CPF ร่วมผลักดัน SMEs รุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมลดขยะอาหาร หนุนบริโภค "รักษ์โลก" อย่างยั่งยืน

CPF ร่วมผลักดัน SMEs รุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมลดขยะอาหาร หนุนบริโภค "รักษ์โลก" อย่างยั่งยืน

ช่วยจัดการขยะอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมผลักดันสังคม สู่การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะอาหาร

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ คิดค้นนวัตกรรมสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อจัดการและสร้างคุณค่าขยะอาหาร อำนวยความสะดวกการลงมือปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรคุ้มค่าในระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก สร้างอาหารมั่นคงและสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

โครงการ Shaper in Action : Waste Hero Awards จัดเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ในงาน "Thailand Sustainability Expo 2021" (TSX) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ โดยซีพีเอฟ ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน มี นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เป็นผู้มอบรางวัลให้กับผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศ ที่คิดค้นนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจรักษ์โลก ช่วยจัดการขยะอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมผลักดันสังคม สู่การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะอาหาร (Food Waste management and Value-added)

CPF ร่วมผลักดัน SMEs รุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมลดขยะอาหาร หนุนบริโภค \"รักษ์โลก\" อย่างยั่งยืน

 

 

ปีนี้มี SMEs รุ่นใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและการบริโภคอย่างยั่งยืน สนใจส่งผลงานเข้าประกวดมากกว่า 50 ผลงาน โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ ทีม Innowaste ผลิตเครื่องกำจัดขยะมูลฝอยอินทรีย์ในครัวเรือนและร้านค้าขนาดเล็ก ตัดขยะให้เป็นชิ้นเล็ก กวนคลุกเคล้ากับจุลินทรีย์ให้เข้ากัน สู่กระบวนการย่อยสลายเป็นปุ๋ยไร้กลิ่น ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง ช่วยประหยัดพลังงาน และรองชนะเลิศอีก 3 ราย

 

ประกอบด้วย ทีม Food Loss Food Waste Thailand พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับชุมชนผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ช่วยให้ขายผลผลิต สอนชุมชนแยกขยะ จัดการบริหารขยะอินทรีย์ที่ต้นทาง ตามความต้องการของชุมชน ทีม Laika ผลิตขนมสุนัขคุณภาพพรีเมี่ยม โดยใช้โปรตีนจากแมลงเป็นวัตถุดิบหลักและใช้ผักออร์แกนิกคุณภาพดีที่กำลังจะถูกคัดทิ้งจากโรงงานมาเป็นอาหารเลี้ยงแมลงในฟาร์ม ลดปัญหาขยะอาหารส่วนเกิน และทีม Oklin Thailand ผลงานเครื่องกำจัดเศษขยะอาหารเป็นปุ๋ยภายใน 24 ชั่วโมง ผ่านกระบวนการธรรมชาติโดยไม่ต้องเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ไม่ต้องเปลี่ยนฟิวเตอร์หรือใช้ตัวกรอง

 

สำหรับโครงการ Shaper in Action : Waste Hero Awards จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความยั่งยืนในประเทศไทย ตลอดจนการสร้างคุณค่าให้กับสังคมเชื่อมโยงสู่ระดับภูมิภาคได้ และยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับ 1 ใน 9 ความมุ่งมั่น ตามแนวทางสร้างคุณค่า ปราศจากขยะ (Waste to Value) ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืนใหม่ของ ซีพีเอฟ "CPF 2030 Sustainability in Action" ซึ่งมีเป้าหมายในการลดขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นศูนย์ รวมถึงจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับบรรจุอาหารให้นำกลับมาใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่ หรือย่อยสลายได้ 100% ในปี 2573 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

CPF ร่วมผลักดัน SMEs รุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมลดขยะอาหาร หนุนบริโภค \"รักษ์โลก\" อย่างยั่งยืน

 

 

ทั้งนี้ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นบริหารจัดการขยะอาหารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกิจกรรมหลายรูปแบบตั้งแต่ต้นทางการผลิต การจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ มีเอกสารรับรองตรวจสอบกลับถึงแหล่งที่มาได้ นำเทคโนโลยีทันสมัยทั้งปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent : AI) และ Internet of Things (IoT) ช่วยการติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลที่แม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตลดการสูญเสียและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดสุทธิเป็นศูนย์  ในปี 2573  

 

เพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว ซีพีเอฟ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือในระดับบุคคล เช่น โครงการ "กินเกลี้ยงเลี้ยงโลก" รณรงค์ให้พนักงานและครอบครัวกินอาหารอย่างรู้คุณค่าไม่เหลือทิ้ง โครงการ "Circular Meal...มื้อนี้เปลี่ยนโลก" เพื่อนำอาหารส่วนเกินที่มีคุณค่าทางโภชนาการไปปรุงเป็นอาหารมื้อพิเศษให้กับกลุ่มเปราะบาง สร้างคุณค่าและการมีส่วนร่วมของสังคม ลดการปล่อยก๊าซเรือนจากขยะอาหารและการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ รวมถึงจัดทำโครงการ "กล้าจากป่า พนาในเมือง" ซึ่งเป็นโครงการ 5 ปี (2564-2568) ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในครัวเรือน สถานประกอบการ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่ป่า มีเป้าหมายการปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น ภายในปี 2568 เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปริมาณอ๊อกซิเจนในอากาศ ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  

 

ซีพีเอฟ บูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : SDGs) ทั้ง 17 ข้อ มาดำเนินการให้สอดคล้องกับธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อเดินหน้าเป้าหมายการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมลดขยะอาหารและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีผลต่อความบริโภคและความเป็นอยู่ของประชากรโลกในอนาคต./