พิศดาร หวังทุกเสียงมีความหมายไม่สูญเปล่า ชี้ยิ่งทำให้พรรคการเมืองแข็งแกร่ง ไม่ใช่ส่งเสาโทรเลขก็ได้
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) แถลงถึงการที่กรธ.ได้วางกรอบการเลือกตั้ง ว่าที่ผ่านมา กรธ. ได้ดูสถิติการเลือกตั้งที่ผ่านมีจำนวนผู้มีสิทธิ์ 35 ล้านคน แต่มีเพียง 19 ล้านคนที่มาใช้สิทธิ์ อีกทั้งยังมีเสียงเรียกร้องจากทุกฝ่ายว่า ต้องทำให้ทุกเสียงที่ไปใช้สิทธิเป็นเสียงสวรรค์ และได้รับการยอมรับจากทุกแขนง ด้วยแนวคิดเช่นนี้ กรธ. จึงได้ไปศึกษาว่า จะทำอย่างไรให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย ได้รับการยอมรับนับถือบ้างไม่มากก็น้อย แต่ถ้าจะให้ได้รับการยอมรับเท่ากับเสียงที่ลงให้กับผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดก็เป็นเรื่องยาก แต่ถ้าจะทิ้งคะแนนส่วนน้อยไปเลยก็จะถือว่าไม่เป็นธรรม
นายมีชัย กล่าวอีกว่า โดยระบบการเลือกตั้งทั่วโลกก็คำนึงในเรื่องของ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตโดย และการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ โดยที่ผ่านมาเราก็ได้ใช้วิธีดังกล่าว แต่ว่าเป็นการลงคะแนนสองหน ซึ่งการทำเช่นนั้นในที่สุด คะแนนของคนที่ไปลงเสียงในเขตก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับนับถือทั้งหมด เราจึงคิดว่าถ้าเอาคะแนนของคนไที่ได้รับเลือกเป็นอันดับรองลงมาจากเสียงสูงสุดเพื่อไม่ให้คะแนนส่วนนั้นสูญเปล่า ก็สามารถนำไปเป็นคะแนนของพรรคได้เพื่อ นำไปคำนวณหา สส. แบบบัญชีรายชื่อเพียงเท่านี้ก็จะทำให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย
"มีการถามกันว่าเวลาประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้ง จะคำนึงบุคคลหรือพรรคเป็นที่ตั้ง ซึ่งคำตอบที่ได้จากหลายๆคน ก็คืออยากจะให้ความสำคัญกับพรรค เมื่อพรรคจะส่งผู้สมัคร ก็ต้องเลือกคนดี ถ้าประชาชนเห็นดีเห็นงามด้วยก็เลือก ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดก็ได้เป็น สส.เขตไป ส่วนผู้ที่ได้คะแนนน้อยลงมา ก็จะนำไปเป็นคะแนนของพรรค แล้วไปคำนวณหาจำนวน สส. แบบบัญชีรายชื่อ ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราได้ทั้งคนและพรรคในแบบที่ทุกคะแนนมีความหายไม่สูญเปล่า"
ต่อกรณีที่มีเสียงทักท้วงว่าการใช้ระบบการเลือกตั้งเช่นนี้จะทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ นายมีชัยกล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าระบบนี้จะทำให้พรรคมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพราะทั้งพรรคและคนที่ลงสมัครจะต้องไปด้วยกัน จากที่มีบางพรรคคิดว่ามีฐานเสียงเยอะแล้วจะส่งคนรถหรือเสาโทรเลขลงสมัครก็ได้ จะต้องมีการพิจาณาเรื่องการส่งคนลงสมัครมากขึ้น และด้วยระบบนี้ปัญหาที่เคยเกิดว่า ภาคแต่ละภาคเป็นฐานเสียงของพรรคการเมือง แต่ด้วยระบบนี้ทำให้คะแนนของพรรคที่ได้น้อยลงมาจะนำไปสู่การสรรกา สส. บัญชีรายชื่อ ทำให้ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ
"แนวคิดดังกล่าวมองในแง่มุมของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นสำคัญ ไม่ได้คิดว่าจะทำให้พรรคใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ หากใช้วิธีนี้วิธีการคำนวณก็ทำได้ง่าย ประชาชนเข้าใจได้ไม่ยาก ลงคะแนนเพียงบัตรใบเดียว ส่วนคำถามที่ว่าระบบนี้มีที่ไหนในโลกทำนั้น ทั่วโลกต่างก็คำนึงถึงระบบบ สส. บัญชีรายชื่อ แต่จะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยยเองก็ทำเช่นนั้น ซึ่งอาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนชาติอื่น"
นายมีชัย กล่าวอีกว่า ความหวังที่มีต่อระบบการเลือกตั้งแบบนี้อีกเรื่องก็คือ เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพราะที่ผ่านมาหลายคนรู้ว่าพรรคที่ตนเชียร์นั้นจะแพ้ในเขตของตัวเอง ก็หมดกำลังใจที่จะไปใช้สิทธิ แต่ถ้าหากได้รู้ว่าทุกคะแนนเสียงของตนเองมีความหมาย ก็จะทำให้มีแรงจูงใจออกไปใช้สิทธิมากขึ้น ด้วยวิธีการเลือกตั้งแบบนี้จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ก็คือ 1. การใช้สิทธิของประชาชนจะได้รับการให้ความสำคัญอย่างสูงสุด 2.คะแนนทุกคะแนนมีความหมาาย 3.มีแรงกระตุ้นให้ทุกคนออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 4.เป็นการเฉลี่ยคะแนนเสียงของแต่ะละภาคไม่ให้มีพรรคใดพรรคหนึ่งผูกขาดคะแนนเสียง ทั้งนี้จะต้องเข้าใจด้วยว่าเมื่อกระบวนการเลือกตั้งเปลี่ยน พฤติกรรมในการลงคะแนนก็จะเปลี่ยนตามไป และส่วนตัวเชื่อว่าพรรคการเมืองก็สามารถปรับตัวได้
