เอกชนแนะ สร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลาง Medical Hub ของอาเซียน
เอกชนแนะ สร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลาง Medical Hub ของอาเซียน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต
ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็น ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ผ่านการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่ครบวงจร ซึ่งไม่เพียงส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศเป็น Medical Hub เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ด้วยกลยุทธ์เติมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-curve) ผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร การเชื่อมต่อการค้า การลงทุน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสุขภาพ ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
ในด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้วยการลงทุนในเครื่องมือแพทย์ขั้นสูง เช่น หุ่นยนต์ผ่าตัด ปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยโรค และโรงพยาบาลเสมือน (Virtual Hospital) โดยคาดว่ามูลค่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะสูงถึง 12.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2573 นอกจากนี้ประเทศยังมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่แข็งแกร่ง มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 59 ล้านคน และบริการ 5G ที่ครอบคลุมทุกจังหวัด ซึ่งทำให้พร้อมเปิดรับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างเต็มที่ การพัฒนาเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการแพทย์ นับเป็นหนึ่งใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอีกด้วย
เอกฤทธิ์ ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทแบ็คยาร์ด (BACKYARD) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีโซลูชันด้านเฮลท์เทค กล่าวว่า การพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่แข็งแกร่งจะไม่เพียงเสริมสร้างระบบสุขภาพของประเทศ แต่ยังเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดอาเซียน โดยเราจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในระบบการแพทย์ เพื่อให้การเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ
“ความสำคัญของการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาระบบสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม โดยการใช้ทรัพยากรและนวัตกรรมร่วมกันจะช่วยพัฒนาบริการที่มีคุณภาพและสามารถแข่งขันในระดับสากล อีกทั้งมีความพร้อมในการตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ผมเชื่อว่าการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่ดีจะทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Medical Hub ของอาเซียนอย่างแท้จริง” เอกฤทธิ์ กล่าว
สำหรับในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ความต้องการบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเปิดคลินิกโรคทั่วไปและเฉพาะทาง มีผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง และมีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพฤติกรรมของประชาชนที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น การสร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพนี้ไม่เพียงส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศและภูมิภาคอาเซียน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพในประเทศไทย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หรือโทร 02-853-9131