การตรวจวินิจฉัยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนยา
โรคที่มียุงลายสวน และยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค มีอาการที่สำคัญคือมีไข้สูง ร่วมกับมีอาการปวดตามข้อต่างๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า
ในช่วงฤดูฝน สภาพอากาศมีฝนตกในหลายพื้นที่ อาจนำพาโรคอย่าง ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนยา มาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่มียุงลายสวน และยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค มีอาการที่สำคัญคือมีไข้สูง ร่วมกับมีอาการปวดตามข้อต่างๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า
สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุนกุนยา ทางห้องปฏิบัติการนั้น มีทั้งการตรวจเพื่อค้นหาเชื้อไวรัสด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (RT-PCR) และวิธีการเพาะเชื้อจุลินทรีย์เพื่อแยกไวรัสออกจากเลือด (Immunochromatography) ซึ่งจะมีภูมิคุ้มกัน (Chikungunya IgM Antibody) สูงสุดในช่วง 3-5 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการ และคงอยู่ต่อเนื่องประมาณ 2 เดือน
ทั้งนี้การตรวจด้วยวิธี RT-PCR สามารถใช้เพื่อตรวจยีนชิคุนกุนยาในเลือดได้ ควรตรวจภายในสัปดาห์แรกของโรค และใช้เวลา 1-2 วันจึงจะทราบผล ส่วนการตรวจหา Chikungunya IgM Antibody นั้นโดยปกติร่างการจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันหลังจากมีอาการประมาณ 1 สัปดาห์ แนะนำให้ตรวจครั้งที่ 1 ในวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และตรวจอีกครั้งหลังจากเริ่มมีไข้ 14-25 วัน
คำแนะนำเพื่อป้องกันและรักษาตัวเพื่อไม่ให้มีการเกิดโรคชิคุนกุนยาคือ หลีกเลี่ยงการไม่ถูกยุงลายกัด ด้วยการทำความสะอาดบ้าน ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง ไม่ให้มีน้ำท่วมขังภายในบริเวณบ้าน หรือ ปลูกต้นไม้จัดสวน ให้โล่ง แสงแดดส่อง ใส่เสื้อผ้าแต่งกายให้เหมาะสม ไม่อยู่ในที่รก ทึบ แม้โรคชิคุนกุนยา จะร้ายแรงน้อยกว่า ไข้เลือดออก แต่ การเจ็บป่วยส่งผลเสียกับร่างกาย จึงควรรักษาสุขภาพเบื้องต้นให้แข็งแรง
บทความสุขภาพ โดย ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health)