'ตวง'หนุนศธ.ตั้งกรมวิชาการ
"ตวง"หนุนศธ.ตั้งกรมวิชาการชี้ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่มีระบุร่างพ.ร.บ.ซุปเปอร์บอร์ดใกล้ผ่านสนช.รอความชัดเจนสังกัด
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ได้จัดสภาการศึกษาเสวนา(OEC Forum)ครั้งที่1เรื่อง"มองไปข้างหน้าอย่างท้าทาย:บทบาทผู้นำการปฏิรูปการศึกษาของสภาการศึกษา"โดยนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬาสภานิติบัญญัติแห่งขาติ(สนช.)อภิปรายตอนหนึ่งว่าสภาการศึกษาก่อนปี2515อยู่ในรูปแบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่สามารถชี้นำแนวทางการจัดการศึกษาได้อย่างแท้จริงแต่เมื่อมาเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในปัจจุบันกลับกลายเป็นหน่วยงานของคนทั่วไปต่างคนต่างนำเสนอทำให้แนวทางเพี้ยนไปจากเดิมดูได้จากการปฏิรูปการศึกษากลายเป็นว่าเมื่อสกศ.พูดอะไรออกไปไม่มีพลังมากพอต่างจากเมื่อสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศหรือทีดีอาร์ไอหรือสำนักงานส่งเสริมสังคมและการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)ออกมาเสนอกลับมีพลังให้คนเชื่อถือดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาก็ต้องศึกษาบทเรียนในอดีตด้วยและการปฏิรูปครั้งนี้ต้องระเบิดจากข้างในนั่นคือครู
ทั้งนี้การปฏิรูปการศึกษาต้องเชื่อมโยงกับปฏิรูปประเทศเพราะการศึกษาต้องแก้ไขประเทศได้ด้วยไม่ใช่แก้ไขปัญหาการศึกษาอย่างเดียวโดยการปฏิรูปต้องเริ่มจากสร้างคนไปพัฒนาชาติต้ต่อยอดสิ่งที่ดีอยู่ของการปฏิรูปที่ผ่านมารวมถึงปฏิรูปการศึกษาไปสู่เส้นทางใหม่ๆทั้งกระแสอาเซียนและกระแสโลกรวมถึงแก้ปัญหาของชาติทั้งปัญหาคอรัปชั่นความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งอย่างไรก็ตามประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ไม่มีกรมวิชาการซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาและวิจัยหลักสูตรการเรียนการสอนดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ควรต้องมีกรมวิชาการเกิดขึ้นซึ่งทราบว่าในการปรับปรุงโครงสร้างศธ.ได้มีการนำเสนอดังกล่าวด้วย
"ขณะนี้สนช.ได้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาโดยกฎหมายที่ต้องแก้ไขได้แก่ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ,ร่าง.พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ,ร่างพ.ร.บ.ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนร่างกฎหมายที่ใกล้จะผ่านการพิจารณาของสนช.คือร่างพ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาชาติหรือซุปเปอร์บอร์ดการศึกษาซึ่งกำลังหาข้อสรุปเกี่ยวกับสังกัดว่าจะให้ขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือเป็นองค์กรอิสระ"นายตวง กล่าว
ด้านดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา(เลขาธิการสกศ.)กล่าวว่าการจัดสภาการศึกษาเสวนาถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของสกศ.ในการคิดค้นหาวิธีเรียนรู้ทางวิชาการเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอให้ศธ.พิจารณาเพื่อนำไปเป็นแนวคิดสำหรับพัฒนาการศึกษาในภาพรวมซึ่งเวทีนี้จะเป็นเวทีกลางที่เปิดให้ทุกภาคส่วนมาร่วมเสนอแนวคิดทางการศึกษาเป็นเวทีที่สร้างองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายเพราะสกศ.เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวกับคนจำนวนมากดังนั้นในการวางทิศทางการทำงานจะใช้แค่เพียงคนในองค์กรหรือกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)คงไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนักส่วนบทบาทของสกศ.ในอนาคตจะเป็นเช่นไรนั้นเวลานี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบกับหน่วยงานต่างๆในระดับนานาชาติเพื่อดูเทรนด์การจัดการศึกษาของโลกว่าเน้นเรื่องใดเป็นสำคัญและนำมาปรับปรุงเพื่อวางทิศทางการพัฒนาคนของประเทศไทยให้มีความสอดคล้องอย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าสกศ.จะเป็นองหลักหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการชี้นำเรื่องการศึกษาให้แก่ภาคสังคมในอนาคตอย่างแน่นอน