"นิด้าโพล" เผย "ส.ส."ส่วนใหญ่ ไม่ลงพื้นที่ช่วยปชช. พบไม่ถึง10% ลงบ่อยมาก
"นิด้าโพล" เผย ผลสำรวจ "นักการเมือง" ลงพื้นที่ถี่ยิบ จริงใจหรือไก่กา พบ เกินครึ่งช่วยปชช. พ่วงหาเสียงไปด้วย ส่วนส.ส.เขต ส่วนใหญ่ไม่ลงดูแลปชช. มีเพียง ร้อยละ 7.45 ลงบ่อยมาก ส่วนส.ส.บัญชีรายชื่อ แค่ร้อยละ 1.37
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ช่วงนี้นักการเมืองลงพื้นที่บ่อย…จริงใจหรือไก่กา?” จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวนักการเมืองเกือบทุกพรรคลงพื้นที่บ่อยมากในช่วงนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.89 ระบุว่า ไปเพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชน และหาเสียงไปด้วยรองลงมา ร้อยละ 19.38 ระบุว่า ไปเพราะกระแสการยุบสภามากกว่า ร้อยละ 11.17 ระบุว่า ไปเพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชน จริงๆ และร้อยละ 10.56 ระบุว่า ไม่ทราบ ไม่ตอบ ไม่สนใจ
อ่านข่าว : ดุสิตโพล ชี้ ประชาชนเลือก “เพื่อไทย” อันดับ 1 พิธา ‘นั่งนายกฯ’
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการลงพื้นที่ของ ส.ส. ระบบแบ่งเขต เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้ง พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.83 ระบุว่า ไม่เคยลงพื้นที่เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนเลย รองลงมา ร้อยละ 36.93 ระบุว่า ลงพื้นที่เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนไม่ค่อยบ่อย ร้อยละ 16.41 ระบุว่า ลงพื้นที่เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 7.45 ระบุว่า ลงพื้นที่เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนบ่อยมาก และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ทราบ ไม่ตอบ ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการลงพื้นที่ของ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ เพื่อดูแลช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.85 ระบุว่า ไม่เคยเห็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลงพื้นที่เลย รองลงมา ร้อยละ 29.26 ระบุว่า เห็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลงพื้นที่ไม่ค่อยบ่อยร้อยละ 9.95 ระบุว่า เห็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลงพื้นที่ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 3.57 ระบุว่า เห็นส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลงพื้นที่บ่อยมาก และร้อยละ 1.37 ระบุว่า ไม่ทราบ ไม่ตอบ ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.74 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯร้อยละ 25.68 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.31 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือร้อยละ 33.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ตัวอย่างร้อยละ 48.86 เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.99 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.15 เป็นเพศทางเลือก
ตัวอย่างร้อยละ 5.78 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 15.27 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.30 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 32.75 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 26.90อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.44 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.12 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.68 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ0.76 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 18.54 สถานภาพโสด ร้อยละ 77.13 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.34 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.99 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 31.61 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.73 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.61 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 22.41 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.50 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและร้อยละ 1.14 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 8.51 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.08 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.27ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ17.40 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.37 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 22.65 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.58 เป็นนักเรียน/นักศึกษาและร้อยละ 1.14 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 21.43 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.66 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.78 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.65 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.95 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.97 ไม่ระบุรายได้