ศึกสายเลือด! ศาลรับฟ้อง 'เกษม' ฟ้อง 'ณพ' ปลอมลายเซ็นโอนหุ้นให้แม่ยาย
ศาลอุทธรณ์สั่งประทับรับฟ้องศึกพ่อ-ลูก “เกษม ณรงค์เดช” ฟ้อง “ณพ ณรงค์เดช” ฐานปลอมลายเซ็นโอนหุ้นโกลเด้น มิวสิคให้แม่ยายตัวเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(16ต.ค.62) ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ประทับรับฟ้องคดีที่นายเกษม ณรงค์เดช นักธุรกิจชื่อดัง เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายณพ ณรงค์เดช บุตรชาย และ คุณหญิงกอแก้ว บุญยะจินดา แม่ยายของนายณพ ในฐานใช้เอกสารปลอม ในการโอนหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH)
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2561 ศาลอาญา รัชดา อ่านคําตัดสิน ในคดีหมายเลขดําที่ อ. 2497/2561 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 3518/2561 พิพากษาให้ยกฟ้อง คดีนายเกษม ณรงค์เดช ผู้ก่อตั้งกลุ่มเคพีเอ็น ยื่นฟ้องนาย ณพ ณรงค์เดช, คุณหญิงกอแก้ว บุญยะจินดา กับพวก กล่าวหาว่า ร่วมกันใช้เอกสารปลอม, ปลอมลายเซ็น
สืบเนื่องจาก เมื่อเดือนส.ค.2561 นายเกษม ณรงค์เดช ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทเคพีเอ็น เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาล อาญารัชดาฯ กล่าวหาดําเนินคดีกับ นายณพ ณรงค์เดช (บุตรชาย), คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา และนายสุรัตน์ จรจรัสพร กรรมการ บริษัทโกลเด้น มิวสิค ที่ฮ่องกง ในข้อหาร่วมกันใช้เอกสารปลอม ที่มีลายมือชื่อปลอมของนายเกษม เพื่อโอน หุ้นในบริษัทโกลเด้น มิวสิค จำนวน 99.99% ให้กับคุณหญิงกอแก้ว ถือเป็นการใช้เอกสารปลอมไปโอนหุ้นทําให้นายเกษม ได้รับความเสีย หาย
โดยที่คดีนี้ นายเกษม ระบุว่า ตนเองไม่เคยทราบมาก่อนว่า ตนเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโกลเด้น มิวสิค ซึ่งถือหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จํากัด อยู่ประมาณ 37.8% กระทั่งเพิ่งมารับรู้ว่า มีหุ้นอยู่ในบริษัทโกลเด้น มิวสิค เมื่อศาลฮ่องกง มีหนังสือแจ้งว่า ตนถือ หุ้นบริษัทโกลเด้น มิวสิค อยู่ถึง 99.99% และศาลได้สั่งห้ามจําหน่ายจ่ายโอนหุ้นที่บริษัทโกลเด้น มิวสิค ถืออยู่ในบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้งที่สําคัญ นายเกษมอ้างว่า ไม่เคยเซ็นต์โอนหุ้นบริษัทโกลเด้น มิวสิคให้กับคุณหญิงกอแก้ว
อย่างไรก็ตามในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ปรากฏว่า นายเกษม ซึ่งเป็นโจทย์ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และมาศาลได้ แต่ไม่ไปให้การยืนยันข้อกล่าวหา ประกอบกับพยานโจทก์ให้การขัดกันเอง โดยระบุว่า ตนไม่เคยรู้จักและไม่มีหุ้นในบริษัทโกลเด้น มิวสิคมาก่อน แต่เมื่อทราบจากศาลฮ่องกงว่า ตนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลับรับเอาหุ้นดังกล่าวมาเป็นของตัวเอง
ส่วนลายมือชื่อของโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าปลอมนั้น ฝ่ายโจทก์กลับนําเอาแต่เพียงสําเนาไปตรวจพิสูจน์หลักฐาน และใช้ลายมือชื่อตนเองที่เป็นสําเนาเอกสารของโจทก์ ในการใช้เปรียบเทียบ ประกอบกับหากมีการปลอมเอกสารจริง แต่โจทก์ก็ไม่ดําเนิน คดีกับจําเลยฐานปลอมเอกสาร คงมีแต่เพียงการไปลงบันทึกประจําวันเป็นหลักฐานเท่านั้น พยานของโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า ปลอมและนําไปใช้อย่างไร ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง ไม่มีมูลพอที่จะรับฟ้องไว้พิจารณา