ในส่วนกรณีที่มีคนกล่าวว่า กรธ. จะตัดสิทธ์ผู้ลงสมัครที่ได้รับคะแนนน้อยกว่าคะแนนงดออกเสียง (โหวตโน) นายมีชัยกล่าวว่า การกล่าวเช่นนั้นเป็นการบิดเบือนความจริง เพราะกรธ. มีแนวคิดว่า ถ้าประชาชนงดออกเสียง นั่นหมายความว่าเขาคิดว่าผู้ลงสมัครทุกคนในเขตยังมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ หากคะแนนงดออกเสียงมีน้อยก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีเป็นเสียงข้างมาก เราก็ต้องยอมรับนับถือเจตนารมณ์ของคนในเขตนั้น ทางกรธ. ก็มีการหารือกันต่อว่า คนที่แพ้คะแนนงดออกเสียงนั้น จะให้ลงสมัครในเขตต่อไปหรือไม่ บ้างก็ว่าให้เว้นวรรคก่อนค่อยลงใหม่ บ้างก็ว่าลองลงสมัครอีกซักหน ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ไม่ได้มีแนวคิดที่จะไปตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต เพราะผู้สมัครไม่ได้ทำความผิดอะไร โดยต่างจากกรณีคดีทุจริต
"เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องพิศดารแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องง่ายๆที่กรธ. ต้องการเคารพทุกเสียงของประชาชน ในเมื่อผู้ใช้สิทธิ์ส่วนใหญ่บอกว่าไม่ต้องการผู้สมัคร แล้วเราจะบอกว่าไม่เป็นไรไม่ได้ หากเป็นเช่นนั้นจะกล่าวอย่างเต็มปากได้อย่างไรว่าเคารพเสียงของประชาชน"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ระบบการเลือกตั้งดังกล่าวจะสามารถป้องกันและขจัดการทุจริตการเลือกตั้งได้หรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ส่วนหนึ่งที่หวังจากระบบการเลือกตั้งแบบนี้ก็คือ เมื่อทุกคะแนนเสียงมีความหมาย คนทุจริตก็จะมีน้อยลง ทั้งนี้ทาง กรธ. ก็จะต้องมีการสร้างกลไกป้องกันการทุจริตให้เข้มงวดมากกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะคิดระบบป้องกันอย่างไร คนทุจริตก็ยังสามารถหาช่องทางได้ ซึ่งหวังว่าประชาชนจะช่วยกันตรวจสอบ ขณะเดียวกันเรากำลังคิดว่าควรจะให้ศาลเป็นผู้ตัดสินเรื่องการตัดสิทธิผผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจว่าจะได้รับความยุติธรรมเพียงพอ แต่สำหรับการจัดการเลือกตั้งใหม่อาจจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)
ต่อข้อคำถามที่ว่าผู้สมัครส.ส. จะต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ยังไม่ได้มีข้อสรุปในเรื่องนี้ แต่มีแนวโน้มว่าจะใช้หลักการเดิม คือ ให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมือง เพื่อให้เป็นกลุ่ม และป้องกันไม่ให้เกิดกระบวนการซื้อขายกันในสภาผู้แทนราษฎรอีก
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ระบบการเลือกตั้งนี้จะส่งผลให้การเมืองไทยในอนาคตเป็นระบบสองพรรคการเมืองหรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าไม่น่าเป็นเช่นนั้นเพราะพรรคการเมืองขนาดเล็กมีโอกาสได้รับคะแนนและ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเหมือนกัน แต่พรรคการเมืองขนาดอาจจะต้องส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตให้มากที่สุด เพื่อให้ได้คะแนนนำมาคำนวณหา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ทั้งนี้หาก กรธ. ออกแบบระบบให้พรรคการเมืองขนาดเล็กได้คะแนนไปด้วยในเขตพื้นที่ ที่ไม่ได้ส่งผู้สมัครลง ก็จะไม่เป็นธรรมกับพรรคใหญ่
ในส่วนข้อคำถามที่ว่า ในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ลงสมัครเลือกตั้ง ทางกรธ. จะตัดสิทธิ์ผู้ที่เคยถูกถอดถอน หรือบุคคลที่เคยถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ย้อนหลังหรือไม่ นนายมีชียกล่าว่า เราค่อนข้างแน่ใจก็คือ คนที่ทุจริตประพฤติมิชอบจะถูกห้ามแน่นอน แต่สำหรับคนทที่เคยกระทำความผิดนั้นกำลังคิดอยู่ว่า จะเป็นธรรมกับพวกเขาไหมถ้าเราไปตัดสิทธิ์ย้อนหลัง เพพราะเป็นเรื่องที่ไม่เคยกำหนดมาก่อน