บรรเทาโควิด! พรรคแจกไม่เกิน 3 ล้าน - ส.ส.ไม่เกิน 3 แสน ถ้าเกินคิดเป็นค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง

บรรเทาโควิด! พรรคแจกไม่เกิน 3 ล้าน - ส.ส.ไม่เกิน 3 แสน ถ้าเกินคิดเป็นค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง

กกต. วางระเบียบสู้ภัยโควิด พรรคการเมืองแจกประชาชนไม่เกิน 3 ล้าน ส่วน ส.ส.ไม่เกิน 3 แสน ถ้าเกินคิดเป็นค่าใช้จ่ายเลือกตั้งครั้งต่อไป

ส.ส. หรือพรรคการเมืองมีแนวทางในการปฏิบัติเมื่อให้เงินหรือทรัพย์สินในโอกาส "มีเหตุอันสมควร" COVID-19 อย่างไร

สนง.กกต. มีแนวทางบันทึกการให้เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งต่อไปอย่างไร

1. หลักการ
ความเสมอภาคในการแข่งขันในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยให้หาเสียงล่วงหน้าได้ แต่ให้นำเงินที่หาเสียงล่วงหน้าไปคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

2. โอกาสในการให้ 
เมื่อมีเหตุอันสมควร เช่น เกิดภัยพิบัติ หรือ ภัยอื่นๆ เช่น Covid -19 เป็นต้น

3. ให้แก่ใคร
ให้แก่ผู้ประสบภัย

4. ผู้ให้มี 4 ประเภท
4.1 พรรคการเมือง
4.2 สมาชิกพรรค การเมืองที่เป็น ส.ส.
4.3 ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง
4.4 ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

5. จำนวนเงิน
5.1 พรรคการเมืองให้ได้ไม่เกิน 3,000,000 บาท ในแต่ละโอกาส ถ้าเกิน 3,000,000 บาทให้นำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
5.2 ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ได้ไม่เกิน 300,000 บาท ในแต่ละโอกาส ถ้าเกิน 300,000 บาทให้นำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

6. ผลของการให้
6.1 การให้เกินจำนวนที่กำหนด ให้นำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งต่อไป
6.2 หลักเกณฑ์ในการนำไปรวม
6.2.1 พรรคการ เมืองให้ ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการ เมือง เช่น ทรัพย์สินของพรรคการเมือง แต่ให้สมาชิกพรรคนำไปแจกจ่ายในเขตพื้นที่ ให้นำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง เป็นต้น
6.2.2 ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ ให้ถือเป็นค่าใข้จ่ายของพรรคการเมือง
6.2.3 ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้ หรือ ส.ส แบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้นอกเขตเลือกตั้งของตน ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง
6.2.4 ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ในเขตเลือกตั้งของตน ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของ ส.ส. ผู้นั้น


7. จำนวนครั้งในการให้ในแต่ละโอกาส
ในแต่ละโอกาส สามารถให้ได้หลายครั้ง แต่ต้องนำจำนวนเงินที่ให้ทุกครั้งในโอกาสนั้นๆ มารวมกันว่าเกินหรือไม่เกินจำนวนตามที่ กกต.กำหนด

8. เกณฑ์การนำไปรวม
8.1 ถ้าให้ไม่เกินวงเงินที่กำหนดไม่ต้องนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่าย เช่น พรรคการ เมืองให้ 3,000,000 บาท หรือบุคคลให้ 300,000 บาท
8.2 การให้เงินเกินวงเงินที่ กกต.กำหนดต้องนำ"จำนวนที่ให้เกินทั้งจำนวน"ไปรวมเป็นค่าใช้จ่าย ไม่ใช่"จำนวนที่เกิน"วงเงินที่กำหนด เช่น พรรคการเมืองให้ 3,500,000 บาท ต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวทั้งจำนวนไปรวมเป็นค่าใช้จ่าย ไม่ใช่นำจำนวน 500,000 บาทไปรวม หรือ บุคคลให้ 350,000 บาท ต้องนำเงินที่ให้ดังกล่าวทั้งจำนวนไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายไม่ใช่ 50,000 บาท เป็นต้น

9. การบันทึกค่าใช้จ่าย
เมื่อความปรากฏ สนง.กกต.จะรวบรวมข้อเท็จจริงการให้แต่ละโอกาส เพื่อเสนอ กกต.สั่งให้เลขาธิการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายแล้วแต่กรณี และแจ้งให้พรรคการเมืองและบุคคลดังกล่าวทราบ

10. การคัดค้าน
พรรคการเมืองหรือบุคคลดังกล่าวที่ไม่เห็นด้วยมีสิทธิยื่นคัดค้านได้

11.การรายงานค่าใช่จ่าย
พรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องนำค่าใช้จ่ายตามข้อ 8 ไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ตามมาตรา 67 เพื่อรายงานให้ กกต. ทราบและตรวจสอบต่อไปว่าเกินวงเงินการเลือกตั้งที่ กกต. กำหนด หรือเป็นเท็จหรือไม่

158752659576

158752660682

ที่มา - กกต.