ศาลปกครองกลางสั่งเพิกถอนรายงาน EIA โครงการ 125 สาทร
ศาลปกครองกลางฟันธงสั่งคอนโดหรูหยุดก่อสร้างพร้อมเพิกถอนรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ (EIA) และใบอนุญาตก่อสร้างของโครงการ 125 สาทร บนถนนสาทรใต้
คดีดังกล่าวเป็นการฟ้องคดีโดยเจ้าของร่วมอาคารชุดเดอะ เม็ท (ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินผืนเดียวกัน) โดยน.ส.ชิดชนก เลิศอำพรไพศาล ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเดอะ เม็ท กล่าวว่า เดอะ เม็ท ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้ความเห็นชอบรายงาน EIA และการออกใบอนุญาตก่อสร้างสำหรับโครงการ 125 สาทร
โดยเดอะ เม็ท ได้กล่าวอ้างว่าเดิมนั้น เพบเบิล เบ ประเทศไทย ผู้พัฒนาโครงการเดอะ เม็ท เป็นเจ้าของที่ดินขนาด 10 ไร่ ซึ่งต่อมาเมื่อปี 2547 เพบเบิล เบ ประเทศไทย ได้แบ่งที่ดินดังกล่าวออกเป็นสองแปลง ได้แก่ ที่ดิน 7 ไร่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
กานดารุกตลาดบ้านโซนสมุทรสาคร ส่งพรีเมี่ยมไอลีฟ ไพร์ม เศรษฐกิจ-บางปลา
ศาลปกครองกลางเพิกถอนการก่อสร้างโครงการ 125 สาทร
สำหรับการก่อสร้างโครงการเดอะ เม็ท และที่ดิน 3 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินที่จะมีการก่อสร้างโครงการ 125 สาทร ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวเป็นของ บริษัท พีเอ็มที พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) และหุ้นส่วนบริษัทญี่ปุ่นสองราย ได้แก่ บริษัท คันเดน เรียลตี้ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (Kanden Realty & Development Company Limited) และ บริษัท โทเร คอนสตรัคชั่น จำกัด (Toray Construction Company Limited)
เนื่องจากที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวได้ใช้ในการขออนุญาตก่อสร้างโครงการเดอะ เม็ท ไปแล้ว ที่ดินทั้ง 10 ไร่ จึงอยู่ภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในคดีนี้ เดอะ เม็ท ได้กล่าวอ้างว่าแบบอาคารของ 125 สาทร มีขนาดใหญ่เกินกว่าขนาดอาคารที่กฎหมายกำหนด หลังจากหักพื้นที่ดินของเดอะ เม็ท ออกจากพื้นที่ 10 ไร่
คำพิพากษาของศาลปกครองกลางในคดีนี้ซึ่งมีขึ้นภายหลังคำพิพากษาคดีคอนโดหรูหลายแห่ง รวมถึงแอชตัน อโศก แสดงให้เห็นว่าศาลได้ให้น้ำหนักมากขึ้นกับข้อกังวลและการดำเนินคดีของชุมชนแวดล้อมที่มีความเสี่ยงว่าจะถูกโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่บดบังไปเสียหมด
ในคดีนี้ ศาลปกครองกลางได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายและมีคำสั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบรายงาน EIA และใบอนุญาตก่อสร้างของโครงการ 125 สาทร โดยมีผลย้อนหลัง ซึ่งคำพิพากษานี้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบได้พิจารณาและหากลไกทางกฎหมายที่ปกป้องสิทธิของชุมชนที่อยู่มาก่อนได้ดีกว่านี้เพื่อที่การฟ้องคดีเพื่อขอพึ่งบารมีศาลจะเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีข้อยกเว้นมากกว่าที่จะเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันเป็นปกติ