วิเคราะห์ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม"หลักสี่-จตุจักร"
ผลการเลือกตั้งซ่อมในพื้นที่จตุจักรและหลักสี่ ปรากฏความพ่ายแพ้ของพรรคพลังประชารัฐ สะท้อนภาพของคนเมืองที่เลือกคนแบบสั่งสอนพรรคการเมือง
การโหวตสั่งสอน ไม่ใช่การเลือกเพราะนิยมชมชอบ แต่เป็นยุทธศาสตร์การโหวตที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านหรือสั่งสอน ว่าไม่พอใจบางสิ่ง
การเลือกตั้งซ่อมในครั้งนี้ประชาชนเลือกแค่ 2 ทางเท่านั้น ทางแรกคือโหวตสนับสนุนคนของรัฐบาลให้ไปทำงานต่อ สองโหวตเลือกพรรคฝ่ายค้าน เพื่อบอกกับรัฐบาลรู้ว่า"ไม่เอาแล้ว"
ผู้มาใช้สิทธิ
24 มี.ค. 62
ผู้มีสิทธิ 171,250
ผู้ใช้สิทธิ 127,650
คิดเป็น 74.54 %
30 ม.ค. 65
ผู้มีสิทธิ 167,287
ผู้ใช้สิทธิ 88,124
คิดเป็น 52.68%
ผลการเลือกตั้งซ่อม "หลักสี่-จตุจักร" รวมทั้งสิ้น 280 หน่วย อย่างไม่เป็นทางการ
1. นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย 29,416 คะแนน
2. นายกรุณพล เทียนสุวรรณ พรรคก้าวไกล 20,361 คะแนน
3. นายอรรถวิชซ์ สุวรรณภักดี พรรคกล้า 20,047 คะแนน
4. นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ พรรคพลังประชารัฐ 7,906 คะแนน
5. นายพันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชต์ พรรคไทยภักดี 5,987 คะแนน
6. นายเจริญ ชัยสิทธิ์ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 333 คะแนน
7. นายรุ่งโรจน์ อิบรอฮีม พรรคไทยศรีวิไลย์ 244 คะแนน
8. นางสาวกุลรัตน์ กลิ่นดี พรรคยุทธศาสตร์ชาติ 190 คะแนน
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 88,124 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 167,287 คน คิดเป็น 52.68% บัตรดี 84,484 บัตร บัตรเสีย 1,184 บัตร บัตรไม่เลือกผู้ใด 2,456 บัตร
เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจพรรคไทยภักดี คะแนนเสียงน่าสนใจเมื่อเทียบกับพรรคพลังประชารัฐ
เพื่อไทย 34.81%
ก้าวไกล 24.1%
พรรคกล้า 23.72%
พปชร. 9.35%
ไทยภักดี 7.08%
ครูไทยเพื่อประชาชน 0.39%
ไทยศรีวิโล 0.28%
หลายคนตั้งคำถามเมื่อคะแนนเป็นเช่นนี้ อะไรทำให้คนเหล่านี้แปรเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งในรอบที่แล้ว
เทียบผลเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขต 9 วันที่ 24 มี.ค. 62
สิระ เจนจาคะ พลังประชารัฐ 34,907
สุรชาติ เทียนทอง เพื่อไทย 32,115
กฤษณุชา สรรเสริญ อนาคตใหม่ 25,735
วิชัย สังข์ประไพ ประชาธิปัตย์ 16,255
ศักดิภัทร สวามิวัสดุ์ เศรษฐกิจใหม่ 5,873
30 ม.ค. 65
สุรชาติ เทียนทอง เพื่อไทย 29,416
กรุณพล เทียนสุวรรณ ก้าวไกล 20,361
อรรถวิชซ์ สุวรรณภักดี กล้า 20,047
สรัลรัศมิ์ เจนจาคะ พลังประชารัฐ 7,906
พันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชต์ ไทยภักดี 5,987
โครงสร้างผลการเลือกตั้ง "หลักสี่-จตุจักร"
กลุ่มลุ้นแชมป์
พรรคเพื่อไทย 29,416 คะแนน
พรรคก้าวไกล 20,361 คะแนน
พรรคกล้า 20,047 คะแนน
กลุ่มแย่งอันดับ 4
พรรคพลังประชารัฐ 7,906 คะแนน
พรรคไทยภักดี 5,987 คะแนน
กลุ่มท้ายตาราง
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 333 คะแนน
พรรคไทยศรีวิไลย์ 244 คะแนน
พรรคยุทธศาสตร์ชาติ 190 คะแน
หากดูจากโครงสร้างจะเห็นได้ว่าประชาชนไม่เลือกฝั่งรัฐบาล แต่เลือกฝ่ายค้าน
คะแนนแยกตามหน่วย
สุรชาติ เทียนทอง
หลักสี่ 18,807
จตุจักร 10,609
รวม 29,416
กรุณพล เทียนสุวรรณ
หลักสี่ 9,192
จตุจักร 11,169
รวม 20,361
อรรถวิชซ์ สุวรรณภักดี
หลักสี่ 8,165
จตุจักร 11,882
รวม 20,047
ริมคลอง พรรคกล้า, พรรคเพื่อไทย
คอนโด พรรคก้าวไกล
บ้านมีรั้ว พรรคกล้า (ออกมาใช้สิทธิไม่ถึง 30%)
วิเคราะห์ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม"หลักสี่-จตุจักร"
ซึ่งทหารที่เลือกพรรคก้าวไกลส่วนใหญ่เป็นทหารรุ่นใหม่ ขณะที่พรรคของรัฐบาลตกอันดับ
พื้นที่ชิงชัยสำหรับพรรคเพื่อไทย พรรคกล้า และพรรคก้าวไกลอยู่ที่เคหะหลักสี่ เป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทยชนะถล่มทลาย เป็นการโหวตตามยุทธศาสตร์เพื่อบอกกับรัฐบาลว่า "ถ้าการเมืองยังเป็นเช่นนี้ ประชาชนไม่เอาด้วย"
ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร